Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69203
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAssistant Professor Dr. Chusak Wittayapak-
dc.contributor.advisorProfessor Dr. Yos Santasombat-
dc.contributor.advisorAssociate Professor Dr. Robin Roth-
dc.contributor.authorSakakrin Na Nanen_US
dc.date.accessioned2020-07-31T00:48:22Z-
dc.date.available2020-07-31T00:48:22Z-
dc.date.issued2015-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69203-
dc.description.abstractThe emergence of neoliberalism influencing farmers’ livelihood and the governance of plant genetic resources, like seeds, cannot be simply understood, especially in the recent shifting seed regime of Thailand. In order to understand how the small scale farmers in Northern Thailand are integrated into contract farming for hybrid seed production under global seed companies and into conservation of agrobiodiversity under socio-environmental movements, this study turns to see the connection between neoliberalism, environmental change and environmental politics through investigating the neoliberal policies vis-à-vis agrobiodiversity in relation to the small-scale farmers’ livelihood struggles. Seeing neoliberalism as a process in relation to socio-natural changes can help us in investigating two important phenomena, as the contradictory neoliberal environmental governance, simultaneously shaping the seed manipulation of local farmers: integration of farmers into a contractual labor under the globalization of the seed market and the rise of socio-environmental movements. The field site of this study was conducted mainly in Nan Province. This study applied the multi-sited and actor-oriented approaches with a political ecology framework. It relied on several sources of both quantitative and qualitative information, such as field observation, questionnaires, interviews, texts, and online databases. The intensive fieldwork was conducted during 2011-2013. For collecting baseline data, a village survey was conducted and 56 households were randomly selected. Then, Microsoft Excel was used to compile the data sets for the descriptive statistics and simple cross-tabs. Some farmers were also interviewed to better understand about their response to market integration and socio-environmental movements. These data are useful, as the empirical evidence, in understanding the limits of neoliberal development and the politico-ecological possibilities as well as constraints for small-scale farmers to engage with heterogeneous actors. The study mainly found that, while neoliberalism affected the seed-related agrobiodiversity governance and farmers’ livelihood landscape during the global seed market integration, there were articulations of inter-and intra-state policies, as well as ideologies, that contributed to the complexity of commodification and conservation of agrobiodiversity in Nan Province among heterogeneous actors. By this, it is irreducible to see neoliberalization of agrobiodiversity as a monolithic, complete programme and being formed only from above. To explain more, firstly, this study found that the controls of contracting seed companies on the production and labor processes were implemented while the state’s policies enhanced the role of the private seed sector in capital accumulation. Still, not passively, many small-scale farmers engaged with the hybrid vegetable seed production as the complementarity of their changing livelihood conditions. Secondly, while aiming to empower the small scale farmers through the scheme of Farmer Field School to conserve and develop the plant varieties as part of agrobiodiversity conservation and concern on farmers’ rights, the socio-environmental movements, in part, re-constructed “Nature” and governed the peasantry as an environmental subject under the conservative power. Lastly, this study found that farmers’ everyday farming practices as part of the politico-ecological struggles are more complicated beyond grasping them only in terms of formal and advocacy politics. Rather, this needs to be seen through the cultural politics in everyday practices. Under difficulties to manage their farm resources as well as relations among actors, small-scale farmers have relied on many livelihood strategies in order to cope, to a different degree, with such circumstances. By this, they produce the situated “agrobiodiversities”, contributing to the assemblage of peasantries and natures. However, this study insists that there were unevenness found in the agrobiodiversity degradation across different landscapes and in the agrobiodiversity conservation through various socio-environmental movements. Under the context of global seed market integration, not every farmer can fully accumulate capital to engage with agrobiodiversity conservation. This calls for further research and policy making in order to carefully assess and differentiate the neoliberal policy vis-à-vis agrobiodiversity in the multi-scalar politics.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleNeoliberalization of Agrobiodiversity and the Livelihood Struggles of the Small-scale Farmers Under the Integration of Global Seed Marketen_US
