Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69312
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรศ. ดร. ศันสนีย์ จำจด-
dc.contributor.advisorอ. ดร. ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย-
dc.contributor.authorสิรภัทร บุญปั๋นen_US
dc.date.accessioned2020-08-04T06:13:23Z-
dc.date.available2020-08-04T06:13:23Z-
dc.date.issued2014-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69312-
dc.description.abstractNative species generally have high genetic diversity. These variations play an important role as genetic resources for plant breeding. Local perilla (Perilla frutescens (L.) Britt.), an endemic crop in Upper Northern Thailand, is expected to be genetically diverse. The objective of this study was to examine variation in morphological characteristics, yield potential and seed quality of 3 groups of local perilla varieties from 3 different locations, group 1:15 seed samples from Mae Hong Son); group 2: 12 seed samples from Chiang Mai and Lamphun and group 3: 12 seed samples from Chiang Rai, Nan, Phrae, Lampang and Phayao. The study consisted of two experiments. The first experiment was conducted at Department of Plant Science and Natural Resource, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. This experiment aimed to determine basic morphological characteristics of 39 perilla seed samples from farmers. From each seed sample 100 seed were examined for seed color and 1000 seeds weight were recorded in triplicates. From each seed sample 5 plants were grown in 5 plastic pots (the pot size was 30 cm-diameter, 35 cm-height)containing soil. When plants were 6-8 weeks old, color of the leaf surface, color of the leaf underside and color of stem were recorded. At 15-20 weeks when the plant reached fully vegetative stage before flowering leaf length and width, length of peduncle, shape of leaf and aroma of plant were recorded. Diversity of morphological character within and between populations was evaluated by using Shannon-Weaver index (H’) and descriptive statistics. Variation in seed color was found within and between farmers’ seed samples. Shannon-Weaver index (H’) ranged from 0.0701 to 0.5185. Mean 1000 seed weight of the samples ranged from 0.82 g to 2.03 g, Variation was found between populations in color of the leaf underside, color of stem, shape of leaf and aroma of the plant, while the leaf surface was all green. In the progeny test, quantitative variations between populations in leaf size (length x width) and length of leaf peduncle were found. The second experiment was conducted at Mae Hia Agricultural Research, Demonstrative and Training Center, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. The objective of this experiment was to evaluate 14morphologicaland agronomic characteristics, yield components and 4 characters of seed quality analysis in field grown perilla. The 39 seed samples as in experiment 1 were planted in plots were arranged in Randomized Complete Block Design (RCBD) with 3 replications in July 2011 and grown during rainy season. At flowering stage, color of leaf surface, color of the leaf underside, color of stem, degree of pubescence, color of flower and flowering date were recorded. At maturity and harvest stage, plant height, number