Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69346
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorProf. Emeritus Dr. Benjavan Rerkasem-
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Sansanee Jamjod-
dc.contributor.advisorDr. Narit Yimyam-
dc.contributor.authorUtumporn Chaiwongen_US
dc.date.accessioned2020-08-06T01:43:30Z-
dc.date.available2020-08-06T01:43:30Z-
dc.date.issued2013-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69346-
dc.description.abstractTwo of the most serious problems in northern highland mountainous areas is land degradation and insufficient rice production to feed highland people. Paddy development to grow rice on flooded soil provides a solution to these two problems at the same time. This study was conducted to identify situation of highland paddy system and to evaluate the effects of different types of green manure on improvement soil fertility and rice yield in highland paddy field and to select the suitable legumes green manure for improving their highland paddy yield. Field survey, farmers’ interview with questionnaires, crop cutting and soil sample collection were used to collect the data on typology of paddy field irrigations, soil properties and rice yield of the selected farmers and available legumes in six highland villages of Sob Moei sub-district, Sob Moei district, Mae Hong Son province. The studied villages were Huai Chai Yong, Tiya pur, Ley koe, Huai Nam Sai, Nam Ok Ru and Tee Cha. Data was collected from 16.7% of a total of 432 farming household in the villages. Field experiments were conducted for 2 years in 2007 and 2008 at one of the farmers' highland paddy field in Tee Cha village to study the adaptability of some legumes in highland paddy condition, to evaluate potential of tested legumes as green manure crops and their effects on rice paddy and then select the suitable green manure legumes for highland paddy fields with different levels of available water supply. Furthermore, the nutrient accumulation of the suitable green manure legumes in rotation cropping paddy rice system was investigated on the lowland paddy field in 2008 and 2009 at Center for Agricultural Resource System Research, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. It was found that the highland paddy fields in the study area could be divided into five typology groups based on degree of slope and availability of water supply. Based on the availability of water for irrigation, there were three types of highland paddy, fully irrigated, partial irrigated and rain fed field which the area size ranged from 0.3-0.7 t ha-1. The average rice yield ranged from 1.8-2.2 t ha-1 which could meet/feed/support household’s need for 1 to 6 months each year. The number of farmers who produced seed yield above average of the villages were within the range of 19-23% of total numbers of household. The soil in the selected fields had suitable pH and sufficient exchangeable K for rice production but with low N and available P contents. The paddy yield limiting factors should be N and P deficiency and water supply. The existing legumes in the studied areas were Sward bean (Canavalia