Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69319
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorProf. Dr. Sanchai Jaturasitha-
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Sompong Sruamsiri-
dc.contributor.advisorDr. Chirawath Phatsara-
dc.contributor.advisorDr. Saowaluck Yammau-Art-
dc.contributor.authorThanaporn Bunmeeen_US
dc.date.accessioned2020-08-04T06:14:04Z-
dc.date.available2020-08-04T06:14:04Z-
dc.date.issued2013-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69319-
dc.description.abstractThis study was separated into three experiments. The first experiment was evaluating the effect of finishing strategies with different agro-industrial by-products on growth performance of culled dairy cows. Culled dairy cows (n = 32) were kept individually and allotted to one of four treatments. A control group (C) was slaughtered immediately after culling-off. All others were subjected to a finishing period of 12 weeks. A forage group was fed with ad lib corn silage (F). Additionally there were a high-energy group (6 kg/day of cassava pulp + ad lib corn silage; F+) and a low-energy group (6 kg/day of rough rice bran + ad lib corn silage; F-) both based on by-products. Cows fed with corn silage had the lowest average daily feed intake (10.64 vs.11.21 and 12.11 kg DM/d; P = 0.001) respectively, the highest feed : gain ratio (27.79 vs. 21.65 and 25.67; P = 0.087)), respectively and tended to have the lowest ADG (0.38 vs. 0.51 and 0.51 kg/h/d), respectively. No treatment effect was found on average carcass percentage, carcass length, lean percentage, carcass fat percentage, bone percentage, loin eye area and KPH percentage among groups. The second experiment was evaluating the effect of agro-food industry by product on meat quality of culled dairy cow. The LD sample from Experiment 1 was individually excised 24 h post-mortem and stored at –20 °C prior to analysis. There were no significant effects of finishing treatment on meat color of all groups. Drip, thawing and cooking losses were not statistically different between groups. The meat of C had significantly higher percentage of protein and tended to have more moisture than the other groups. Meat of the group F+ had the highest contents of fat and cholesterol. There was no significant effect by treatment on Warner-Bratzler shear force although shear force tended to be lowest with F+. The meat’s contents of soluble and insoluble collagen were not significantly different among treatment groups. The content of palmitic acid (C16:0) was significantly highest (P=0.015) in F+ group when compared with the other groups. Arachidonic acid content was higher for culled dairy cows forage compared with F+ group (1.71 VS. 0.98 mg/100g of meat) and 1.45 mg/100g of meat in F - group, respectively. The content of docosahexaenoic acid was highest in F group (0.42 mg/100g of meat), 0.21 mg100g of meat in F + group and 0.13 mg/100g of meat in F - group. The third experiment was to evaluate the effects of ageing and calcium chloride injection on beef longissimus dorsi quality traits. LD beef were injected (10% by weight) with 250 mM CaCl2 solution. Non - calcium chloride injected served as ageing treatment. The both of minolta colorimeter L* and a* values for LD were affected (P<0.05) by storage time. L* value abounded but a* value declined (P<0.05) as increasing storage time. Calcium chloride injection were affected (P<0.05) only a* and b* values for LD. Calcium chloride