Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69228
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผศ.ดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล | - |
dc.contributor.advisor | อ.ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร | - |
dc.contributor.advisor | ผศ.ดร.เทพินทร์ พัชรานุรักษ์ | - |
dc.contributor.author | ยงยุทธ เรือนทา | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-31T00:51:32Z | - |
dc.date.available | 2020-07-31T00:51:32Z | - |
dc.date.issued | 2014-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69228 | - |
dc.description.abstract | The objective of this qualitative study is to understand development and movement of The Thai Network of People Living with HIV/AIDS (TNP+). Data conducted from observation and interview with TNP+’s member; chairman, regional coordinator, provincial chairman, staffs, people living with HIV (PLWH) leaders and PLWH Volunteers in the Northern and North Eastern Networks during April 2013 – May 2014. The study found that PLWH start to find and join a group since 1991 after the first emerging of AIDS in Thailand in 1984. They first met each other at a healer’s place as a “friend” who shares the same faith and trying the way to survival. Joining together as a group was supported by NGOs. It’s lets them have their own spaces for heal, comfort, exchange information and empower to walk on. Later while the network has been strengthening, the PLWH members are physically rehabilitated and they are empowered. Subsequently, they switch their roles from service receiver to service co-provider. The service is that taking care PLWH in order to access to the anti-retro virus (ARV) medicine and the standard healthcare. Beside they have cooperated with PLWH in campaigning on health security. At the end it leaded to legislation of the national health security act and distribution of ARV medicine. After PLWH can access to the ARV medicine and healing, the PLWH network employed their capital on three activities. The first is movement against stigmatize upon PLWH. The second is protecting the PLWH right. And the third is developing the health security system. Their strategy are building local working groups from organizations which are related to the problem and engaging in working with local committees. The learning process of right, equality and participation stimulates PLWH to create new identities which turn a serious decease patient to an empowered citizen. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | พัฒนาการและการเคลื่อนไหวขององค์กรเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Development and Movement of The Thai Network of People Living with HIV/AIDS | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและการเคลื่อนไหวขององค์กรเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ตั้งแต่การกำเนิดขึ้นจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึกคนในองค์กรระดับต่างๆ ได้แก่ ประธานเครือข่ายฯ ชาติ ผู้ประสานงานระดับภาค ประธานเครือข่ายจังหวัด เจ้าหน้าที่กิจกรรม แกนนำผู้ติดเชื้อ และอาสาสมัคร ใน 2 พื้นที่ คือเครือข่ายภาคเหนือและเครือข่ายภาคอีสาน ระหว่างเดือนเมษายน 2556 ถึงเดือนพฤษภาคม 2557 ผลการศึกษาพบว่าผู้ติดเชื้อในยุคแรกเริ่มรวมตัวกันราวปี 2534 หลังจากเอดส์เริ่มปรากฎในประเทศไทยเมื่อปี 2527 ผู้ติดเชื้อหลายคนพบกันที่สถานที่ไปรักษาตัว รู้จักกันในฐานะ “เพื่อน” ผู้ประสบชะตากรรมเดียวกัน และดิ้นรนหาหนทางรอดให้กับชีวิต การรวมกลุ่มกันของผู้ติดเชื้อได้รับการสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชน ทำให้พวกเขามีพื้นที่สำหรับการเยียวยา ปลอบประโลม แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และมีพลังในการก้าวเดินไปข้างหน้า ในระยะต่อมาเมื่อเครือข่ายเริ่มรวมตัวกันเข้มแข็ง และเมื่อสุขภาพทางกายเริ่มฟื้นฟูบวกกับการได้รับการพัฒนาศักยภาพ ทำให้พวกเขาเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับบริการไปเป็นผู้ร่วมให้บริการ ดูแลผู้ติดเชื้อให้เข้าถึงยาต้านไวรัสและการรักษาที่ได้มาตรฐาน และร่วมกันต่อสู้เพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันด้านสุขภาพ จนนำไปสู่การออกพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และบริการยาต้านไวรัสในที่สุด หลังจากผู้ติดเชื้อเข้าถึงบริการยาต้านไวรัสและการรักษาแล้ว เครือข่ายผู้ป่วยยังอาศัยทุนที่สั่งสมมาในการเคลื่อนไหวเพื่อลดการตีตราผู้ติดเชื้อ การปกป้องคุ้มครองสิทธิ และการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ โดยอาศัยยุทธศาสตร์การสร้างคณะทำงานระดับท้องถิ่นที่มาจากองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหา หรือการเข้าไปมีร่วมทำงานกับคณะกรรมการระดับท้องถิ่นที่มีอยู่ กระบวนการเรียนรู้เรื่องสิทธิ ความเสมอภาค และการมีส่วนร่วม ทำให้ผู้ติดเชื้อเรียนรู้ที่จะสร้างตัวตนใหม่ ที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้ป่วยโรคร้าย แต่กลายเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 5.64 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.