of internodes, number of branches, length of the largest inflorescence, number of florets of the largest inflorescence and color of seed were record and yield/rai and 1000 seeds weight were determined. Diversity of morphological characteristic within and between populations was evaluated by using Shannon-Weaver index (H’). Mean, standard deviation (sd) and coefficient of variation (cv) were evaluated for variation of physiological characteristic within and between populations. Experiment analyzed crude fat and unsaturated fatty acid by random collected from seed harvested in field experiment. Crude fat was analyzed by soxhlet method and data analysis by Pathak et al. (1996). Investigation of type and content for unsaturated fatty acid were done by using Gas Chromatography (GC) technique. The 12 populations of most high Linolenic (Omega3) content from experiment 2.2 were selected for analyzed amount of vitamin E by High Performance Liquid Chromatography (HPLC) technique. Content of vitamin E was analyzed and compared by AOCS (Method Ce8-89) (AOCS, 1997). Variation was found within and between populations in seed color of the field grown perilla. Shannon-Weaver index (H’) were in range of 0.2867 – 0.5781. The variation was found between populations in degree of pubescence trait but not found in the other morphological traits. The quantitative variations consist of agronomic characteristic and yield components were found variation between populations all characteristic (i.e. flowering date, plant height, number of internodes, number of branches, length of the largest inflorescence, number of floret of the largest inflorescence, 1000 seeds weight and yield/rai), and crude fat ranged from 8.64% to 49.1%. Unsaturated fatty acid Linolenic acid (Omega3) ranged from 15.7% – 86.1 % of the total fatty acid, Linoleic acid (Omega6) 8.7 – 48.1 %and Oleic (Omega9) 3.3 – 18.7 %.15.7 – 86.1 %, Variation was also found of vitamin E type  - Tocopherol in crude fat among the selected samples. The most interesting population was collected from Ban Hong district, Lamphun province, because of highest vitamin E (612.9 µg/g dw) and Linolenic (Omega3) (86.1 %).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประเมินลักษณะประชากรงาขี้ม้อนพื้นเมืองจาก ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeCharacterization of Local Perilla (Perilla frutescens (L.) Britt.) Populations from Upper North Thailanden_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงาขี้ม้อนพันธุ์พื้นเมือง เป็นพืชประจำถิ่นภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ที่คาดว่าจะมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง และเป็นแหล่งรวมลักษณะที่ดีและมีประโยชน์ โดยเฉพาะคุณภาพทางด้านโภชนาการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินลักษณะประชากร ศักยภาพการให้ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดประชากรงาขี้ม้อนพันธุ์พื้นเมืองจาก 3 พื้นที่ การศึกษาลักษณะเบื้องต้นทำโดยประเมินสีเมล็ดและวัดน้ำหนักเมล็ดงาขี้ม้อนจากเกษตรกร 3 กลุ่มพื้นที่ จำนวน 39 ประชากร และปลูกทดสอบประชากรงาขี้ม้อนในกระถาง บันทึกลักษณะประชากรทางสัณฐานวิทยา และลักษณะทางปริมาณ 7 ลักษณะ ณ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มจากการประเมินลักษณะของเมล็ดที่ได้จากเกษตรกร โดยสุ่มเมล็ดจากเกษตรกรประชากรละ 100 เมล็ด เพื่อประเมินลักษณะสีเมล็ด