ensiformis), Yam bean (Pachyrrhizus erosus), Lima bean (Phaseolus lunatus), Winged bean (Psophocarpus tetragonolobus), Rice bean (Vigna umbellata), Cowpea (Vigna unguiculata ssp.), Yardlong bean (Vigna unguiculata spp. Sesquipedalis) and Thornless mimosa (Mimosa invisa). All legumes excepted M. invisa are commonly grown with upland rice as a domestic food consumption. Mimosa invisa is used as green manure in some highland villages. For field study, L. purpureus, V. umbellata, C. ensiformis and M. invisa were grown to evaluate soil abundance and rice yield. In dry season with irrigation supplement until the rainy season, soil condition of the highland paddy field at Tee Cha village was slightly acidic with low contents of total N and available P. All legumes produced significantly more biomass and accumulated more primary nutrients in the above ground part at 115 days after planting than the existing vegetative fallow. There were significant differences in term of biomass and N, P and K accumulation among the four tested legumes. C. ensiformis produced the highest biomass (13.7 t ha-1) followed by V. umbellata (11.5 t ha-1) whereas L.purpureus and M. invisa produced the lower biomass (10.1 and 10.6 t ha-1) than the first two species. C. ensiformis accumulated the highest P contents (41.6 kg N ha-1) whereas L. purpureus and C. ensiformis accumulated the highest P contents (40.9 and 39.2 kg P ha-1) and L. purpureus accumulated the highest K contents (300.3 kg K ha-1). At 115 days after four legumes were planted, they were incorporated into rice cultivation area, RD 21 rice variety. It was found that, over conventional practice, in V. umbellata, C. ensiformis and L. purpureus plots, 20.7-31% of rice grain yield was significantly increased. For the effect on rice improvement, rice grain yield incorporation with V. umbellata was significantly better than in C. ensiformis plot but not different from L.purpurous and M. invisa plot that could not significantly improve rice grain yield. Biomass and N and P accumulation in the above ground parts of the four tested green manure legumes grown on the highland paddy soil with low N and available P contents were decreased when the field was not fully irrigated. Different legume types responded to different level of irrigation in biomass product and nutrient accumulation. By partial irrigation, biomass, N and P accumulation of M. invisa were significantly decreased as same as L. purpureus and C. ensiformis. Among the four tested legumes, C. ensiformis produced the highest biomass and N accumulation at all irrigation levels, however, it accumulated less P than V. umbellata. Followed by C. ensiformis, under full and partial irrigation, V. umbellata produced higher biomass and N accumulation than the others. The level of irrigation influenced not only on the biomass of the four green manure legumes, but also on highland paddy yield under conventional system. Under partial irrigation or no irrigation in conventional rice system, paddy yield was only 1.3-1.4 t ha-1 compared to under full irrigation, the paddy yield was 1.5 t ha-1. Furthermore, levels of irrigation also influenced on rice yield (RD21) and harvest index by different green manure incorporation. Response to different green manure incorporation on Vigna umbellata was considered as the best leguminous green manure to improve highland paddy rice because of its biomass that resulted in increasing of paddy yield and harvest index at all irrigation treatments compared to those under conventional practices although this legume in general, produced less biomass and P content than C. ensiformis. With no irrigation during April to July for 45 days, three legumes, L. purpureus, V. umbellata and C. ensiformis, produced more biomass N than that of fallow vegetation. Besides, incorporation of their biomass were significantly increased paddy yield. Field experiment conducted on highland paddy field at Tee Cha village incorporated with four green manure legumes, their biomass contained 223-416 kg N, 28.5-40.9 kg P and 215-300 kg K ha-1 that was sufficient for paddy rice cultivation with standard grain yield of 4.37 t ha-1. Rate of N and P accumulated on biomass of each green manure legume from this study were higher than recommended N and P fertilizer rate for rice cultivation in poor soil. However, grain yield of RD21 rice variety obtained from highland field at Tee Cha village was below the standard yield (4.38 t ha-1) of this variety. Under irrigated lowland paddy field, slightly acidic low N and exchangeable K contents, V. umbellata and M. invisa were evaluated for their potential of nutrient accumulation in rice rotation cropping system. It was found that, in the first rotation with legumes, V. umbellata produced more biomass (21.4 t ha-1) than M. invisa (12.9 t ha-1) which was still higher than biomass from fallow vegetation (7.3 tha-1). The biomass from fallow vegetation accumulated 206 kg N ha-1 Nitrogen accumulation in M. invisa and V. umbellate biomass were higher than fallow vegetation two and three times, respectively. Phosphorous accumulation in V. umbellata biomass was the highest (84 kg P ha-1) followed by that of M. invisa (53 kg P ha-1) whereas the fallow vegetation accumulated only 29 kg P ha-1. Incorporation of the biomass of V. umbellata and M. invisa provided 3.1 and 3.6 t ha-1 grain yield of RD21 rice variety, respectively, that were 71 and 82% of the standard yield of this rice variety and rice harvest index (HI) was 0.4-0.43. In the second rotation with legumes, they produced higher biomass and accumulated more nutrients than the first year round. The biomass N of the vegetation fallow in the second rotation was only half of that in the first rotation. Yield of RD21 rice grown after legumes incorporation produced significantly more grain yield than rice grown after fallow vegetation, however it was not different between rice yield grown after the first and second rotation with legumes although the second rotation with legumes provided more biomass and accumulated N and P than those from one rotation. It was expected that the excess N obtained from legume biomass resulted in lack of transferring the stored carbohydrate in stem and leaf sheath of rice into grain part. Based on the performances of the tested legumes in this study, their adaptation to highland paddy soil under different levels of irrigation, the potential of the legumes as the sources of N and P including the acquaintance of the farmers on useful of each legume, V. umbellata was considered as the most suitable legume to be used as green manure to improve paddy yield on highland of northern Thailand.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleGreen Manures for Highland Paddy Improvementen_US
