Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69682
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทัศน์ สุระวัง-
dc.contributor.authorธนาวุฒิ จิโนen_US
dc.date.accessioned2020-08-20T01:04:13Z-
dc.date.available2020-08-20T01:04:13Z-
dc.date.issued2020-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69682-
dc.description.abstractThe objective of this research was to evaluate the chemical composition from House Cricket (Acheta domestica). The optimum condition to produce protein concentrate and protein hydrolysate extraction of the cricket was also studied. The raw house cricket had protein, fat, carbohydrate, ash and moisture content of 66.83, 19.36, 7.51, 4.48, and 1.82 % (dry basis), respectively. The suitable pH for solubilization was pH 11, while an isoelectric point (pI) was 5.5. The extraction of protein concentrate at temperature of 50℃ for 60 min was shown the highest extraction yield (26.77 mg/100mL). The optimum condition to produce protein hydrolysate from house cricket was studied by Alcalase® and Flavozyme® at different concentration (1, 3 and 5% w/w) 24 hr of hydrolysis time. Results showed that types of enzyme, the enzyme concentration and hydrolysis time had effects on the yield and the degree of hydrolysis (DH). DH increased with increasing enzyme concentration and hydrolysis time. The hydrolysis with 3% Alcalase® for 360 min had higher DH than that of 5% Flavozyme® for 24 hr with the DH of 80% and 60%, respectively. Glutamic acid was increase from 6.53 g/100 g sample to 6.75 g/100 g sample after hydrolysis and the bitter amino acid was decrease. Protein solubility was higher pH 12 as 96.97%. Emulsifying index was similar in pH range 2 – 12 (13.52 – 18.13m2/g) and emulsifying stability was decrease when pH increased (reduced from 15.19% at pH 2 to 5.22% at pH 12). The highest foaming ability and foaming stability at pH 12 were 96.80% and 150%, respectively. DPPH antioxidant activity was 17.45 mgTE / g sample. After hydrolysis, the size of protein molecules was decreased from 15 – 250 kDa to smaller than 10kDa. Undesirable aroma of house cricket from volatile components such as acetic acid, hexanal and 2 – heptanone were not detected after hydrolysis. However, the house cricket aroma was persisted when flavor description and gas chromatography – olfactometry method were applied. The flavor profile analysis found that the high pungent odor was increased after hydrolysis. The flavor for instant protein drinks by consumer survey was chocolate flavor. Adding 10% of protein hydrolysate from house cricket in prototype product of instant high protein drink showed no significant difference from the control with the preference score of 7.19.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเซทจากจิ้งหรีดทองแดงลาย (Acheta domestica) สำหรับประยุกต์ในเครื่องดื่มสำเร็จรูปโปรตีนสูงen_US
dc.title.alternativeProduction of Protein Hydrolysates from House Cricket (Acheta domestica) for Application in High Protein Instant Drinksen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีวิธีการและสภาวะที่เหมาะสม ในการสกัดโปรตีนเข้มข้น และโปรตีนไฮโดรไลเซทจากจิ้งหรีดทองแดงลาย (Acheta domestica) ผลการวิจัยพบว่า จิ้งหรีดทองแดงลายมีปริมาณโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เถ้าและความชื้น ร้อยละ 66.83, 19.36, 7.51, 4.48 และ 1.82 (ฐานแห้ง) ตามลำดับ การหาพีเอชที่เหมาะสมสำหรับ การละลายและการตกตะกอนเพื่อเตรียมการสกัดโปรตีนเข้มข้นพบว่า พีเอชที่โปรตีนตกตะกอนได้ดีที่สุด คือพีเอช 5.5 และพีเอชที่ทำให้โปรตีนละลายได้ดีที่สุดคือพีเอช 11 เมื่อใช้อุณหภูมิและเวลา ในการสกัดและใช้จุดตกตะกอนโปรตีนที่ได้ พบว่าการสกัดโปรตีนที่ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 60 นาที จะทำให้ได้ร้อยละของผลผลิตมากที่สุด คือ 26.77 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตรการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเซท ทำการทดลองโดยใช้เอนไซม์ในการย่อย 2 ชนิด ได้แก่ เอนไซม์อัลคาเลส และเอนไซม์ฟลาโวไซม์ ความเข้มข้นร้อยละ 1, 3 และ 5 ผลการทดลองพบว่า การใช้เอนไซม์อัลคาเลสความเข้มข้นร้อยละ 3 เป็นเวลา 360 นาทีให้ระดับการไฮโดรไลซิสร้อยละ 80 และคงที่จนถึง 24 ชั่วโมง ได้ผลผลิต ร้อยละ 4.5 มากกว่าการใช้เอนไซม์ฟลาโวไซม์ ความเข้มข้นร้อยละ 5 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ระดับการไฮโดรไลซิสร้อยละ 60 โปรตีนไฮโดรไลเซทที่ได้ มีปริมาณกรดกลูตามิกเพิ่มขึ้นจาก 6.53 กรัมต่อ 100 กรัมตัวอย่าง เป็น 6.75 กรัมต่อ 100 กรัมตัวอย่างโดยมีกลุ่มกรดแอมิโนรสขมลดลง มีสมบัติการละลายร้อยละ 96.97 ที่พีเอช 12 มีค่าดัชนี วัดการเกิดอิมัลชันใกล้เคียงกันที่พีเอช 2 – 12 โดยอยู่ในช่วง 13.52 – 18.13 m2/g และค่าดัชนีชี้วัด ความคงตัวของอิมัลชันจะลดลงเมื่อพีเอชสูงขึ้น โดยลดลงจากร้อยละ 15.19 ที่พีเอช 2 เหลือร้อยละ 5.22 ที่พีเอช 12 ความสามารถในการเกิดฟองและความคงตัวของฟองสูงที่สุดที่พีเอช 12 เท่ากับ ร้อยละ 96.80 และร้อยละ 150 ตามลำดับ กิจกรรมการต้านออกซิเดชัน DPPH 17.45 mgTE/g sample เมื่อทำการไฮโดรไลซ์แล้วพบว่าโมเลกุลของโปรตีนมีขนาดลดลงจาก 15 – 250 kDa แล้วมีขนาดเล็กกว่า 10 kDa สารระเหยให้กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์จากจิ้งหรีดทองแดงลายอบแห้ง เช่น กลิ่นจากกรดแอซิติก กลิ่นจากเฮกซานอลและกลิ่นจาก 2 – เฮปทาโนน ตรวจไม่พบเมื่อทำการไฮโดรไลซิส โดยกลิ่นจิ้งหรีดทองแดงลายยังคงอยู่เมื่อทำการตรวจสอบคำอธิบายกลิ่นและความเข้มของกลิ่นที่ระบุได้จากเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี–ออลแฟคโทเมทรีและกลิ่นโปรตีนไฮโดรไลเซทจะมีกลิ่นฉุนมากขึ้นเมื่อทดสอบทางประสาทสัมผัสเชิงพรรณนา จากการสำรวจรสชาติที่ผู้บริโภคต้องการในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสำเร็จรูปโปรตีนสูง พบว่ารสชาติที่ผู้บริโภคต้องการคือรสช็อกโกแลต และการเติมโปรตีนไฮโดรไลเซททดแทนเวย์โปรตีนและโปรตีนจากถั่วเหลืองร้อยละ 10 ในผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคให้คะแนนความชอบไม่แตกต่างจากตัวอย่างเครื่องดื่มสำเร็จรูปโปรตีนสูงชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ผู้บริโภคให้คะแนนความชอบโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 7.19en_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
581331011 ธนาวุฒิ จิโน.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.