Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69647
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.กรรณิกา แซ่ลิ่ว-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. เยาวเรศ เชาวนพูนผล-
dc.contributor.authorอัญธิกา มะหาวันen_US
dc.date.accessioned2020-08-19T08:47:38Z-
dc.date.available2020-08-19T08:47:38Z-
dc.date.issued2020-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69647-
dc.description.abstractChiang Mai is a province with the largest swine farming in the upper region of Northern Thailand. There are many swine farming patterns such as fattening swine farming and integrated swine farming. This study aimed to perform risk analysis and evaluate risk effects from production and marketing of swine farming businesses in Chiang Mai. Questionnaires were used to collect data from two fattening swine farm entrepreneurs and two integrated swine farm entrepreneurs. In order to analyze the data, a risk analysis was performed using Fishbone Diagram and an evaluation of risk effects was completed using Likelihood Impact Matrix. With regards to the risk analysis in fattening swine farms and integrated swine farms, it was found that fattening swine farm entrepreneurs and integrated swine farm entrepreneurs had swine farming business experience greater than ten years or more. In fattening swine farms, there were greater than 2,000 swine raised in each farm, while there were greater than 1,000 swine raised in each integrated swine farm. Both types of swine production enterprises had to face with identical risk of production and marketing. The major sources of production risks were management, species, feed, and fetal swine before assignation. Sources of market risk included variation in prices due to the rules or regulations of the government sector or customer requirements, a few marketing channel, and injured swine during transportation. Even though two types of swine farms confronted identical risk, the evaluation of risk effects showed that integrated swine farms tended to encounter a higher level of risk of production and marketing when compared to fattening swine farms. With the production and marketing risk, both two types of swine farms implemented the risk handling actions to deal with the high-risk events. Nonetheless, there were some risk evens that had not been handled, For example, in term of management, there were miscommunication between entrepreneurs and farm employees and lack of confidence in decision making among farm employees. Swine farming were also at risk of gastrointestinal disease and bacterial infectious diseases. In addition, compare to fattening swine farms, integrated swine farms were faced with more management risk as frequently broken-down equipment, non-suitable temperature in housing, and infected diseases in swine, for instance, gastrointestinal disease, respiratory diseases, reproductive system diseases, and bacterial infectious diseases.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความเสี่ยงของธุรกิจการเลี้ยงสุกรครบวงจรและการเลี้ยงสุกรขุน ในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeRisk of Integrated Pig Farm and Fattening Pig Farm Businesses in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractจังหวัดเชียงใหม่ถือได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีการเลี้ยงสุกรมากที่สุดในเขตภาคเหนือตอนบน โดยการเลี้ยงสุกรมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงสุกรแบบขุนหรือการเลี้ยงสุกรแบบครบวงจร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาความเสี่ยงและประเมินผลกระทบจากความเสี่ยงด้านการ ผลิตและด้านการตลาดในการประกอบธุรกิจฟาร์มสุกรขุนและฟาร์มสุกรครบวงจร ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มสุกรขุนจํานวน 2 ฟาร์ม และผู้ประกอบธุรกิจ ฟาร์มสุกรครบวงจร จํานวน 2 ฟาร์ม ซึ่งใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วทําการวิเคราะห์โดยใช้แผนผังก้างปลาในการวิเคราะห์ความเสี่ยง และใช้ Likelihood Impact Matrix ประเมินผลกระทบของความเสี่ยง ผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มสุกรขุนและฟาร์มสุกรครบวงจรมีประสบการณ์ ในการเลี้ยงสุกรตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยในฟาร์มสุกรขุนจะมีการเลี้ยงสุกรตั้งแต่ 2,000 ตัวขึ้นไป ในขณะที่ฟาร์มสุกรครบวงจรจะมีการเลี้ยงสุกรตั้งแต่ 1,000 ตัวขึ้นไป เมื่อพิจารณาความเสี่ยง จากการประกอบธุรกิจ พบว่า ฟาร์มสุกรขุนและฟาร์มสุกรครบวงจรต้องเผชิญกับความเสี่ยง ด้านการผลิตและด้านการตลาดที่เหมือนกัน โดยความเสี่ยงด้านการผลิตที่ต้องเผชิญ อาทิ ความเสี่ยงเกี่ยวกับการจัดการ สายพันธุ์ อาหารและสุกรที่ป่วยตายก่อนถึงกําหนดจับส่วนความเสี่ยง ด้านการตลาดประกอบด้วย ความเสี่ยงเกี่ยวกับราคาสุกรที่ผันผวน กฎระเบียบหรือข้อบังคับ ทั้งของภาครัฐและข้อกําหนดความต้องการของลูกค้าเอง ช่องทางการตลาดที่น้อยและการที่สุกร ได้รับบาดเจ็บหรือตายขณะเคลื่อนย้าย แม้ว่าทั้งฟาร์มสุกรขุนและฟาร์มสุกรครบวงจรต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เหมือนกัน แต่เมื่อทําการประเมินผลกระทบจากความเสี่ยงแล้ว พบว่า ฟาร์มสุกรครบวงจรต้องเผชิญกับความเสี่ยงทั้งด้านการผลิตและด้านการตลาดที่มากกว่าฟาร์มสุกรขุนจากความเสี่ยงที่ผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มสุกรต้องเผชิญ ทั้งฟาร์มสุกรขุนและฟาร์มสุกรครบวงจร ก็ได้มีแนวทางในการจัดการกับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงจนถึงระดับที่สูงมากแต่ก็ยังมี บางความเสี่ยงที่ยังไม่มีแนวทางในการจัดการ เช่น ในฟาร์มสุกรขุนยังเผชิญความเสี่ยงด้านการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับคนงานหรือคนงาน ไม่กล้าตัดสินใจ ความเสี่ยงด้านโรคในสุกร อาทิ ความเสี่ยงที่สุกรป่วยจากโรคระบบทางเดินอาหารและความเสี่ยงที่สุกรป่วยจากเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ฟาร์มสุกรครบวงจรยังมีความเสี่ยงด้านการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ภายในฟาร์ม ที่ชํารุดบ่อย ด้านโรงเรือน ที่อุณหภูมิภายในโรงเรือน ไม่เหมาะสมและด้าน โรคสุกร เช่น ความเสี่ยงที่สุกรป่วยจากโรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบสืบพันธุ์ และจากการติดเชื้อแบคทีเรียen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600832034 อัญธิกา มะหาวัน.pdf9.73 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.