dc.title.alternativeการเพิ่มผลผลิตนาข้าวที่สูงด้วยพืชบำรุงดินen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractนอกเหนือจากการปลูกข้าวไร่แล้ว การปลูกข้าวแบบนาดำ เป็นอีกวิธีการผลิตข้าวบนที่สูงที่จะช่วยให้ประชากรมีข้าวไว้บริโภค ภายใต้ข้อจำกัดในการผลิตทำให้ผลผลิตข้าวที่ได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชากรที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาดำโดยการคัดเลือกพืชตระกูลถั่วที่เหมาะสมในการใช้เป็นปุ๋ยพืชสด โดยการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับระบบและสถานการณ์การทำนาดำบนที่สูง ได้แก่ รูปแบบของพื้นที่นาดำบนที่สูง ระบบชลประทาน ผลผลิตข้าว โดยวิธีการสำรวจพื้นที่และใช้แบบสอบถามเพื่อสัมภาษณ์เกษตรกร ในตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 6 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านห้วยไชยยงค์ ทียาเพอ เลโค๊ะ ห้วยน้ำใส น้ำออกรู และทีชะ ซึ่งมีทั้งหมด 432 ครัวเรือน สัมภาษณ์ร้อยละ 16.7 และทำการทดลองในแปลงของเกษตรกร ที่หมู่บ้านทีชะ เป็นเวลา 2 ปี คือ ปี 2550 และ 2551 เพื่อศึกษาความสามารถในการปรับตัวของพืชตระกูลถั่วที่เหมาะสมสำหรับการไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด ในพื้นที่นาดำ บนที่สูง และมีระดับของการใช้น้ำแตกต่างกัน ศึกษาการสะสมธาตุอาหารของพืชตระกูลถั่ว ในระบบการปลูกพืชหมุนเวียน ในปี พ.ศ. 2551 และ 2552 ในแปลงทดลองซึ่งเป็นที่ราบลุ่มของศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลการสัมภาษณ์และสำรวจข้อมูลของเกษตรกร พบว่า รูปแบบการทำนาบนที่สูงพิจารณาจากความจากความเป็นประโยชน์ของน้ำที่ใช้ในการทำนาดำ สามารถแบ่งพื้นที่นาได้เป็น 3 กลุ่ม คือ พื้นที่นาที่มีน้ำตลอดทั้งปี พื้นที่นาที่มีน้ำเป็นบางช่วง และพื้นที่นาน้ำฝน ขนาดพื้นที่นาของเกษตรกรโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.3-0.7 เฮกตาร์ ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 1.8-2.2 ตันต่อเฮกตาร์ ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือนเพียง 1-6 เดือน มีเกษตรกรที่สามารถผลิตข้าวได้มากกว่าผลผลิตเฉลี่ยของทั้งหมู่บ้าน อยู่ ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือนเพียง 1-6 เดือนต่อปี จำนวนเกษตรกรที่สามารถผลิตข้าวได้มากกว่าผลิตเฉลี่ยของหมู่บ้านอยู่ในช่วงตั้งแต่ 19-23 ดินในพื้นที่นาดำที่ได้สำรวจมีความเป็นกรดเป็นด่างของดินในระดับที่เหมาะสม และมีร้อยละของไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ในระดับต่ำ ส่วนโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้มีอยู่ในระดับที่พอเพียงสำหรับการปลูกข้าว มีพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วพร้า (Canavalia ensiformis) มันแกว (Pachyrrhizus erosus) ถั่วไลมา (Phaseolus lunatus) ถั่วพู (Psophocarpus tetragonolobus) ถั่วนิ้วนางแดง (Vigna umbellata) ถั่วพุ่ม (Vigna unguiculata) และถั่วฝักยาว (Vigna unguiculata spp. sesquipedalis) ปลูกร่วมกับข้าวไร่สำหรับเป็นอาหาร รวมทั้งไมยราบไร้หนาม (Mimosa invisa) ที่ในบางหมู่บ้านใช้เป็นพืชบำรุงดิน จากการทดลองนำพืชตระกูลถั่ว 4 ชนิด