Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69233
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.จันทนา สุทธิจารี-
dc.contributor.authorวิไลพร พุทธิศรีen_US
dc.date.accessioned2020-08-01T07:27:17Z-
dc.date.available2020-08-01T07:27:17Z-
dc.date.issued2015-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69233-
dc.description.abstractThis study aimed to study the political and social roles of a woman local leader in Chiang Mai Province, a case study of Miss WilaiBhuranupakorn, to investigate Miss Bhuranupakorn’sproblems in performing her roles as a local leader, and to propose solutions to the problems and develop the political and social roles of a local female leader. This qualitative research employed related theories in developing research instruments and analysis including political leaders, local leaders, and women and development theories. The participant for this case study was Miss Bhuranupakorn who has been a government and political official in Chiang Mai Municipal, a Chiang Mai Woman’s Role Development Fund Chair committee, and a local leader in Chiang Mai Municipal. In addition, the research instruments were an interview and a participant observation. The data was analyzed by descriptive data analysis. The data revealed that MissWilaiBhuranupakorn, a local leader, had relatives in local politics in Chiang Mai which was a factor supporting and providing her with opportunities in politics. In addition, since she was educated in a girl school, Miss Bhuranupakorn was very polite, not aggressive, composed, and compromising. For a higher education, she studied business administration which helped her to be self-confident, decisive, responsible, and honest. She could also integrate her knowledge to work with various political and social organizations and compromise the conflicts within the organizations. Furthermore, she has been a leader who could persuade the locals to participate in community development, especially, as a Chiang Mai Woman’s Role Development Fund Chair committee. However it was found that the weakness, in terms of Miss Bhuranupakorn’s roles as female political and social leader, was her limited political leader experience. In addition, the Chiang Mai Woman’s Role Development Fund was recently established with Miss Bhuranupakorn as the first Chair. Consequently, work related guidelines and directions of the Fund were not clear. Miss Bhuranupakorn could also sometime be slow in making decision which might be a result from being a scrupulouswoman. In terms of communication skills, she was quite reserved, thus, she has not expressed her political views in public much. For solutions to the problems and the development of political and social roles of a local female leader, it could be suggested that Miss Bhuranupakorn should have more direct experience in meeting local people in the local areas to create strong relationships with and trust from the communities which could result in better participation from the locals. She should also acquire additional political and social knowledge in order to increase her work efficiency and improve her limited experience. In addition, she should practice her political communication skills and apply new business ideas in her work in the communities. Furthermore, the government should support female roles in the communities, create a new generation of female leaders, increase opportunities and channels for women to participate in local politics, and encourage the communities to accept woman leaders.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleบทบาทผู้นำสตรีท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ กรณีศึกษา นางสาววิไล บูรณุปกรณ์en_US
dc.title.alternativeRoles of Woman Local Leader in Chiang Mai Province : A Case Study of Miss Wilai Bhuranupakornen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้นำสตรีท้องถิ่นทางด้านการเมืองและสังคมในจังหวัดเชียงใหม่ กรณีศึกษา นางสาววิไล บูรณุปกรณ์ ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในการแสดงบทบาทความเป็นผู้นำท้องถิ่นทางด้านสังคมและการเมืองของนางสาววิไล บูรณุปกรณ์ และเพื่อศึกษาเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาบทบาทผู้นำสตรีด้านสังคมและการเมืองในระดับท้องถิ่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีแนวคิดทฤษฎีผู้นำการเมือง ผู้นำท้องถิ่น ทฤษฎีสตรีกับการพัฒนา เป็นกรอบในการวิเคราะห์และสร้างเครื่องมือการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย นางสาววิไล บูรณุปกรณ์ ข้าราชการประจำและข้าราชการการเมืองในเทศบาลนครเชียงใหม่ คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเชียงใหม่ และผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสัมภาษณ์ และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรรณนา ผลการศึกษามีดังนี้ นางสาววิไล บูรณุปกรณ์ เป็นผู้นำสตรีท้องถิ่น ที่มีญาติพี่น้องในครอบครัวอยู่ในวงการทางการเมืองและสังคมท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสนับสนุนให้นางสาววิไล บูรณุปกรณ์ มีโอกาสทางด้านการเมืองและสังคม การได้รับการศึกษาในโรงเรียนสตรี ทำให้นางสาววิไลได้รับการกล่อมเกลาให้เป็นคนสุภาพเรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว ใจเย็น ประนีประนอม ในขณะเดียวกันการได้รับการศึกษาขั้นสูงทางด้านบริหารธุรกิจทำให้นางสาววิไล มีความรู้ความสามารถ มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าตัดสินใจ กล้ารับผิดชอบ ทำงานเป็นขั้นตอน มีความ ซื่อสัตย์สุจริต สามารถบูรณาการความหลากหลายในองค์กรที่รับผิดชอบทั้งในทางการเมืองและสังคม และสามารถประนีประนอมแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรได้ดี เป็นผู้นำที่สามารถจูงใจให้ชาวบ้านคล้อยตามและให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนปัญหาและจุดอ่อนในการแสดงบทบาทผู้นำสตรีทั้งด้านการเมืองและสังคม คือ นางสาววิไล บูรณุปกรณ์ ยังมีประสบการณ์ในฐานะผู้นำทางการเมืองน้อย ในส่วนของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีก็เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ โดยนางสาววิไล เป็นประธานกองทุนคนแรกของจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการปฏิบัติงานและทิศทางของส่วนกลางยังไม่ชัดเจน อีกทั้งในบางครั้ง นางสาววิไลมีลักษณะการตัดสินใจที่ค่อนข้างช้า ซึ่งอาจเป็นลักษณะธรรมชาติของสตรีที่มีความละเอียดรอบคอบ ด้านการสื่อสารทางการเมือง นางสาววิไล บูรณุปกรณ์ เป็นคนพูดน้อย จึงยังไม่มีการแสดงออกทางการเมืองในระดับสาธารณะมากนัก ข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อพัฒนาบทบาทความเป็นผู้นำสตรีท้องถิ่นทั้งด้านสังคมและการเมือง คือ นางสาววิไล บูรณุปกรณ์ ควรเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงโดยการลงพื้นที่ พบปะชาวบ้านให้ทั่วถึงมากขึ้นเพื่อสร้างเครือข่าย และความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน สร้างความไว้วางใจ ทำให้ได้รับความร่วมมือมากขึ้น นอกจากนั้นควรศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมในการทำงานการเมืองและสังคม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและแก้ไขจุดอ่อนเรื่องประสบการณ์ที่ยังมีไม่มากพอ ควรฝึกฝนเพิ่มเติมในเรื่องทักษะการสื่อสารทางการเมือง และนำแนวคิดใหม่ ๆ ทางธุรกิจมาปรับใช้ในการทำงานท้องถิ่นให้มากขึ้น ในส่วนของภาครัฐ ควรส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่น สร้างผู้นำสตรีรุ่นใหม่ เพิ่มโอกาสและช่องทางของการมีบทบาทของสตรีในระดับท้องถิ่นทั้งด้านการเมืองและสังคม รวมทั้งกระตุ้นให้สังคมยอมรับและให้โอกาสen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.