Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69602
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. เดชา ทำดี-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. ศิวพร อึ้งวัฒนา-
dc.contributor.authorอำพิกา คันทาใจen_US
dc.date.accessioned2020-08-17T01:44:44Z-
dc.date.available2020-08-17T01:44:44Z-
dc.date.issued2020-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69602-
dc.description.abstractNowadays, the incidence of colorectal cancer in Thailand has been increasing. Screening and advising on the prevention of colorectal cancer are very important. Quasi–experimental research with two groups, pretest-posttest design was used in this research, which aimed to study the effects of experiential learning on knowledge, screening, and advising on colorectal cancer prevention among village health volunteers. The sample group was village health volunteers from 9 sub-districts in Ko Kha district, Lampang province. There were 40 persons in total. 20 of them were in a group with experiential learning, and the other 20 were in a controlled group receiving advice from public health officers regularly. Research tools were divided into 2 parts: 1) The experimental tools consisted of (i) an experiential learning package of knowledge, screening practice and advice regarding prevention colorectal cancer of the village health volunteers, (ii) the experiential learning tools, and (iii) a manual of knowledge, screening practice, and advice regarding prevention colorectal cancer for the village health volunteers. 2) The collecting data consisted of: demographic data, a questionnaire based on prevention of colorectal cancer, screening practice observation form, and advising practice observation form based on prevention of colorectal cancer. Descriptive statistics, McNemar test, and Fisher’s Exact test were used for data analysis. Results showed that: After attending the experiential learning, the level of knowledge, screening practice, and advising practice on the prevention of colorectal cancer among the village health volunteers was statistically significantly higher than before participation in the experiential learning (p < .001). After attending the experiential learning, the level of knowledge, screening practice and advising practice on the prevention of colorectal cancer among the village health volunteers of the experimental group was statistically significantly higher than the control group (p = .003, p < .001, p < .001) respectively. The results of this study illustrate that the experiential learning of the village health volunteers affected the sample groups’ knowledge of colorectal cancer, leading to the acquisition of more accurate skills in the screening of and advising on prevention of colorectal cancer.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้ การคัดกรองและการให้คำแนะนำในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ในอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านen_US
dc.title.alternativeEffects of Experiential Learning on Knowledge, Screening, and Advising on Colorectal Cancer Prevention Among Village Health Volunteersen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractปัจจุบันนี้อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งลำไส้ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการคัดกรองและการให้คำแนะนำในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้จึงมีความสำคัญมาก การศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้ การปฏิบัติคัดกรองและการปฏิบัติการให้คำแนะนำในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจาก 9 ตำบล ในอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 20 ราย และกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำตามปกติจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยชุดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้ การปฏิบัติการคัดกรองและการให้คำแนะนำในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อุปกรณ์ประกอบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ และคู่มือความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ การคัดกรองและการให้คำแนะนำในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถามความรู้และแบบสังเกตการปฏิบัติการคัดกรองและแบบสังเกตการปฏิบัติการให้คำแนะนำในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง McNemar test และ Fisher's Exact test ตามลักษณะข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ระดับคะแนนความรู้ การปฏิบัติการคัดกรอง และการปฏิบัติการให้คำแนะนำในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายหลังได้รับการเรียนรู้เชิงประสบการณ์สูงกว่าก่อนเรียนรู้เชิงประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ระดับคะแนนความรู้ การปฏิบัติการคัดกรอง และการปฏิบัติการให้คำแนะนำในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายหลังได้รับการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .003, p < .001, p < .001) ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีผลทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ นำไปสู่การมีทักษะในการปฏิบัติการคัดกรองและการปฏิบัติการให้คำแนะนำในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ถูกต้องมากขึ้นen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231074 อำพิกา คันทาใจ.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.