Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69207
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr.Ruth Sirisunyaluck-
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr.Wallratat Intaruccomporn-
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Rampaipan Apichatpongchai-
dc.contributor.authorPorramin Narataen_US
dc.date.accessioned2020-07-31T00:49:40Z-
dc.date.available2020-07-31T00:49:40Z-
dc.date.issued2014-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69207-
dc.description.abstractThe study of water management for agriculture of Mae Taeng Irrigation Water User Association, Chiang Mai Province aims to 1) study the condition of water management for agriculture of Mae Taeng Irrigation Water User Association 2) evaluate the efficiency of water management for agriculture of Mae Taeng Irrigation Water User Association 3) find appropriate approaches for water management for agriculture of Mae Taeng Irrigation Water User Association and 4) evaluate the success of participatory water management for agriculture of of Mae Taeng Irrigation Water User Association. This study employed mix-method research that data for analysis were collected by questionnaires and group interview. From the general water management information of 24 committee members, it was found that most committee members were male with 57.17 years old of average age. They had primary school education level. The water management was performed by assigning areas and water allocation hours based on water supplies. The schedule was set up and informed to members. The survey of members’ requirements has been done. The member agrees upon the water allocation schedule before allocating water. The water allocation plan calendar was prepared before cropping season. There were meetings for water allocation agreement and the rice field inspector informs the member to control water allocation. From the general water management information of 312 members, most members were male with 55.73 years old of average age. They were agriculturalists and receive water based on the allocation schedule. The criteria of water allocation was that the members living at the end of canal receive water first. The allocation management was performed by letting water flowing into the plant plots or rice field as required by the members. After that, the water flowing was blocked and flown to other areas. When the water allocation canal was damaged, the members inform the rice field inspector to coordinated with the association committee to fixed problems. The ditch was clear to received water allocated in every season. The rice field inspector informs information of water management. For the evaluation of the efficiency of agricultural water management of the association based on 4M’s, it was found that for money, the association income was from water bill collections obtained from the members and supported from government units. Money was spent for activities and the remaining would be saving. For men, the association had committee members to operate in all positions. The committee had capability to work very well. They had knowledge and understanding about water management at a high level. The members also had knowledge and understanding about water management at a high level. And, the members participated in water management in many aspects that overall they participated at a high level. For material, the association had office equipment being ready for used. car and personal phone were used for communication during water allocation. For management based on POSDCoRB, the association had clear and good administration format and system. For the appropriate approach for agricultural water management of Mae Taeng Irrigation Water User Association, the water management operation of the association in each process begins with targeting water allocation areas, informing the association committee about crops being grown, having a meeting for water allocation agreement, setting water allocation and maintenance plans, allocating water as planned, having a meeting for amending the plan, measuring water allocation volume during water allocation hours, and analyzing water management pattern of the association to search for appropriate approaches of the efficient water management. For success evaluation of agricultural water management of Mae Taeng Irrigation Water User Association, it was found that the members fully received water as scheduled. However, some time the members received water in delay. The association could allocated water to its members from 2554 B.E.to 2555 B.E. during rainy season at the amount of 123,038 million cubic meters and during dry season at the amount of 45,314 million cubic meters. From the studied of members’ comments on the performance of the Mae Taeng Irrigation Water User Association committee, it was found that the members agree that the association committee had good performance for water management. From the agricultural water management of Mae Taeng Irrigation Water User Association, it was found that the members had clear processes of water management format. They segregate duties allowing most members to received sufficient water. When there were problems that the members did not received sufficient water some time, the committee would handle the problems by allocating water appropriately to each area and aligning with the water allocation schedule. However, the members had to strictly follow regulations and water usage agreement of the association to reduce the problems. Thus, the water management performed by the association was efficient.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleWater Management for Agriculture of Mae Taeng Irrigation Water User Association, Chiang Mai Provinceen_US