treatment had lower a* value than Non-injected treatment since first day of storage, and declined as storage time increased (P<0.05). Drip loss values were affected by calcium chloride injection from day 3 onwards. Additionally increasing the day of storage time caused increasing drip loss values regardless of ageing beef. Calcium chloride injection did not affect on thawing loss and cooking loss values. The TBA-reactive substance (TBARs), expressed as mg of malonaldehyde per kg of meat. Lipid oxidation (TBARs) was increased significantly (P<0.05) in both of treatment as time increased. The average TBARs values of non-injected group were lower than injected group. Shear force value were statistically analyzed considering both treatment. Shear force value of injected sample decreased on the third day of storage (P<0.05). The myofibrils fragmentation index (MFI) increased (P<0.05) steadily throughout storage time. And also, the MFI values of calcium chloride injection were greater (P<0.05) than ageing treatment. Sensorial characteristics of beef treated with calcium chloride were evaluated on each cook meat after different periods of ageing. Sensory panel score for juiciness and off-flavor intensity increased (P<0.05) comparing ageing with the injection.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleImproving Meat Quality of Culled Dairy Cows with Feed Regime and Post-mortem Handlingen_US
dc.title.alternativeการปรับปรุงคุณภาพเนื้อของโคนมเพศเมียคัดทิ้งด้วยการจัดการอาหารและหลังการฆ่าen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้แบ่งออกเป็น 3 การทดลองย่อย การทดลองที่ 1 คือ การศึกษาผลของการใช้ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเกษตรมาใช้เป็นอาหารขุนต่อสมรรพภาพการเจริญเติบโตของโคนมเพศเมียคัดทิ้ง ในการทดลองนี้ใช้โคนมเพศเมียคัดทิ้งจำนวน 32 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มการทดลอง 4 กลุ่มการทดลอง กลุ่มการทดลองแรกคือกลุ่มควบคุมที่ทำการฆ่าทันทีหลังจากปลดระวาง และ 3 กลุ่มที่เหลือจะได้รับการขุนอาหารเป็นเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มที่ได้รับอาหารหยาบเพียงอย่างเดียว (F) จะได้รับข้าวโพดหมักอย่างเต็มที่ (ad libitum) กลุ่มที่ได้รับอาหารพลังงานสูง (F+) จะได้รับกากมันสำปะหลังจำนวน 6 กิโลกรัม ร่วมกับข้าวโพดหมักอย่างเต็มที่ และกลุ่มที่ได้รับอาหารพลังงานต่ำ (F-) จะได้รับรำหยาบจำนวน 6 กิโลกรัมร่วมกับข้าวโพดหมักอย่างเต็มที่ โคกลุ่มที่ได้รับข้าวโพดหมักเพียงอย่างเดียวมีปริมาณการกินได้เฉลี่ยต่อวันน้อยที่สุด (10.64 กับ 11.21 และ 12.11 กก. วัตถุแห้งต่อวัน; P = 0.001) แต่มีค่าประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารสูงที่สุด (27.79 กับ 21.65 และ 25.67; P = 0.087) และมีแนวโน้มของอัตราการเจริญเติบโตต่อวันน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มการทดลองอื่น ส่วนทางด้านเปอร์เซ็นต์ซาก ความยาวซาก เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง เปอร์เซ็นไขมันในซาก เปอร์เซ็นต์กระดูก พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน และเปอร์เซ็นต์ไขมันหุ้มไต เชิงกราน และหัวใจ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของการใช้ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเกษตรมาใช้เป็นอาหารขุนต่อคุณภาพเนื้อของโคนมเพศเมียคัดทิ้ง โดยใช้กล้ามเนื้อสันนอกจากโคในกลุ่มการทดลองที่ 1 หลังจากการแช่ซากแล้ว 24 ชั่วโมงและเก็บรักษาที่อุณหภูมิ –20 องศาเซลเซียส พบว่า ค่าสีของเนื้อสันนอกของทุกกลุ่มการทดลองนั้น ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนทางด้านค่าการสูญเสียเนื่องจากการเก็บรักษา การทำละลาย และการปรุงอาหารนั้น พบว่าอาหารที่ให้ในการทดลองไม่พบความแตกต่างในทุกกลุ่มการทดลอง เนื้อสันนอกในกลุ่มการทดลองที่ไม่ได้รับการขุนอาหารจะมีค่า ปริมาณโปรตีนมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีแนวโน้มของปริมาณความชื้นมากกว่ากลุ่มการทดลองอื่นๆ ส่วนในกลุ่มการทดลองที่ได้รับอาหารพลังงานสูงนั้น จะมีปริมาณไขมันแทรกและปริมาณคอเรสเตอรอลมากกว่าที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื้อสันนอกทุกกลุ่มการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เนื้อสันนอกในกลุ่มที่ได้รับอาหารพลังงานสูงนั้นจะมีแนวโน้มของค่าแรงตัดผ่านน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื้อสันนอกในทุกกลุ่มการทดลองนั้นไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในส่วนของปริมาณคอลลาเจนที่ละลายและไม่ละลายรวมทั้งปริมาณคอลลาเจนรวมทั้งหมด ปริมาณกรดปาล์มมิติกในเนื้อสันนอกของโคกลุ่มที่ได้รับอาหารพลังงานสูงจะมีค่ามากที่สุด (P=0.015) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มการทดลองอื่น ปริมาณกรดอะราชิกโดนิคของเนื้อสันนอกของกลุ่มที่ได้รับข้าวโพดหมัก มากกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารพลังงานสูง (1.71 กับ 0.98 มก./100 กรัมเนื้อ) และกลุ่มที่ได้รับอาหารพลังงานต่ำ 1.45 มก./100 กรัมเนื้อ ตามลำดับ ปริมาณกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิกของเนื้อสันนอกของโคกลุ่มที่ได้รับข้าวโพดหมัก มีค่ามากที่สุด (0.42 มก./100 กรัมเนื้อ) รองลงมาคือ กลุ่มที่ได้รับอาหารพลังงานสูง (0.21 มก./100 กรัมเนื้อ) และกลุ่มที่ได้รับอาหารพลังงานต่ำ(0.13 มก./100 กรัมเนื้อ) การทดลองที่ 3 ศึกษาผลของการบ่มและการฉีดแคลเซียมคลอไรด์ ต่อคุณภาพเนื้อสันนอกของโคนมเพศเมียคัดทิ้ง โดยทำการฉีดสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ที่มีความเข้มข้น 250 มิลลิโมลาห์ ในปริมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเนื้อสันนอก และทำการเก็บรักษาไว้ 0, 1, 3, 5 และ 7 วัน เปรียบเทียบกับการไม่ฉีด ซึ่งก็คือการบ่มในเวลาต่าง ๆ กันพบว่า ค่าความสว่างของเนื้อสันนอกและค่าความเป็นสีแดงของเนื้อสันนอก มีความแตกต่างไปเมื่อเวลาการเก็บรักษาที่มากขึ้น โดยค่าความสว่างจะมากขึ้นและค่าความเป็นสีแดงจะลดลง ตามระยะเวลาในการเก็บรักษามากขึ้น (P<0.05) การฉีดแคลเซียมคอลไรด์จะมีผลต่อค่าความเป็นสีแดงเท่านั้น (P<0.05) โดยเนื้อสันนอกของกลุ่มที่ได้รับการฉีดแคลเซียมคลอไรด์ มีค่าความเป็นสีแดงน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีด ตั้งแต่วันแรกของการเก็บรักษา (P<0.05) ค่าความสูญเสียเนื่องจากการเก็บรักษาของเนื้อสันนอกของกลุ่มที่ได้รับฉีดแคลเซียมคลอไรด์ แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้ฉีดตั้งแต่วันที่ 3 ของการเก็บรักษา และการค่าการสูญเสียเนื่องจากการเก็บรักษาของทั้งสองกลุ่มการทดลองจะมากขึ้นตามเวลาในการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้น แต่การฉีดแคลเซียมคลอไรด์ไม่มีผลต่อ ค่าการสูญเสียเนื่องจากการทำละลาย และค่าการสูญเสียเนื่องจากการปรุงอาหาร สำหรับค่าความหืน จะแสดงเป็น ค่ามาลอนไดอัลดิไฮด (มก.ต่อ กก.เนื้อ) ค่าความหืนของเนื้อสันนอกจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเวลาในการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มการทดลอง ค่าความหืนของเนื้อสันนอกในกลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีดแคลเซียมคลอไรด์จะต่ำกว่ากลุ่มที่ฉีด ค่าแรงตัดผ่านเนื้อสันนอกของกลุ่มที่ได้รับการฉีดแคลเซียมคลอไรด์ลดลงตั้งแต่วันที่ 3 ของการเก็บรักษา (P<0.05) ค่าดัชนีการแตกหักของเส้นใยกล้ามเนื้อ สันนอกเพิ่มมากขึ้นตลอดระยะเวลาในการเก็บรักษา และกลุ่มที่ได้รับการฉีดแคลเซียมคลอไรด์มีค่ามากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สำหรับค่าการประเมินทางด้านประสาทสัมผัสของเนื้อสันนอกทั้งสองกลุ่มการทดลองที่ระยะเวลาในการเก็บรักษาที่ต่าง ๆ กันพบว่า เนื้อสันนอกของกลุ่มที่ได้รับการฉีดแคลเซียมคลอไรด์มีค่าความชุ่มฉ่ำและค่ากลิ่นที่ไม่พึงประสงค์มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีดแคลเซียมคลอไรด์.en_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.