dc.title.alternativeกระบวนการเสรีนิยมใหม่ของความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรและการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อดำเนินชีวิตของเกษตรกรรายย่อยภายใต้การบูรณาการของตลาดเมล็ดพันธุ์โลกen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการเกิดขึ้นของเสรีนิยมใหม่ที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรและการกำกับดูแลทรัพยากรพันธุกรรมพืชอย่างเมล็ดพันธุ์ไม่สามารถเข้าใจได้โดยง่ายโดยเฉพาะเมื่อระบอบเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทยเพิ่งมีการปรับเปลี่ยนไปเมื่อไม่นานนี้ งานศึกษาชิ้นนี้ได้กลับไปพินิจความเชื่อมโยงระหว่างเสรีนิยมใหม่ การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและการเมืองด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการสืบสวนนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรอันสัมพันธ์กับการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการดำเนินชีวิตของเกษตรกรรายย่อย ทั้งนี้เพื่อเข้าใจว่า เกษตรกรรายย่อยในภาคเหนือของประเทศไทยได้รับการบูรณาการเข้าสู่การเกษตรแบบพันธะสัญญาเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมภายใต้บริษัทเมล็ดพันธุ์โลกและเข้าสู่การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรภายใต้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร การพินิจเสรีนิยมใหม่ ในฐานะกระบวนการหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมสิ่งแวดล้อมช่วยให้เราสืบสวนสองปรากฏการณ์ในฐานะการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมที่ลักลั่นในเสรีนิยมใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเมล็ดพันธุ์ในเวลาเดียวกันของเกษตรกร นั่นคือ การบูรณาการเกษตรกรเข้าสู่แรงงานในระบบพันธะสัญญาภายใต้โลกาภิวัตน์ของตลาดเมล็ดพันธุ์และการผุดขึ้นของขบวนการเคลื่อนไหว ด้านสังคมสิ่งแวดล้อม พื้นที่วิจัยของการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกจังหวัดน่านเป็นพื้นที่หลัก โดยใช้การศึกษาหลากพื้นที่และการศึกษาผ่านแนวคิดผู้กระทำการภายในกรอบแนวทางนิเวศวิทยาการเมือง การเก็บข้อมูลมีทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ได้แก่ การสังเกตการณ์ในพื้นที่ การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สิ่งพิมพ์และแหล่งข้อมูลออนไลน์ การทำภาคสนามเริ่มในปี 2554 – 2556 การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานใช้การสำรวจหมู่บ้านและได้สุ่มคัดเลือก 56 ครัวเรือนเป็นกลุ่มตัวอย่าง หลังจากนั้น ใช้โปรแกรมไมโครซอฟเอ็กเซลทำการจัดชุดข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาและการแจกแจงแบบไขว้ เกษตรกรบางรายได้รับการสัมภาษณ์เพื่อเพิ่มความเข้าใจในการรับมือของพวกเขาต่อการบูรณาการสู่ตลาดและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมสิ่งแวดล้อม ข้อมูลเหล่านี้ในฐานะหลักฐานเชิงประจักษ์มีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจในข้อจำกัดของการพัฒนาแบบเสรีนิยมใหม่และความเป็นไปได้ ตลอดจนอุปสรรคของการเมืองนิเวศสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่เผชิญหน้ากับตัวแสดงที่หลากหลายข้อค้นพบหลักในการศึกษาครั้งนี้พบว่า ขณะที่ผลกระทบจากเสรีนิยมใหม่มีต่อการกำกับควบคุม ความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์และภูมิทัศน์ของการดำรงชีพของเกษตรกรในช่วงการบูรณาการเข้าสู่ตลาดเมล็ดพันธุ์โลกนั้น มีการประทะประสานกันของนโยบายรวมทั้งอุดมการณ์จากภายในและระหว่างรัฐที่ส่งผลให้เกิดความสลับซับซ้อนในการแปลงความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรเป็นสินค้าและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรในจังหวัดน่านท่ามกลางตัวแสดงที่หลากหลาย สิ่งนี้จึงทำให้ไม่สามารถมองกระบวนการเสรีนิยมใหม่ของความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรในฐานะโครงการขนาดใหญ่ที่เสร็จสมบูรณ์และมาจากข้างบนเท่านั้น เพื่อทำความกระจ่างมากขึ้น ประการแรก การศึกษานี้พบว่า การควบคุมของบริษัทเมล็ดพันธุ์ผ่านกระบวนการผลิตและกระบวนแรงงานเกิดขึ้นในช่วงนโยบายรัฐส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการสะสมทุน แต่เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากที่ไม่ได้นิ่งเฉยได้รับมือกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักลูกผสมในฐานะที่เป็นส่วนเติมเต็มของเงื่อนไขการดำรงชีพที่กำลังเปลี่ยนแปลงของพวกเขา ประการที่สอง ขณะตั้งเป้าหมายเพื่อเสริมพลังเกษตรกรรายย่อยผ่านโครงการโรงเรียนชาวนาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์พืชในฐานะของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรและกังวลต่อประเด็นสิทธิเกษตรกรนั้น ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมสิ่งแวดล้อมในบางแง่มุมก็ประดิษฐ์สร้าง “ธรรมชาติ” และกำกับชาวนาในฐานะผู้ถูกปกครองทางสิ่งแวดล้อมภายใต้พลังอนุรักษ์นิยมด้วย ประการสุดท้าย การศึกษานี้พบว่า การทำการเกษตรในชีวิตประจำวันเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ดิ้นรนในเชิงการเมืองนิเวศของเกษตรกรรายย่อยที่มีความสลับซับซ้อนเกินกว่าจะเข้าใจเพียงในแง่มุมของการเมืองแบบทางการและการรณรงค์เคลื่อนไหวเท่านั้น สิ่งนี้จำต้องมองผ่านการเมืองเชิงวัฒนธรรมในปฏิบัติการระดับชีวิตประจำวันด้วย โดยเกษตรกรรายย่อยจำนวนมากได้หันมาใช้ยุทธศาสตร์การดำรงชีพหลายแบบเพื่อจัดการกับเงื่อนไขดังกล่าวในระดับที่แตกต่างกันไปตามความสามารถภายใต้ความยุ่งยากที่มีผลต่อการจัดการทรัพยากรในภาคเกษตรของพวกเขาตลอดจนความสัมพันธ์ที่มีต่อตัวแสดงอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาได้ผลิต สร้างความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์อันก่อให้เกิดการประกอบสร้างความเป็นชาวนาและธรรมชาติที่แตกต่างออกไปอีกมาก อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ยืนยันว่า ยังคงมีปัญหาความไม่เท่าเทียมในการเสื่อมโทรมของความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรที่กระจายข้ามภูมิทัศน์อันแตกต่างกันและในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรผ่านขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมสิ่งแวดล้อม โดยภายใต้การบูรณาการเข้าสู่ตลาดเมล็ดพันธุ์โลกนั้น ไม่ใช่เกษตรกรทุกรายจะสามารถสะสมทุนและเข้าร่วมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรได้อย่างเต็มตัว งานศึกษานี้จึงเรียกร้องต่อไปข้างหน้าถึงการวิจัยและการวางนโยบายที่ต้องมีการประเมินอย่างรอบคอบและยังต้องจำแนกแจกแจงนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตรในการเมืองหลากระดับต่อไปen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf13.98 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.