dc.title.alternativeการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาคมผู้ใช้น้ำชลประทานแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ของสมาคมผู้ใช้น้ำชลประทานแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาคมผู้ใช้น้ำชลประทานแม่แตง 2) ประเมินศักยภาพการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาคมผู้ใช้น้ำชลประทานแม่แตง 3) เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาคมผู้ใช้น้ำชลประทานแม่แตง 4) ประเมินผลความสำเร็จในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรอย่างมีส่วนร่วมของสมาคมผู้ใช้น้ำชลประทานแม่แตง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Mix – method เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และ การสัมภาษณ์ตัวอย่าง การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจัดการน้ำของคณะกรรมการสมาคม จำนวน 24 คนพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 57.17 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีการจัดการน้ำได้แก่กำหนดพื้นที่ และระยะเวลาส่งน้ำพิจารณาจากน้ำต้นทุน โดยจัดทำเป็นตารางรอบเวร และแจ้งให้สมาชิกทราบ โดยมีการสำรวจข้อมูลความต้องการใช้น้ำของสมาชิก และให้สมาชิกร่วมลงมติเห็นชอบในการกำหนดรอบเวรก่อนมีการจัดสรรน้ำ มีการกำหนดปฏิทินแผนการส่งน้ำก่อนถึงฤดูกาลเพาะปลูก มีการดำเนินการประชุมเพื่อทำความตกลงการส่งน้ำ แล้วให้นายตรวจนาแจ้งให้สมาชิกทราบเพื่อควบคุมการส่งน้ำ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจัดการน้ำจากกลุ่มตัวอย่างสมาชิก จำนวน 312 คน พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 55.73 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สมาชิกได้รับน้ำใช้ตามรอบเวร มีเกณฑ์ในการจัดสรรน้ำในพื้นที่โดยให้สมาชิกที่อยู่ปลายเหมืองได้รับน้ำก่อนโดยมีการจัดการน้ำที่ได้รับการจัดสรรด้วยการปล่อยให้ไหลเข้าสู่แปลงเพาะปลูก หรือไร่นาตามปริมาณที่ต้องการแล้วปิดกั้นน้ำให้ไหลยังพื้นที่อื่นต่อไป เมื่อคลองส่งน้ำเกิดการชำรุดเสียหายสมาชิกมีการแจ้งนายตรวจนาเป็นผู้ประสานงานกับคณะกรรมการสมาคมให้ดำเนินการแก้ไข มีการขุดลอกคูส่งน้ำเพื่อรองรับน้ำที่จัดสรรมาทุกฤดูกาลโดยนายตรวจนา จะเป็นผู้แจ้งข่าวสารการจัดการน้ำ การประเมินศักยภาพการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาคมตามแนวคิด 4 M’s พบว่า การบริหารงานภายในสมาคมด้านงบประมาณ (Money) สมาคมมีรายได้จากการเก็บค่าน้ำจากสมาชิกและได้รับการสนับสนุนจากหน่อยงานของรัฐ มีการใช้เงินในการจัดกิจกรรมของสมาคมและมีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ด้านการจัดการกำลังคน(Man) สมาคมมีคณะกรรมการในการปฏิบัติงานครบทุกตำแหน่งและมีความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้ดี มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการน้ำในระดับมาก ในส่วนของสมาชิกมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการน้ำในระดับมากเช่นกัน และสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำด้านต่างๆในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการจัดการวัสดุอุปกรณ์ (Material) สมาคมมีอุปกรณ์สำนักงานที่พร้อมใช้งาน และใช้รถยนต์ โทรศัพท์ส่วนตัวในการติดต่อสื่อสารระหว่างที่มีการจัดสรรน้ำ ในด้านการบริหารงาน (Management) ตามแนวคิด POSDCoRB สมาคมมีรูปแบบการบริหารงานที่ชัดเจนและมีระบบการบริหารงานที่ดี การศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาคมผู้ใช้น้ำชลประทานแม่แตง จากการดำเนินการจัดการน้ำของสมาคมสามารถกำหนดขั้นตอนที่เป็นรูปแบบการจัดการน้ำโดยเริ่มจากการกำหนดพื้นที่ส่งน้ำเป้าหมาย ดำเนินงานโดยหัวหน้างานส่งน้ำ จากนั้นให้นายตรวจนาหรือหัวหน้าคูดำเนินการสำรวจ และแจ้งความต้องการปลูกพืชแก่คณะกรรมการสมาคม เพื่อประชุมทำความตกลงการส่งน้ำ กำหนดแผนการส่งน้ำและแผนการบำรุงรักษา ส่งน้ำตามแผน และมีการประชุมปรับแผน วัดปริมาณน้ำที่จัดสรรในช่วงระยะเวลาที่มีการส่งน้ำ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์รูปแบบการจัดการน้ำของสมาคม เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพต่อไป การประเมินผลความสำเร็จในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาคมผู้ใช้น้ำชลประทานแม่แตงนั้นพบว่า สมาชิกได้รับน้ำตามรอบเวรเป็นอย่างดี ได้รับการจัดสรรน้ำเข้าสู่พื้นที่อย่างเต็มที่ แต่มีบางครั้งที่ได้ได้รับน้ำตามรอบเวรช้ากว่ากำหนด ซึ่งสมาคม สามารถส่งน้ำให้สมาชิกในช่วงปี 2554 ถึง 2555 ในฤดูฝนได้จำนวน 123,038 ล้านลูกบาศก์เมตร และในช่วงฤดูแล้ง 45,314 ล้านลูกบาศก์เมตร ผลการศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกในการดำเนินงานของคณะกรรมการสมาคมผู้ใช้น้ำชลประทานแม่แตงพบว่า สมาชิกเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าคณะกรรมการของสมาคมมีการปฏิบัติงานการจัดการน้ำของสมาคมได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาคมผู้ใช้น้ำนั้นพบว่า สมาคมมีกระบวนการการจัดการน้ำเป็นรูปแบบที่ชัดเจน มีการแบ่งหน้าที่ดูแลในแต่ละส่วน ทำให้สมาชิกส่วนใหญ่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ แต่มีปัญหาที่สมาชิกได้รับน้ำไม่เพียงพอในบางครั้ง ซึ่งคณะกรรมการควรเข้ามาดูแล โดยจัดการน้ำในแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับแผนการจัดรอบเวรที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามสมาชิกก็จะต้องปฏิบัติตามกฎ กติกา การใช้น้ำของสมาคมอย่างเคร่งครัด เพื่อลดปัญหาดังกล่าว จึงจะทำให้สมาคมดำเนินการจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf7.32 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.