Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69581
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผศ.ดร.ชูเกียรติ ชัยบุญศรี | - |
dc.contributor.advisor | ผศ.ดร.อนุภาค เสาร์เสาวภาคย์ | - |
dc.contributor.author | กฤตกนก เรืองพนิช | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-15T03:03:34Z | - |
dc.date.available | 2020-08-15T03:03:34Z | - |
dc.date.issued | 2020-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69581 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this independent study is to evaluate the sustainability of tourism in Lampang province by assessing thoroughly in economic, socio-cultural, and environmental aspects. The approach used towards the study is the integration of quantity and quality. In economic aspect, the evaluation would be based on the perspectives of 400 Thai tourists towards tourism of Lampang through convenience samplings from February to March 2020. In socio-cultural and environmental aspects, the evaluation would be based on the perspectives of 12 tourism-related local stakeholders through purposive samplings. Firstly, the result of economic assessment has shown 12 factors affecting the sustainability of tourism in Lampang, which include: average monthly income, hometown, travel companion, average spending for trips to Lampang, number of visits to Lampang, variety of tourist attractions, accommodation, cuisine, appropriate cost of living, crimeless security, local hospitality, and effective advertisement and public relations. Secondly, the result of socio-cultural assessment has presented 7 factors such sustainability, which include: preservation of cultural architectures, preservation and inheritance of cultures and customs, construction of local hospitality, local participation in planning and decision-making, harmonized cooperation in local community, regulations related to tourists’ behaviors, and local awareness for substances, contagious diseases, crimes, and conflicts with tourists. Lastly, the result of environmental assessment has shown 4 factors affecting the sustainability, which include: conservation and restoration of local natural resources, sustainable use of natural resources, environmental awareness of locals and tourists, and tourists’ participation in environmental-conservation activities. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การประเมินความยั่งยืนจากการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง | en_US |
dc.title.alternative | Sustainability Evaluation of Tourism in Lampang Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความยั่งยืนจากการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง โดยประเมินจากด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม วิธีการศึกษาครั้งนี้เป็นการผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยด้านเศรษฐกิจจะเป็นการประเมินจากมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง เป็นการเก็บแบบสอบถามโดยสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 400 คน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2563 ส่วนด้านสังคม/วัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นการประเมินจากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่จังหวัดลำปางจากการท่องเที่ยว เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะจง จำนวน 12 คน ผลการศึกษาประเมินด้านเศรษฐกิจ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความยั่งยืนจากการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง มี 12 ตัวแปร ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ภูมิลำเนา บุคคลที่ร่วมเดินทางด้วย ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง จำนวนครั้งที่เคยมาเที่ยวจังหวัดลำปาง ด้านความหลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยว ด้านที่พัก ด้านอาหาร ด้านค่าครองชีพมีความเหมาะสม ด้านความปลอดภัยไม่มีอาชญากรรม ด้านคนท้องถิ่นมีอัธยาศัยไมตรี และด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ดี ผลการศึกษาประเมินด้านสังคมและวัฒนธรรม พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความยั่งยืนจากการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง มี 7 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมทางวัฒนธรรม ด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูและถ่ายทอดวัฒนธรรมขนมธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ด้านการสร้างสมรรถนะคนในท้องถิ่นให้เป็นเจ้าบ้านที่ดี ด้านคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ ด้านความร่วมมือการประสานงานและไม่มีความขัดแย้งภายในชุมชน ด้านกฎกติกาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของ นักท่องเที่ยว และด้านความตระหนักของคนในท้องถิ่นไม่ให้มีสารเสพติด โรคติดต่อ อาชญากรรม และความขัดแย้งกับนักท่องเที่ยว ผลการศึกษาประเมินด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความยั่งยืนจากการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง มี 4 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการดูแลรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรในท้องถิ่นให้อยู่ในสภาพอุดมสมบูรณ์ ด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ด้านความตระหนักของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวในเรื่องสิ่งแวดล้อม และด้านนักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์ | en_US |
Appears in Collections: | ECON: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611632019 กฤตกนก เรืองพนิช.pdf | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.