Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69300
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.ดุรยา สุขถมยา-
dc.contributor.authorพัชราพร บุษบรรณ์en_US
dc.date.accessioned2020-08-04T00:38:57Z-
dc.date.available2020-08-04T00:38:57Z-
dc.date.issued2016-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69300-
dc.description.abstractThe objective of this study was to examine the opinions of Provincial Electricity Authority’s Employees, Lamphun Province towards the implementation of Enterprise Resource Planning (ERP) System in Financial Accounting System. The result of this study would help to improve the efficiency of accounting information system process and be prepared for the adoption of new technologies in the future. Questionnaires were sent to 52 people for collecting data and suggestions from Manager, Assistant Manager, Head of Division or Assistant, Accounting Staff and Controller of Provincial Electricity Authority’s personnel, Lamphun Province. The statistical analysis was carried out in order to obtain the values on frequency, percentage, mean and one-way ANOVA. The concept of Technology Acceptance Model (TAM), Accounting Information System (AIS) and also the factor of management support were applied in the study for analyzing the employees’ opinions toward the acceptance of ERP system in Financial Accounting System. Overall, the study showed that the respondents’ opinions toward implementing the ERP system in Financial Accounting System at a high level. The opinion of each aspect of TAM presented in high level as follows; input systems, process systems, output systems, security systems, job relevant and experiences, compatibility, readiness for change and ease of use. On the other hand, there were three factors including; management support, staff training and consulting, resulted in moderate level. The result of the study also found that people from an operating level required the organization supporting the process system as well as provided resources and training more than current situation. But the management level expressed their opinions towards these above factors as sufficient for them. Moreover, the users who used the SAP IS-U everyday pointed that there were insufficient in training. They had lower opinions on training than people using the system twice a week or more at a significant level. According to the respondents’ suggestion, the management should provide more user account, computer set with accessories, up-to-date user’s manual and continuous training. In addition, some people suggested that there would be more technical staff to assist them deal with troubles.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความคิดเห็นของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำพูน ต่อการนำระบบบริหารทรัพยากรองค์กรมาใช้ในระบบบัญชีการเงินen_US
dc.title.alternativeOpinion of Employees of Provincial Electricity Authority, Lamphun Province Towards Implementing Enterprise Resource Planning System in Financial Accounting Systemen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำพูนต่อการนำระบบบริหารทรัพยากรองค์กรมาใช้ในระบบบัญชีการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษามาปรับปรุงและพัฒนาระบบการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและรองรับการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้งานในอนาคต การศึกษาใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความเห็นในประเด็นต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามจากผู้ใช้งานด้านระบบบัญชีการเงินทั้งระดับปฏิบัติการในตำแหน่งพนักงานบัญชีและนักวิชาการ และระดับผู้บริหาร ได้แก่ ผู้ช่วยหัวหน้าแผนก หัวหน้าแผนก ผู้ช่วยผู้จัดการและผู้จัดการ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำพูน จำนวน 52 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเพื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป แนวคิดและทฤษฎีหลักที่ใช้เป็นกรอบของการศึกษาคือ แนวคิดด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชี แนวคิดการยอมรับเทคโนโลยี รวมถึงปัจจัยด้านการสนับสนุนของผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการศึกษาพบว่า พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำพูนมีความเห็นต่อการนำระบบบริหารทรัพยากรองค์กรมาใช้ในระบบบัญชีการเงิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณาความเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามแยกตามปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นกรอบในการศึกษา พบว่ามี 8 ปัจจัย ที่มีความเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ได้แก่ ด้านการนำข้อมูลเข้าระบบ ด้านกระบวนการทำงานของระบบ ด้านผลลัพธ์ของระบบ ด้านความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ ด้านลักษณะการเกี่ยวข้องของงานและประสบการณ์ ด้านความสอดคล้องและเข้ากันได้ของระบบ ด้านความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และด้านความง่ายในการใช้งาน ส่วนการสนับสนุนของผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการฝึกอบรม และด้านศูนย์ช่วยเหลือ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลางเท่านั้น จากการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่าผู้ปฏิบัติงานในระดับปฏิบัติการต้องการให้องค์กรสนับสนุนด้านกระบวนการทำงานของระบบ รวมถึงการสนับสนุนในการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และการฝึกอบรมใช้ระบบงาน เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ได้รับในปัจจุบัน ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในระดับผู้บริหารขึ้นไปกลับมีมุมมองว่าได้ให้การสนับสนุนในปัจจัยดังกล่าวมากเพียงพอแล้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ระบบ SAP IS-U เป็นประจำทุกวัน เห็นว่าการจัดฝึกอบรมการใช้งานยังไม่เพียงพอ โดยมีระดับความเห็นอยู่ในระดับต่ำกว่าความเห็นของผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ระบบเพียงสองครั้งต่อสัปดาห์หรือนานกว่านั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ตอบแบบสอบถามมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ คือ ต้องการให้ผู้บริหารพิจารณาจัดสรรรหัสเข้าใช้งานระบบเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับปริมาณงานทั้งหมดในระบบและภาระงาน สนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ จัดให้มีการฝึกอบรมการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ปรับปรุงคู่มือประกอบการปฏิบัติงานให้ทันสมัย นอกจากนี้ เห็นควรให้เพิ่มทีมงานช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการใช้งานระบบให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วขึ้นen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.