ไปศึกษาในพื้นที่นาดำของเกษตรกรในหมู่บ้านทีชะ ได้แก่ ถั่วแปยี ถั่วพร้า ถั่วนิ้วนางแดง และไมยราบไร้นาม ผลการทดลอง พบว่า พืชตระกูลถั่วทั้ง 4 ชนิดที่ปลูกในช่วงฤดูแล้ง และมีการให้น้ำในการเพาะปลูกก่อนเข้าฤดูฝน ให้น้ำหนักชีวมวลและสะสมธาตุอาหารหลักในส่วนเหนือดินเมื่อปลูกได้ 115 วัน มากกว่าพืชพรรณที่ขึ้นได้เองในพื้นที่ทิ้งร้างอย่างมีนัยสำคัญ และถั่วแต่ละชนิดมีความแตกต่างทางสถิติในด้านน้ำหนักแห้ง และการสะสมไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแทสเซียม โดยถั่วพร้าให้ชีวมวลมากที่สุด (13.7 ตัน/เฮกตาร์) รองลงมาคือ ถั่วนิ้วนางแดง (11.5 ตัน/เฮกตาร์) ในขณะที่ถั่วแปยี และไมยราบไร้หนามให้ชีวมวลต่ำกว่าถั่ว 2 ชนิดแรก ถั่วพร้ามีการสะสมในโตรเจนมากที่สุด (41.6 กก.ไนโตรเจน/เฮกตาร์) ส่วนการสะสมฟอสฟอรัส พบมากที่สุดในถั่วแปยี และถั่วพร้า (40.9 และ 39.2 กก.ฟอสฟอรัส/เฮกตาร์) สำหรับถั่วแปยีมีการสะสมโพแทสเซียมสูงที่สุดคือ 300.3 กก.โพแทสเซียม/เฮกตาร์ หลังจากไถกลบพืชตระกูลถั่วทั้ง 4 ชนิด ลงในแปลงปลูกข้าวนาดำที่ระยะ 115 วัน แล้วปลูกข้าวพันธุ์ กข21 พบว่า พืชตระกูลถั่วที่ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจากวิธีการปฏิบัติโดยทั่วไปของ เกษตรกร 20.7-31% คือถั่วนิ้วนางแดง ถั่วพร้า และถั่วแปยี ในขณะที่การไถกลบไมยราบไร้หนามไม่ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การไถกลบถั่วนิ้วนางแดงให้ผลดีกว่าการไถกลบถั่วพร้าแต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับถั่วแปยี เมื่อเปรียบเทียบวิธีการให้น้ำที่แตกต่างกัน 3 ระดับกับการปลูกพืชตระกูลถั่วทั้ง 4 ชนิดพบว่า การให้น้ำเป็นบางช่วง หรือไม่มีการให้น้ำเลยทำให้พืชตระกูลถั่วที่ใช้ทดลองให้ชีวมวล และสะสมธาตุอาหารในส่วนเหนือดินลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการให้น้ำอย่างเต็มที่ พืชตระกูลถั่วแต่ละชนิดตอบสนองต่อการให้น้ำแต่ละระดับ แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาจากชีวมวลและการสะสมธาตุอาหารในส่วนเหนือดินของต้นถั่วที่ได้รับการให้น้ำทั้ง 3 ระดับ ถั่วนิ้วนางแดงได้รับผลกระทบจากการลดลงของความชื้นในดินน้อยกว่าถั่วชนิดอื่น การให้น้ำเพิ่มบางช่วงทำให้ชีวมวล และการสะสมไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของถั่วแปยี และถั่วพร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่มีผลต่อไมยราบไร้หนาม ในพืชตระกูลถั่วทั้ง 4 ชนิด พบว่าถั่วพร้าให้ชีวมวล และสะสมไนโตรเจนสูงที่สุดในทุกระดับของการให้น้ำ แต่สะสมฟอสฟอรัสน้อยกว่าถั่วนิ้วนางแดง ซึ่งเมื่อให้น้ำอย่างเต็มที่และให้น้ำเป็นบางช่วงทำให้ถั่วนิ้วนางแดงมีประสิทธิภาพดีเป็นอันดับสองรองจากถั่วพร้า ระดับการให้น้ำในการเพาะปลูก นอกจากจะมีผลกระทบต่อพืชตระกูลถั่วทั้ง 4 ชนิด ยังมีผลต่อการให้ผลผลิตของข้าวที่ปลูกตามวิธีการแบบดั้งเดิมด้วย ในพื้นที่ซึ่งได้รับน้ำเป็นบางช่วงหรือในพื้นที่ซึ่งไม่มีการให้น้ำ ข้าวนาดำซึ่งปลูกด้วยวิธีการแบบดั้งเดิมให้ผลผลิตเพียง 1.3-1.4 ตัน/เฮกตาร์ ในขณะที่พื้นที่นาซึ่งได้รับน้ำเต็มที่ข้าวให้ผลผลิตถึง 1.5 ตัน/เฮกตาร์ นอกจากนี้ระดับของการให้น้ำยังมีอิทธิพลต่อลักษณะในการตอบสนองของข้าวต่อการไถกลบปุ๋ยพืชสด โดยลักษณะในการตอบสนองของข้าวนาดำพันธุ์ กข21ต่อการไถกลบพืชตระกูลถั่วแต่ละชนิดผันแปรตามระดับของการให้น้ำที่ให้ในช่วงที่มีการปลูกถั่ว ถั่วนิ้วนางแดงถือว่าเป็นพืชปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุดในการเพิ่มผลผลิตข้าวนาดำในพื้นที่สูงเพราะว่าการไถกลบพืชตระกูลถั่วชนิดนี้มีผลทำให้ผลผลิตและดัชนีการเก็บเกี่ยวข้าวนาดำบนที่สูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในทุกระดับของการให้น้ำเมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตข้าวที่ปลูกด้วยวิธีการดั้งเดิม