Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69604
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง-
dc.contributor.advisorศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. วรวิทย์ เจริญเลิศ-
dc.contributor.authorรัชนี นิลจันทร์en_US
dc.date.accessioned2020-08-17T01:44:55Z-
dc.date.available2020-08-17T01:44:55Z-
dc.date.issued2018-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69604-
dc.description.abstractThis study is a socio-anthropology research focusing on the negotiation strategy for rights and social welfare of the Tai Yai migrant workers in Chiang Mai, northern Thailand. On their arrival in Thailand, these migrants faced many problems of discrimination pertaining to the Thai laws because of their unequal status, being non-Thai. In this research, information was collected from related documents and interviews on narrative stories and experience of migrant workers. We conducted interview with concerned individuals for their roles in the process of bargaining for getting access to the rights and social welfare of foreign migrant workers in Chiang Mai. Interviews were also conducted with concerned governmental organizations, Ngos and lawyers and also through participatory and non-participatory observations in the campaigns mounted by the networks of foreign migrant workers in different aspects whether in politics, social and cultural. This is reveal through tradition of Tai Yai trans migrant workers such as Tai yai New Year celebration, the Poi San Long festival and the Tai Yai National Day in Doi Ta Lang, near the Thai border, Amphur Bang Mapra, Ma Hong Son province. In collecting information, the researcher worked as coordinator of the Northern Labor networks so has experience working with the Thai workers in Chiang Mai and Lumpoon provinces. But I also became a volunteer to teach Thai language to migrant workers at the Learning Center for Migrant Workers. The Center receives complaints and develops activities to create awareness about the rights of migrant workers and social activities. It also conducts training on language skill such as Thai, English and Burmese languages. The Center is managed both by Migrant Workers’ Federation and Human Right Development Center. This study focuses on the negotiation strategies adopted by migrant workers. The finding is that MW are invisible in Thai society and this is closely related to the status of citizenship defined by the State according to the law. The consequence is that MW are discriminated from various rights, abused in wage payment and subjected to ideology related to racial biais, nationalism and authoritarianism. This creates the gap in the laws at the expense of the benefits of MW. But, on the other side, the study found that MW carry on their struggle to acquire various rights as economic citizenship and adopted the concept of flexible citizenship. Other than creating their own identity, MW in Chiang Mai also pursued other strategies in negotiating to get access to Worksmen Compensation Fund and the freedom of movement in order to open up the public space and the space in everyday life by adopting economic capital, social capital, cultural and symbolic capital to create dynamic movement. The researcher adopted the social thought of Bourdieu as the basis of our study. This is to look at the social space as the reproduction of symbolic and power relation interacting at the 3 levels.