Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69385
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รศ.ดร.นวลศรี รักอริยะธรรม | - |
dc.contributor.author | เจนจิรา วงศ์ละม่อม | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-07T01:03:05Z | - |
dc.date.available | 2020-08-07T01:03:05Z | - |
dc.date.issued | 2014-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69385 | - |
dc.description.abstract | The effects of alum pretreatments (0, 2, 3, and 4%) on the phenolic compounds and color characteristics of fried-cut eggplants were determined. The fried-cut eggplant treated with 2% alum showed higher phenolic (1.68 mg/g fried-cut eggplants) and anthocyanin (0.08 mg/g fried-cut eggplants) contents than the fresh-cut eggplants and the other alum pre-treatments. In addition, the lightness of the fried-cut eggplants that were pretreated with 2% alum were higher than the other alum pretreatments. The fried-cut eggplants were kept at -20 °C for 6 months. It was found that the color of the fried-cut eggplants did not change. In addition, the effects of the alum pretreatments (0, 2, 3, and 4%) on the used frying oil were also determined. The chemical parameters (free fatty acid, acid value, peroxide value and conjugated diene) of the used frying oil significantly increased, when the frying cycle increased. However, the alum pretreatments did not affect the chemical parameters of the frying oil, but had an effect on the color of the used frying oil. The colors (L*, a* and b*) in increased with an increase of the alum concentration. The effect of different times (32, 40 and 45 sec), temperatures (170, 180 and 190 °C) and types of oils (palm oil, soybean oil and a mixture of both) on the fried-cut eggplants and the used frying oil were also studied. The frying period revealed no effect on the fried-cut eggplants and the used frying oil; whereas, the frying temperature affected both the fried-cut eggplants and the used frying oil. The anthocyanin and phenolic contents of the fried-cut eggplants that were fried at 170 °C displayed less value than the fried-cut eggplants that were fried at 180 °C and 190 °C. As a result, the polyphenol oxidase at 170 °C was active. In addition, the chemical parameters and color of the used frying oil that was heated to 170 °C revealed less changes than the used frying oil that was heated to 180 °C and 190 °C. The type of oil had no effect on the fried-cut eggplants, but did affect the used frying oil. The soybean oil revealed a higher chemical change than the palm oil. Additionally, the extension of the life of vegetable frying oil by treatment with activated charcoal (AC) and bentonite (BE) was also considered. Three treatments (15% w/v) including single adsorbent (AC or BE), adsorbent combinations (BE:AC ratio 2:1, 1:1 and 1:2) and two-step adsorbent (AC and then BE, BE and then AC) were investigated for the purposes of improving the physico-chemical parameters (free fatty acids, FFA; acid value, AV; peroxide value, PV; total polar materials, TPM; conjugated dienes, CD and color) of used vegetable frying oil. The two-step treatment (AC and then BE) exhibited the highest ability to improve the physico-chemical parameters of the vegetable oil when compared with the single adsorbent (AC or BE), three adsorbent combinations (BE:AC ratio 2:1, 1:1 and 1:2) and the two-step application of BE and then AC. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การลดการเกิดสีน้ำตาลคล้ำในน้ำมันพืชจากกระบวนการทอดมะเขือม่วง เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Reduction of Dark-brown Color Occurrence in Vegetable Oil from Eggplant-frying Process for Recycling Purpose | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | จากการศึกษาผลของความเข้มข้นของสารส้มที่ใช้แช่มะเขือม่วงก่อนทอดต่อการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์หลังทอดและน้ำมันที่ใช้ทอด โดยทำการตรวจสอบปริมาณแอนโธซัยยานิน ฟีนอลิก และแอคติวิตีของเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดสของมะเขือม่วงทอด ที่แช่ด้วยสารส้มความเข้มข้น 0, 2, 3 และ 4 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังการทอด พบว่าการแช่มะเขือม่วงในสารส้มความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ ก่อนการทอดสามารถช่วยรักษาคุณภาพของมะเขือม่วงทอด โดยมีแอนโธซัยยานิน ( 0.08 มิลลิกรัมต่อกรัมมะเขือทอด) ฟีนอลิก (1.68 มิลลิกรัมต่อกรัมมะเขือทอด) ในปริมาณสูงกว่าการแช่ที่สารส้มความเข้มข้นอื่นๆ อีกทั้งเนื้อมะเขือมีสีขาวและผิวมะเขือมีสีม่วงเข้ม (ผลจากการวัดค่า L*, a*, b*) มากกว่าที่แช่ด้วยความเข้มข้นอื่นๆ และเมื่อนำผลิตภัณฑ์มะเขือม่วงทอดที่ได้ ไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 เดือน ผลที่ได้พบว่าสารส้มความเข้มข้นต่างๆ (0, 2, 3 และ 4 เปอร์เซ็นต์) สามารถคงลักษณะทางกายภาพ (ค่าสี) ของมะเขือม่วงทอดได้ ในด้านผลของความเข้มข้นของสารส้มต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำมันที่ใช้ทอด โดยทำการทอดต่อเนื่อง 15 ครั้ง ผลที่ได้พบว่าค่าทางเคมี (กรดไขมันอิสระ ค่าความเป็นกรด เปอร์ออกไซด์ และคอนจูเกตไดอีน) ของน้ำมันมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อจำนวนครั้งในการทอดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ค่าที่ได้ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อใช้ความเข้มข้นของสารส้มที่แตกต่างกัน (0, 2, 3 และ 4%) ทางด้านผลทางกายภาพนั้นมีความสอดคล้องกับค่าทางเคมี คือ มีค่าความสว่าง (L*) ลดลง ค่าความเป็นสีแดง (a*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) เพิ่มขึ้น เมื่อจำนวนครั้งในการทอดเพิ่มขึ้น แต่เปอร์เซ็นต์สารส้มที่ใช้แช่มะเขือก่อนทอดนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ คือ เมื่อเปอร์เซ็นต์สารส้มเพิ่มมากขึ้นน้ำมันมีสีคล้ำมากขึ้น ส่วนของการศึกษาผลของระยะเวลา (32, 40 และ 45 วินาที) อุณหภูมิ (170, 180 และ 190 องศาเซลเซียส) และชนิดน้ำมัน (น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และน้ำมันผสมถั่วเหลืองกับน้ำมันปาล์ม) ที่ใช้ทอด ต่อการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์และน้ำมันที่ใช้ทอด ผลที่ได้พบว่า เวลาในการทอดไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทั้งผลิตภัณฑ์และน้ำมัน เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของน้ำมันก็ไม่แตกต่างกัน ในด้านของอุณหภูมิที่ใช้ทอด พบว่า อุณหภูมิมีผลต่อทั้งผลิตภัณฑ์และน้ำมันที่ใช้ทอด คือ ผลิตภัณฑ์ที่ทอดด้วยอุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส มีปริมาณแอนโธซัยยานินและฟีนอลิกน้อยกว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทอดด้วยอุณหภูมิ 180 และ 190 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นผลจากเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดส ที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส ยังคงมีแอคติวิตีอยู่ และในส่วนของน้ำมันพบว่า ที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส มีการเปลี่ยนแปลงค่าทางเคมีน้อยกว่าที่อุณหภูมิ 180 และ 190 องศาเซลเซียส และในส่วนของการศึกษาผลของชนิดน้ำมันนั้น พบว่าชนิดของน้ำมันที่ใช้ทอดไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ แต่ชนิดของน้ำมันที่ใช้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของน้ำมัน คือ น้ำมันถั่วเหลืองมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีมากกว่าน้ำมันปาล์ม สำหรับการทดสอบความสามารถของสารดูดซับในการดูดซับสีและผลิตภัณฑ์อื่นของน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ด้วยถ่านก่อกัมมันต์ และเบนโทไนต์ โดยการทดสอบทั้งแบบเดี่ยว แบบผสมที่อัตราส่วนต่างๆ (เบนโทไนต์ผสมถ่านก่อกัมมันต์ อัตราส่วน 2:1, 1:1 และ 1:2) และทดสอบแบบสองขั้นตอน (ผ่านถ่านก่อกัมมันต์ก่อนและตามด้วยเบนโทไนต์, ผ่านเบนโทไนต์ก่อนและตามด้วยถ่านก่อกัมมันต์) พบว่าการผ่านสองขั้นตอนของถ่านก่อกัมมันต์แล้วตามด้วยเบนโทไนต์ สามารถปรับปรุงทั้งค่าทางเคมีและค่าทางกายภาพของน้ำมันใช้แล้วได้ ถึงแม้ว่าเปอร์เซ็นต์การกู้คืนจะน้อยกว่าสารดูดซับเดี่ยวและสารดูดซับผสมก็ตาม | en_US |
Appears in Collections: | GRAD-Sciences and Technology: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 6.55 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.