แต่ในสภาพที่ไม่มีการให้น้ำ พบว่า การปลูกถั่วแปยี ถั่วนิ้วนางแดง และถั่วพร้าซึ่งปลูกเป็นเวลา 45 วันในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม มีการสะสมไนโตรเจน ในชีวมวลมากกว่าพืชพรรณที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ว่างเปล่าตามธรรมชาติ และการไถกลบพืชตระกูลถั่วเหล่านี้มีผลทำให้ข้าวนาดำมีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ภายใต้สภาพการปลูกในพื้นที่นาดำบนที่สูง ณ หมู่บ้านทีชะ ชีวมวลของพืชตระกูลถั่วที่ไถกลบลงไปในดินเพื่อการปลูกข้าวนาดำ มีไนโตรเจน 223- 416 กก. ฟอสฟอรัส 28.5-40.9 กก. โพแทสเซียม 215-300 กก./เฮกตาร์ ซึ่งเพียงพอสำหรับการปลูกข้าวนาดำที่ให้ผลผลิต 4.37 ตัน/เฮกตาร์ ซึ่งเป็นผลผลิตในระดับมาตรฐาน และปริมาณไนโตรเจน และฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในชีวมวล ของพืชตระกูลถั่วแต่ละชนิดที่ไถกลบมีมากกว่าอัตราการใส่ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสตามคำแนะนำในการปลูกข้าว แต่ผลผลิตข้าวนาดำพันธุ์กข21 ที่ได้จากการทดลองในพื้นที่สูง ณ หมู่บ้านทีชะ ต่ำกว่าผลผลิตมาตรฐาน (4.38 ตัน/เฮกตาร์) ของข้าวพันธุ์ดังกล่าว ในการทดลองในพื้นที่นาดำในพื้นที่ลุ่มซึ่งดินมีค่าเป็นกรดเล็กน้อย มีไนโตรเจนทั้งหมด และโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในระดับต่ำ ได้ปลูกถั่วนิ้วนางแดงและไมยราบไร้หนามเพื่อประเมินศักยภาพของถั่วในการสะสมธาตุอาหารภายใต้ระบบการปลูกพืชหมุนเวียนที่มีข้าวอยู่ในระบบ ผลการทดลองพบว่า ในระบบหมุนเวียนรอบที่ 1 ถั่วนิ้วนางแดงให้ชีวมวล 21.4 ตัน/เฮกตาร์ ซึ่งสูงกว่าไมยราบไร้หนามที่ให้ชีวมวล 12.9 ตัน/เฮกตาร์ สำหรับพืชพรรณที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่ว่างเปล่าให้ชีวมวล 7.3 ตัน/เฮกตาร์ และให้ไนโตรเจนในชีวมวล 206 กก./เฮกตาร์ ส่วนไนโตรเจนที่สะสมในชีวมวลของไมยราบไร้หนาม และในถั่วนิ้วนางแดงมีมากกว่าพืชพรรณที่ขึ้นตามธรรมชาติ 2 และ 3 เท่าตามลำดับ การสะสมฟอสฟอรัสในถั่วนิ้วนางแดงมีมากที่สุด (84 กก. ฟอสฟอรัส/เฮกตาร์) รองลงมาคือไมยราบไร้หนาม (53 กก. ฟอสฟอรัส/เฮกตาร์) ในขณะที่พืชพรรณที่ขึ้นตามธรรมชาติมีการสะสมฟอสฟอรัสเพียง 29 กก.ฟอสฟอรัส/เฮกตาร์ การไถกลบชีวมวลของถั่วนิ้วนางแดงและไมยราบไร้หนามทำให้ข้าวนาดำ พันธุ์กข21 ให้ผลผลิต 3.1 และ 3.6 ตัน/เฮกตาร์ ตามลำดับซึ่งคิดเป็น 71 และ 82% ของผลผลิตมาตรฐานของพันธุ์ข้าวดังกล่าว และยังมีดัชนีการเก็บเกี่ยวต่ำ 0.4 และ 0.43 ในการหมุนเวียนรอบที่ 2 พืชตระกูลถั่วซึ่งปลูกซ้ำให้ชีวมวล และสะสมธาตุอาหารมากว่าพืชตระกูลถั่วที่ปลูกเพียงปีเดียว ส่วนไนโตรเจนที่สะสมในชีวมวลของพืชพรรณที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมีเพียงครึ่งหนึ่งของไนโตรเจนที่สะสมได้ในรอบที่ 1 ข้าวที่ปลูกตามหลังถั่วให้ผลผลิตมากกว่าข้าวที่ปลูกหลังการปล่อยที่ว่างเปล่าอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามความแตกต่างระหว่างผลผลิตข้าวที่ได้จากการหมุนเวียนรอบที่ 1 กับรอบที่ 2 ไม่มีนัยสำคัญในทางสถิติ ถึงแม้ว่าในการหมุนเวียนรอบ 2 ชีวมวลของพืชตระกูลถั่วที่ถูกไถกลบมีชีวมวลและการสะสมไนโตรเจน และฟอสฟอรัสมากว่ารอบที่ 1 จากลักษณะในการปรับตัวของพืชตระกูลถั่วต่อสภาพนาดำในพื้นที่สูง และการตอบสนองต่อระดับการให้น้ำ ศักยภาพของพืชตระกูลถั่วในการใช้เป็นแหล่งของไนโตรเจน และฟอสฟอรัสรวมทั้งความคุ้นเคยของเกษตรกรในพื้นที่สูงต่อพืชตระกูลถั่วแต่ละชนิดที่ใช้ทดลอง ถั่วนิ้วนางแดงจึงเป็นพืชตระกูลถั่วที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อการเพิ่มผลผลิตข้าวนาดำบนที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทยen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.