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleกลยุทธ์การต่อรองเพื่อสิทธิและสวัสดิการทางสังคมของแรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeNegotiating Strategies for Rights and Social Welfare of Transnational Workers in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractงานศึกษานี้เป็นการศึกษาทางด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เพื่อศึกษากลยุทธ์การต่อรองเพื่อการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการทางสังคมของแรงงานข้ามชาติชาติพันธ์ไทใหญ่ ที่เคลื่อนย้ายมาทำงานในจังหวัดเชียงใหม่ ในภาคเหนือของประเทศ เมื่อเข้ามาแล้วประสบปัญหาการเผชิญกับภาวะการกีดกันทางกฎหมาย ด้วยสถานะทางบุคคลที่แตกต่างจากสถานะของความเป็นคนไทย ผู้ศึกษาใช้วิธีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากการค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์สัมภาษณ์ที่มาจากคำบอกเล่าและประสบการณ์ของแรงงานข้ามชาติ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่เป็นลักษณะรายบุคคลเป็นสำคัญ ที่มีบทบาทในเคลื่อนไหวต่อรองเพื่อการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของแรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งสัมภาษณ์หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และทนายความ รวมทั้งการการเข้าร่วมสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ในพื้นที่กิจกรรมรณรงค์ร่วมกับเครือข่ายแรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในหลายมิติ ทางการเมือง สังคมและวัฒนธรรมตามประเพณีของแรงงานข้ามชาติไทใหญ่ เช่น งานปีใหม่ไทใหญ่ งานปอยสั่งลอง รวมทั้งพื้นที่ในมิติทางการเมือง คือ งานวันชาติไทใหญ่ ที่ดอยไตยแลง ที่มีชายแดนติดประเทศไทย อำเภอปางมะพร้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน การเก็บข้อมูลผู้ศึกษาใช้ความสัมพันธ์ ที่เคยเป็นผู้ประสานงานภาคเหนือ มีประสบการณ์การทำงานด้านแรงงานไทยในจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน นอกจากนั้นยังเป็นอาสาสมัครในการเข้าไปช่วยสอนภาษาไทยให้กับแรงงานข้ามชาติที่ศูนย์การเรียนรู้ของแรงงานข้ามชาติที่มีการตั้งขึ้นเป็นศูนย์ร้องทุกข์และทำกิจกรรมเสริมศักยภาพให้แรงงานข้ามชาติได้รับรับรู้เรื่องสิทธิและกิจกรรมทางสังคม และภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาพม่า โดยมีการบริหารร่วมกันระหว่างกลุ่มแรงงานข้ามชาติในนามสหพันธ์คนงานข้ามชาติ และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา งานศึกษานี้ให้ความสนใจ การสร้างกลยุทธ์ต่อรองที่ผ่านการกระทำการของแรงงานข้ามชาติ ที่มีลักษณะการต่อรองผ่านกลยุทธ์ที่หลากหลาย งานศึกษาพบว่า จากที่ถูกทำให้แรงงานข้ามชาติเกิดสภาวะไร้ตัวตนมักมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเกี่ยวข้องกับการมีสถานะของความเป็นพลเมือง ซึ่งรัฐไทยมักจะจำกัดการนิยามไว้ตามกฎหมายเท่านั้น ที่มีผลให้พวกเขาถูกกีดกันจากสิทธิต่าง ๆ ตลอดจนถูกเอารัดเอาเปรียบค่าจ้างแรงงาน และถูกซ้ำเติมด้านอุดมการณ์ ไม่ว่าจะเป็นอคติและมายาคติทางชาติพันธุ์ ผสมผสานกับชาตินิยมและอำนาจนิยม จนนำไปสู่การใช้ช่องว่างทางกฎหมายเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากแรงงานข้ามชาติอย่างต่อเนื่อง แต่การศึกษานี้ก็พบในอีกด้านหนึ่งด้วยว่า แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ล้วนพยายามดิ้นรนต่อสู้เพื่อสิทธิต่าง ๆในฐานะพลเมืองทางเศรษฐกิจที่อยู่บนฐานคิดของพเมืองยืดหยุ่น นอกจากการสร้างตัวตนของแรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงใหม่ ยังพบว่า พวกเขาได้สร้างกลยุทธ์ของการต่อรองต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทนและสิทธิเพื่อเสรีภาพในการเคลื่อนที่ ในการเคลื่อนที่ ผ่านการเปิดพื้นที่ทางสังคมที่หลากหลาย ทั้งพื้นที่ทางการ พื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ในชีวิตประจำวัน และยังได้นำทุนต่าง ๆ ทั้งทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมและทุนสัญลักษณ์ มาผลักดันการเคลื่อนไหวอย่างมีพลวัต โดยเริ่มจากการนำแนวความคิดพื้นที่ทางสังคมของ Bourdieu มาใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษา ด้วยการมองพื้นที่ทางสังคมในฐานะที่เป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ของอำนาจเชิงสัญลักษณ์ ที่ผลิตซ้ำและเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจสามระดับซ้อนกันen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
550451006 รัชนี นิลจันทร์.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.