Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69570
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กุลวดี อภิชาติบุตร | - |
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล | - |
dc.contributor.author | อดิเรก ช่างเพียร | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-15T03:02:38Z | - |
dc.date.available | 2020-08-15T03:02:38Z | - |
dc.date.issued | 2020-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69570 | - |
dc.description.abstract | Personality traits are important to the work role performance of nurses. The objectives of this correlational descriptive research were to determine personality traits, work role performance, and the relationship between personality traits and work role performance among nurses in regional hospitals. The sample included 413 registered nurses who were selected using the multistage sampling method. The instruments were the Big Five Inventory Questionnaire (John & Srivastava, 1999), translated into Thai by Nuchpong (2562) and the Work Role Performance Questionnaire (Griffin, Neal, & Parker, 2007), translated into Thai by the researcher. The Cronbach’s alpha coefficients of the Big Five Inventory Questionnaire regarding openness to experience, agreeableness, openness to experience, neuroticism, and conscientiousness were 0.76, 0.76, 0.75, 0.73, and 0.70, respectively; and of the Work Role Performance Questionnaire regarding individual task proficiency, team member proficiency, organization member proficiency, individual task adaptivity, team member adaptivity, organization member adaptivity, individual task proactivity, team member proactivity, and organization member proactivity were 0.91, 0.88, 0.85, 0.86, 0.89, 0.80, 0.87, 0.72, and 0.90, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and Spearman’s Rank Order Correlation coefficient.The results revealed that: 1. Nurses in regional hospital possessed the personality trait of agreeableness for 75.30 %, of conscientiousness for 13.32%, of extraversion for 5.57%, of openness to experience for 4.36% and of neuroticism for 1.45%. 2. Nurses in regional hospitals possessed individual task proficiency, team member proficiency, and organization member proficiency at high levels (x̅ = 4.18, SD = .49; x̅ = 4.24, SD = .50; x̅ = 4.04, SD = .59, respectively), and possessed high levels of individual task adaptivity and team member adaptivity (x̅ = 4.11, SD = .50; x̅ = 4.15, SD = .51, respectively), whereas they possessed organization member adaptivity at a somewhat high level (x̅ = 4.00, SD = .52). In addition, nurses possessed individual task proactivity, team member proactivity, and organization member proactivity at somewhat high levels (x̅ = 3.86, SD = .60; x̅ = 3.80, SD = .60; x̅ = 3.76, SD = .69, respectively). 3. The personality traits of openness to experience, conscientiousness, agreeableness, and extraversion had significantly positive relationships with proficiency, adaptivity, and proactivity of work role performance at low to moderate levels (rS = .12-.44, p<.01). On the other hand, the personality trait of neuroticism had significantly negative relationships with proficiency, adaptivity, and proactivity of work role performance at low to moderate levels (rS =. (-.15) - (-.31), p<.01). The results of this study can be used by nurse managers in regional hospitals to develop staff’s personality traits to promote work role performance among nurses in order to contribute to increased quality and efficiency of services. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ลักษณะบุคลิกภาพและการปฏิบัติตามบทบาทในงานของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์ | en_US |
dc.title.alternative | Personality Traits and Work Role Performance of Nurses in Regional Hospitals | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ลักษณะบุคลิกภาพมีความสำคัญต่อการปฏิบัติตามบทบาทในงานของพยาบาล การวิจัยเชิงพรรณณาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะบุคลิกภาพ การปฏิบัติตามบทบาทในงาน และความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพกับการปฏิบัติตามบทบาทในงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 413 คน คัดเลือกโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ (John & Srivastava, 1999) ที่แปลเป็นไทยโดย นัฐภูมิ นุชพงษ์ (2562) และแบบวัดการปฏิบัติตามบทบาทในงาน (Griffin, Neal, & Parker, 2007) ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยโดยผู้วิจัย ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบทดสอบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบเปิดเผยตัวเอง แบบมีความเข้าใจผู้อื่น แบบเปิดรับประสบการณ์ แบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ และแบบมีความรับผิดชอบ เท่ากับ 0.76, 0.76, 0.75, 0.73 และ 0.70 ตามลำดับ และของแบบวัดการปฏิบัติตามบทบาทในงานด้านความชำนาญส่วนบุคคคล ความชำนาญในฐานะสมาชิกทีม ความชำนาญในฐานะสมาชิกองค์กร การปรับตัวส่วนบุคคล การปรับตัวในฐานะสมาชิกทีม การปรับตัวในฐานะสมาชิกองค์กร การทางานเชิงรุกส่วนบุคคล การทางานเชิงรุกในฐานะสมาชิกทีม และการทำงานเชิงรุกในฐานะสมาชิกองค์กร เท่ากับ 0.91, 0.88, 0.85, 0.86, 0.89, 0.80, 0.87, 0.72 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนผลการวิจัยพบว่า 1. พยาบาลโรงพยาบาลศูนย์มีลักษณะบุคลิกภาพแบบมีความเข้าใจผู้อื่นร้อยละ 75.30 แบบมีความรับผิดชอบร้อยละ 13.32 แบบเปิดเผยตนเองร้อยละ 5.57 แบบเปิดรับประสบการณ์ร้อยละ 4.36 และแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ร้อยละ 1.45 2. พยาบาลโรงพยาบาลศูนย์มีการปฏิบัติตามบทบาทในงานด้านความชำนาญส่วนบุคคล ในฐานะสมาชิกทีม และในฐานะสมาชิกองค์กรอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.18, SD = .49; x̅ = 4.24, SD = .50; x̅ = 4.04, SD = .59 ตามลำดับ) มีการปฏิบัติตามบทบาทในงานด้านการปรับตัวส่วนบุคคล และในฐานะสมาชิกทีมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.11, SD = .50; x̅ = 4.15, SD = .51 ตามลำดับ) ส่วนการปรับตัวในฐานะสมาชิกองค์กรอยู่ในระดับค่อนข้างมาก (x̅ = 4.00, SD = .52) นอกจากนี้พยาบาลมีการปฏิบัติตามบทบาทในงานด้านการทางานเชิงรุกส่วนบุคคล ในฐานะสมาชิกทีม และในฐานะสมาชิกองค์กรในระดับค่อนข้างมาก (x̅ = 3.86, SD = .60; x̅ = 3.80, SD = .60; x̅ = 3.76, SD = .69 ตามลำดับ) 3. ลักษณะบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ แบบมีความรับผิดชอบ แบบมีความเข้าใจผู้อื่น และแบบเปิดเผยตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการปฏิบัติตามบทบาทในงานด้านความชำนาญ การปรับตัว และการทำงานเชิงรุกในระดับน้อยถึงปานกลาง (rS = .12-.44, p<.01) ส่วนลักษณะบุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการปฏิบัติตามบทบาทในงานด้านความชำนาญ การปรับตัว และการทำงานเชิงรุกในระดับน้อยถึงปานกลาง (rS =.(-.15) - (-.31), p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้สาหรับผู้บริหารการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ในการพัฒนาลักษณะบุคลิกภาพเพื่อส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามบทบาทในงานของพยาบาลที่จะทำให้การบริการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
601231065 อดิเรก ช่างเพียร.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.