Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69293
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. ปิติมา ดิศกุลเนติวิทย์-
dc.contributor.authorเพิ่มยศ ตันสกุลen_US
dc.date.accessioned2020-08-04T00:38:23Z-
dc.date.available2020-08-04T00:38:23Z-
dc.date.issued2016-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69293-
dc.description.abstractThis study aimed to investigate the relationships between the corporate governance and stock values of listed companies in the Stock Exchange of Thailand. The data was collected from year 2014 annual reports, annual registration statements (Form 56-1), and financial statements from 282 companies. In addition, this independent study used the multiple regression analyzed by Ordinary Least Squares (OLS). The independent variables used for the hypothesis of the corporate governance included the top 5 shareholders, the institutional block shareholders, the board size, the proportion of the independent directors, and the role duality of a managing director and a president. Moreover, the dependent variable was the stock value (price to earnings ratio: P/E Ratio), and the controlled variables were return on equity (ROE) and the size of the company. The results showed that board size and the proportion of the independent directors had an inverse correlations with the stock values of listed companies in the Stock Exchange of Thailand. It is possible that the bigger size of board size resulted in the decrease of the stock values because it took more time to make decisions, which could cause damage to a company especially with urgent issues. Also the bigger size of the committee increased the cost of a company in terms of the board’s compensation. Furthermore, it is possible that the higher proportion of the independent directors resulted in the decrease of the stock values because the independent directors had different expertise and experience and the appropriate proportion of the independent directors of each company also depended on different factors such as the type and size of the company. Finally, it was found that ROE, which was the controlled variable, had significant opposite direction with the stock values. In other words, a company which had higher ROE could decrease its stock values.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับมูลค่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeRelationship Between Corporate Governance and Stock Value of Listed Companies in The Stock Exchange of Thailanden_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับมูลค่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) งบการเงินประจำปี สำหรับปี พ.ศ. 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 282 บริษัท มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares : OLS) ซึ่งตัวแปรอิสระที่ผู้ศึกษาใช้แทนสมมติฐานของการกำกับดูแลกิจการ คือ สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรก การถือหุ้นของนักลงทุนสถาบัน ขนาดของคณะกรรมการบริษัท สัดส่วนของกรรมการอิสระ การควบรวมตำแหน่งประธานกรรมการกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ในคนเดียวกัน ตัวแปรตาม คือ มูลค่าหุ้น (อัตราส่วนราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (Price to Earnings Ratio : P/E Ratio)) โดยมีตัวแปรควบคุมที่เกี่ยวข้อง คือ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) และขนาดของบริษัท ผลการศึกษาพบว่า ขนาดของคณะกรรมการบริษัท และสัดส่วนของกรรมการอิสระมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับมูลค่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถอธิบายได้ว่าการที่บริษัทมีขนาดของคณะกรรมการบริษัทที่ใหญ่ขึ้นจะส่งผลให้มูลค่าหุ้นต่ำลง อาจเนื่องมาจาก คณะกรรมการที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้เวลามากในการตัดสินใจ หากเป็นเรื่องเร่งด่วนจะส่งผลเสียหายต่อบริษัทได้ และคณะกรรมการที่มีขนาดใหญ่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายของบริษัทในด้านค่าตอบแทนของคณะกรรมการ และการที่บริษัทมีสัดส่วนของคณะกรรมการอิสระที่สูงขึ้นจะส่งผลให้มูลค่าหุ้นต่ำลง อาจเนื่องมาจาก คณะกรรมการอิสระแต่ละคนมีความรู้และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และสัดส่วนของคณะกรรมการอิสระของแต่ละบริษัทมีความเหมาะสมแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของธุรกิจ หรือขนาดของกิจการ นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นตัวแปรควบคุมที่เกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับมูลค่าหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ สามารถอธิบายได้ว่าการที่บริษัทมีอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่สูงขึ้นจะส่งผลให้มูลค่าหุ้นต่ำลงen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.