Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69278
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉวี เบาทรวง-
dc.contributor.advisorนันทพร แสนศิริพันธ์-
dc.contributor.authorกัญญาณัฐ สิทธิภาen_US
dc.date.accessioned2020-08-03T08:52:01Z-
dc.date.available2020-08-03T08:52:01Z-
dc.date.issued2015-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69278-
dc.description.abstractMaternal functional status during postpartum is an important health outcome for first-time mothers. The purpose of this descriptive correlational research study was to explore anxiety, social support, and postpartum functional status among first-time mothers. The subjects were 102 first-time postpartum mothers during a 6-8 weeks period who received service at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital or Chiang Mai Health Promotion Hospital, from July to September 2014. The research instruments used were the State Anxiety Inventory Form Y by Spielberger (1983), translated into Thai by Nontasak, Aemsupasit and Thapinta (1995), the Mother Social Support Questionnaire developed by Sitthiboonma, Kantaruksa, and Supavititpatana (2014) and based on the social support concept by House (1981), and the Maternal Functional Status Questionnaire developed by Baosoung, Sansiriphun and Tiansawad (2014). Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson's product moment correlation. Results of the study revealed that: 1. Most of first-time mothers (75.50%) had low state anxiety and the mean score of state anxiety was 36.89 (S.D. = 7.08). 2. Most of first-time mothers (91.20%) identified that the husband was the most supported person. A majority of first-time mothers (89.20%) had a high level of social support and the mean score of social support was 4.22 (S.D. = .57). 3. Most of first-time mothers (94.10%) had a high level of maternal functional status and the mean score of the maternal functional status was 3.31 (S.D. = .22). 4. Anxiety had a significant low negative correlation with maternal functional status among first-time mothers (r = -.23, p < .05). 5. Social support had a significant moderate positive correlation with maternal functional status among first-time mothers (r= .56, p < .01). The findings from this study can be used as baseline data for planning nursing interventions to promote postpartum functional status among first-time mothers.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความวิตกกังวลen_US
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมen_US
dc.subjectมารดาen_US
dc.titleความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในระยะหลังคลอดของผู้ที่เป็นมารดาครั้งแรกen_US
dc.title.alternativeAnxiety, social support and postpartum functional status among first-time mothersen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.meshAnxiety-
thailis.controlvocab.meshPostpartum-
thailis.controlvocab.meshMothers-
thailis.controlvocab.meshSocial support-
thailis.manuscript.callnumberW 4 ก213ค 2558-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาในระยะหลังคลอด เป็นผลลัพธ์ทางสุขภาพ ที่สำคัญสำหรับผู้เป็นมารดาครั้งแรก การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในระยะหลังคลอดของผู้เป็นมารดาครั้งแรก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เป็นมารดาครั้งแรกที่อยู่ในระยะ 6-8 สัปดาห์หลังคลอด จำนวน 102 ราย ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ของสปิลเบอร์เกอร์ (1983) แปลเป็นภาษาไทยโดย ธาตรี นนทศักดิ์ สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และดาราวรรณ ต๊ะปินตา (2534) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของมารดาหลังคลอดของ นลินี สิทธิบุญมา กรรณิการ์ กันธะรักษา และบังอร ศุภวิทิตพัฒนา (2557) ที่สร้างจากแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮาส์ (House, 1981) และแบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดา ที่พัฒนาโดย ฉวี เบาทรวง นันทพร แสนศิริพันธ์ และสุจิตรา เทียนสวัสดิ์ (2557) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. มารดาหลังคลอดครั้งแรกส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75.50) มีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ อยู่ในระดับต่ำ และมีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ 36.89 (S.D. = 7.08) 2. มารดาหลังคลอดครั้งแรกส่วนใหญ่ (ร้อยละ 91.20) ระบุว่า สามี คือผู้ที่ให้การสนับสนุนมากที่สุด มารดาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 89.20) ได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยคะแนนการสนับสนุนทางสังคมโดยรวม 4.22 (S.D. = .57) 3. มารดาหลังคลอดครั้งแรกส่วนใหญ่ (ร้อยละ 94.10) มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดา 3.31 (S.D. = .22) 4. ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ กับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในระยะหลังคลอดของผู้เป็นมารดาครั้งแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.23, p < .05) 5. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง กับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในระยะหลังคลอดของผู้เป็นมารดาครั้งแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .56, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในระยะหลังคลอดของผู้เป็นมารดาครั้งแรกen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.