และชั่งน้ำหนัก 1000 เมล็ดทุกประชากร และประเมินลักษณะประชากรรุ่นลูกในกระถางโดยนำเมล็ดพันธุ์แต่ละประชากรปลูกในกระถาง ประชากรละ 5 กระถาง กระถางละ 5 ต้นที่ระยะต้นกล้า อายุประมาณ 6-8 สัปดาห์บันทึกลักษณะ สีผิวใบสีใต้ใบและสีลำต้นและที่ระยะก่อนออกดอกวัดขนาดใบ (กว้างxยาว) ความยาวก้านใบ ความย่นของผิวใบและกลิ่นใบ นำข้อมูลทั้งหมดที่ได้ไปประเมินความหลากหลายทั้งภายในและระหว่างประชากรด้วย Shannon-Weaver index (H’) และค่าเฉลี่ยทางสถิติ พบว่ามีความแตกต่างของลักษณะสีเมล็ดทั้งภายในและระหว่างประชากร โดยมีค่า Shannon-Weaver index (H’) ตั้งแต่ 0.0701 ถึง 0.5185 และพบว่าน้ำหนัก 1000 เมล็ดมีค่าเฉลี่ยของแต่ละประชากรตั้งแต่ 0.82 กรัม ถึง 2.03 กรัม และในส่วนของการทดลองในกระถางพบความแตกต่างระหว่างประชากรในลักษณะสีใต้ใบ สีลำต้น ความย่นผิวใบ และกลิ่นใบ ยกเว้นลักษณะสีผิวใบที่ไม่มีความแตกต่างทั้งภายในและระหว่างประชากร และพบความแตกต่างระหว่างประชากรในลักษณะทางปริมาณ ได้แก่ ขนาดใบ (กว้าง x ยาว) และความยาวก้านใบ ทำการประเมินลักษณะทางปริมาณ ลักษณะทางสรีระวิทยา และองค์ประกอบผลผลิต รวม 14 ลักษณะ และวิเคราะห์คุณภาพเมล็ด 4 ลักษณะ ของงาขี้ม้อนทั้ง 39 ประชากรโดยการปลูกในแปลงทดลอง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ที่แปลงทดลองสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วงฤดูฝน เดือน กรกฏาคม 2554 ที่ระยะออกดอก บันทึกลักษณะสีผิวใบ สีใต้ใบ สีลำต้น ขนใบ สีดอกและอายุออกดอก ระยะสุกแก่ วัดความสูงต้น นับจำนวนปล้องต่อต้น และจำนวนกิ่งต่อต้นและระยะเก็บเกี่ยว วัดความยาวช่อดอก จำนวนดอกต่อช่อดอก ชั่งน้ำหนักผลผลิต ชั่งน้ำหนัก 1000 เมล็ด และบันทึกสีเมล็ด นำข้อมูลที่ได้ไปประเมินความหลากหลายทั้งภายในและระหว่างประชากรด้วย Shannon-Weaver index (H’) และหาค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (sd) และค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (cv) เพื่อประเมินความหลากหลายทั้งภายในและระหว่างประชากร และระหว่างพื้นที่เก็บตัวอย่าง ด้วยวิธีการทางสถิติ จากนั้นนำเมล็ดที่ได้มาวิเคราะห์ปริมาณไขมันรวม(crude fat) กรดไขมัน และวิตามิน อี โดยสุ่มตัวอย่างเมล็ดงาขี้ม้อนจากเมล็ดที่นวดจากแปลงทดลอง พบความแตกต่างทั้งภายในและระหว่างประชากรในลักษณะสีเมล็ดจากแปลงทดลอง โดยมีค่า Shannon-Weaver index (H’) รวมแต่ละประชากรตั้งแต่ 0.2867 - 0.5781 และพบความแตกต่างระหว่างประชากรในลักษณะปริมาณขนใบ แต่ไม่พบความแตกต่างภายในและระหว่างประชากรในลักษณะสีผิวใบ สีใต้ใบ สีลำต้น และสีดอกส่วนลักษณะทางพืชไร่และองค์ประกอบผลผลิต พบความแตกต่างระหว่างประชากรในทุกลักษณะ ได้แก่ วันออกดอก ความสูง จำนวนข้อต่อต้น จำนวนกิ่งต่อต้น ความยาวช่อดอก จำนวนดอกต่อช่อ น้ำหนัก 1000 เมล็ด และผลผลิตต่อไร่ และพบความแตกต่างระหว่างประชากรของปริมาณไขมันรวม (crude fat) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยแต่ละประชากรตั้งแต่ 8.64 - 49.12% และพบความแตกต่างระหว่างประชากรของปริมาณกรดไขมันชนิด กรดไลโนเลนิก (โอเมก้า 3) มีค่าเฉลี่ยแต่ละประชากรตั้งแต่ 15.7 - 86.1% กรดไลโนเนอิก (โอเมก้า 6) มีค่าเฉลี่ยแต่ละประชากรตั้งแต่ 8.7 - 48.1% และกรดโอเลอิก (โอเมก้า 9) มีค่าเฉลี่ยแต่ละประชากรตั้งแต่ 3.3 - 18.7% เลือกประชากรที่มีปริมาณกรดไลโนเลนิก (โอเมก้า 3) สูงที่สุด 12 ประชากรเพื่อเป็นวิเคราะห์ปริมาณวิตามินอี พบว่ามีปริมาณวิตามินอีชนิด -Tocopherol ในปริมาณที่แตกต่างกันระหว่างตัวอย่างที่ศึกษา โดยมีประชากรที่น่าสนใจ คือประชากรจากอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน (BH 1) ซึ่งมีปริมาณปริมาณวิตามินอีสูงมากที่สุด (612.9 µg/g dw) ทั้งยังเป็นประชากรที่มีปริมาณกรดไลโนเนนิก (โอเมก้า 3) (86.1%) สูงที่สุดเช่นกันen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.