Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69301
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรสิริ สืบพงษ์สังข์-
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.จิรวรรณ กิจชัยเจริญ-
dc.contributor.authorวิชานันท์ อุตรศักดิ์en_US
dc.date.accessioned2020-08-04T00:39:02Z-
dc.date.available2020-08-04T00:39:02Z-
dc.date.issued2015-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69301-
dc.description.abstractThis independent study aimed to study the production’s management of broiler chicken farms towards the broiler contract farming and to study the attitude and the satisfaction of farmers who raise the chickens towards broiler contract farming, in Meuang District, Lamphun Province. The 14 farmers chosen to be the sample group were from Meuang, Lamphun. The farmers then were divided into 4 groups according to the contracted company and the farm’s size. The questionnaire was used as the tool for collecting and analyzing the data. The Descriptive Statistics; frequency and percentage, were used for analyzing. From the study, most of answerers were male, 53 years old in average, graduated from primary school, and their jobs were broiler chickens’ raising. In their family, there are 3-5 family members. They hired 1-2 workers. For the production, the average farm’s area was about 2-5 farms which there was only one henhouse in 900 square meters. And there were about 11,000 - 12,000 chickens per each henhouse. There were 1 - 6 generations of chickens per year. For the farm’s standard, they followed the standard of broiler chicken farm. The duration for raising the chickens was 34 days and the duration for breaking the raising was 40 days. The average weight of chickens was 1.63 kilograms. The rate of chickens’ survival was about 97.41 percentage. The rate of Feed Conversation Ratio (FCR) was 1.72. The efficiency of the production was about 269.38, this was the great level. When considering the attitude with the systems, all farmers extremely agreed on the production systems consisting of the technology, the manufacturing, the outcome, and the environment. In addition, they thought that the farm management, the animal health, and the financial contracts had high risk, except the marketing management which had low risk. For the satisfaction, the third and the forth groups of farmers had more satisfaction about the contract and the suggestion about the agricultural support than the first and the second groups. However, all groups satisfied about the credit service, the convenience, and the products’ buying in the same level. This included the information of the problems in raising the broiler chickens. Everyone asked for help from the contracted company and also the private and the government organizations. For the satisfaction in the contract farming, the farmers at groups 3 and 4 are satisfied than the group 1 and group 2 in the contract and make recommendations to agriculture but the satisfaction of the loan facilities and services for the four groups to produce similar levels of satisfaction Including information about the problems in broilers annual plan. This will give farmers the confidence to plan and manage their ongoing also, there should be an improvement on the performance of the authorities to promote the broiler. To promote the knowledge and understanding to the farmers continued. Especially in farm management and farm guide for respondents farmers are understood and can be implemented on the farm properly.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleทัศนคติและความพึงพอใจของผู้เลี้ยงไก่เนื้อภายใต้ระบบประกันราคาในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeAttitude and Satisfaction of Farmer Under Price Guarantee System In Mueang District, Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการผลิตของฟาร์มไก่เนื้อในระบบประกันราคา และศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อภายใต้ระบบประกันราคา ในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยเลือกกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างที่ศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงจากประชากรทั้งหมด จำนวน 14 ราย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และนำกลุ่มเกษตรกรดังกล่าวแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยตามบริษัทคู่สัญญาและขนาดการเลี้ยงไก่เนื้อ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการศึกษา ด้านข้อมูลทั่วไปพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53 ปี การศึกษา ระดับประถมศึกษา ยึดอาชีพการเลี้ยงไก่เนื้อเป็นอาชีพหลัก สมาชิกในครัวเรือนครอบครัวละ 3 – 5 คน การจ้างแรงงาน 1-2 คน ด้านข้อมูลการผลิต พื้นที่ฟาร์มในการเลี้ยงไก่เนื้อขนาด 2-5 ไร่ ส่วนใหญ่มีโรงเรือนเพียงโรงเดียว พื้นที่ประมาณ 900 ตารางเมตรต่อโรงเรือน มีการเลี้ยงที่ความจุ 11,000–12,000 ตัวต่อโรงเรือน จำนวนรุ่นในการเลี้ยง 1-6 รุ่นต่อปี ด้านการปฏิบัติตามระเบียบมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อเกษตรกรทุกคนปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ระยะเวลาในการเลี้ยงโดยเฉลี่ย 34 วัน ต่อรุ่น ระยะเวลาในการพักเล้า 40 วัน น้ำหนักไก่เนื้อเฉลี่ย 1.63 กิโลกรัมต่อตัว อัตราการเลี้ยงรอดมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.41 อัตราแลกเนื้อเท่ากับ 1.72 ค่าประสิทธิภาพการผลิตเฉลี่ย 269.38 อยู่ในเกณฑ์ดี ด้านทัศนคติต่อระบบต่างๆพบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างผู้เลี้ยงไก่เนื้อระบบประกันราคาทั้ง 4 กลุ่ม มีทัศนคติที่ดีต่อระบบการผลิตในระดับเห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งในด้านระบบการผลิตในด้านเทคโนโลยี ด้านการขายผลผลิต และด้านผลทางรายได้สังคมสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นทัศนคติต่อความเสี่ยงในด้านการจัดการฟาร์ม ด้านการจัดการด้านสุขภาพสัตว์ และด้านการเงินในระบบพันธะสัญญา ทุกกลุ่มให้ความคิดเห็นต่อความเสี่ยงว่าอยู่ในระดับมีความเสี่ยงมาก ยกเว้นด้านการจัดการตลาดซึ่งให้ค่าความเสี่ยงในระดับน้อย ด้านความพึงพอใจในระบบพันธะสัญญา พบว่า เกษตรกรกลุ่มที่ 3 และ 4 มีความพึงพอใจมากกว่า กลุ่มที่ 1 และ 2 ในด้านข้อกำหนดสัญญา และด้านการให้คำแนะนำการส่งเสริมการเกษตร แต่ความพึงพอใจด้านบริการสินเชื่อ ด้านการให้ความสะดวกและบริการรับซื้อผลผลิต ทั้ง 4 กลุ่ม ให้ความพึงพอใจในระดับใกล้เคียงกัน รวมถึงด้านข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการเลี้ยงไก่เนื้อ ทุกกลุ่มมีวิธีการขอความช่วยเหลือคือการประสานงานกับบริษัทคู่สัญญาและจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับปรุงเกี่ยวกับบริษัท คู่สัญญา ให้มีการจัดทำตารางและแผนการลงไก่เนื้อให้แก่เกษตรกร โดยมีการกำหนดแผนรายปี ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีความมั่นใจและสามารถวางแผนการจัดการของตนได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรมีการปรับปรุงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่เนื้อ ให้มีโครงการส่งเสริมให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเรื่องการจัดการฟาร์มและการจัดทำคู่มือฟาร์ม เพี่อให้เกษตรกรมีความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติในฟาร์มได้อย่างถูกต้องen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.