Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69375
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ไทพีศรีนิวัติ ภักดีกุล-
dc.contributor.authorเศรษฐกิจ จันทศรen_US
dc.date.accessioned2020-08-07T01:01:52Z-
dc.date.available2020-08-07T01:01:52Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69375-
dc.description.abstractThe legal measures for prevent a repetitive criminal offense: case study on drug was researched by basing on documentary research method and by interviewing with government agencies involving with drug cases. The principles, ideas and reasons of the legal measures that related to drug case were also studied along with the court’s judgment and problems from repetitive criminal offenses in Thailand. The four agencies that directly involved with the drug case in both principle and operation process were interviewed namely court, police office, department of correction and the office of narcotics control board. The interview results indicated that the legal measures for drug offence in Thailand were violent and strict with high penalty. The intention of these legal measures was mainly to suppress and prevent drug offences. However, the penalties for drug offense are still not function as the set measures because of the reduction of criminal punishment. The repetitive criminal offenses in drug cases increased 40-50 percent from the previous. This leads to the legal loophole on drug offense. The legal loophole is in, for example, Sections 97 and 100/2 of Narcotics act, B.E. 2552 (1979) or Section 19 of Narcotic addict rehabilitation act, B.E. 2545 (2002) are the advantages for those repetitive culprits to claim for their benefits in repetitive criminal offense. To solve the legal loophole above, The Narcotics act, B.E. 2552 (1979) and Narcotic addict rehabilitation act, B.E. 2545 (2002) should be revised. The drug case division in the court of first instance should be established to solve the drug case according to the intention of the drug laws.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายเพื่อการป้องกันการกระทำความผิด ทางอาญาซ้ำ: ศึกษาคดียาเสพติดen_US
dc.title.alternativeLegal Measures for Prevention of Repetitive Criminal Offense: Study on Drug Casesen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษามาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำความผิดทางอาญาซ้ำ ศึกษาคดียาเสพติดของประเทศไทย วิธีการวิจัยใช้การวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาหลักการ แนวคิดและเหตุผลในบรรดากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด ตลอดจน คำพิพากษาของศาล สภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นจากผู้กระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติดของประเทศไทย และการวิจัยภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคดียาเสพติด ทั้งเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ 4 หน่วยงาน คือ ศาล ตำรวจ ราชทัณฑ์และสำนักงานป้องกันและปรามปราบยาเสพติด ผลการวิจัย พบว่า กฎหมายยาเสพติดของประเทศไทยมีมาตรการที่รุนแรงและเข้มงวด จากอัตราการระวางโทษขั้นสูงและเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งการปราบปรามและการยับยั้งการกระทำความผิด แต่ในทางปฏิบัติยังพบว่า การลงโทษผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติดตามบัญญัติหรือการระวางโทษตามกฎหมายยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ตามมาตรการที่วางไว้เนื่องมาจากการบรรเทาโทษตามกฎหมาย และพบว่า ผู้กระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากเดิมเป็นร้อยละ 40-50 ของผู้กระทำความผิดยาเสพติดทั้งหมด โดยผู้กระทำความผิดซ้ำได้มีการนำช่องว่างของกฎหมายยาเสพติดมาเป็นประโยชน์ในการกระทำความผิดซ้ำ ดังเช่น มาตรา 97 และ 100/2 ของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และมาตรา 19 ของพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2545 ดังนั้นการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติดด้วยกฎหมาย ควรมีการแก้ไข ช่องว่างทางกฎหมายดังกล่าว ด้วยการแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และ พระราชบัญญัติฟื้นฟูสสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 และการจัดตั้งแผนกคดียาเสพติดขึ้นในศาลชั้นต้นเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างแท้จริงen_US
Appears in Collections:LAW: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.