Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69146
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกษมชัย บุญเป็งen_US
dc.date.accessioned2020-07-28T02:47:13Z-
dc.date.available2020-07-28T02:47:13Z-
dc.date.issued2015-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69146-
dc.description.abstractThis descriptive study included a cross-sectional analytical study aiming to assess the incidence of requesting antibiotics, and related factors among hill-tribal patients receiving services from a Sub-district health promoting hospital. The study also included a qualitative study by conducting a semi-structured interviewto understand the perception about antibiotics of three tribes-Hmong, Karen, and Lua-in Panghinfon sub-district, Mae Chaem district, Chiang Mai province, between April and May 2015. The study found that among 200 samples, average age of 38.5 years (20-64), most of them were eligible for the universal health coverage scheme (88.5 %), and ratios of the three tribes were in related amount. Most of them received services on respiratory diseases, muscular and skeletal system, and endocrine system. The incidence of requesting antibiotics found was more than one-third of the patients receiving services (36.5 %) and 61.6 % of thoserequesting antibiotics were prescribed. Most of them requested antibiotics for themselves (67.1 %). The only factor significantly associated with the request of antibioticswas the ICD10disease classification (p <0.001). Patients with respiratory disease (83.9 %) and skin diseases (71.4 %) requested antibiotics more than any other disease groups. It was found that gender, health insurance scheme, tribe,and age were not the factors associated with a request of antibiotics. Instead, the factors significantly associated with a request of antibiotics were disease group (skin disease), antibiotics request, and a request for self-medication (p <.001, p <.001, p = .010, respectively). The results of the interview showed that the perception and behavior of seeking antibiotics among the three tribes were not much different. The request of antibiotics or “ya-kae-ak-sep” and “ya-lod”, called differently among tribes, was a phenomenon seen in health settings resulting from many related factors. According to the Health Belief Model, when hill tribal patients in Panghinfon sub-district were ill, they would perform a primary care. However, due to their recognition of the importance of health to the ability to work, care for agricultural crops, income to the family, as well as not to be a burden to family members who may have to stop working in order to take care of them, if patients did not feel better from the symptom by self-care,they considered taking drugs. The tribal groups recognized and defined "inflammation (ak-sep)" as pain, swelling, and pus on the body, and "antibiotics (ya-kae-ak-sep)" as a potent drug which helps them to recover from the inflammation faster than conventional medicine. Such recognition resulted from experiences of using antibiotics, information from neighbors and medical personnel, and the media claiming that antibiotics could treat inflammation. Moreover, antibiotics could be easily accessed from the sharing of relatives or neighbors, grocery stores located nearby or accessible clinics, and familiar hospital staff. Thus, this resulted in seeking behavior of antibiotics. Although some tribes had received information from health officials about the importance of taking a full course of antibiotic treatment, and most of them recognized that the drug caused drug allergies (rash, swelling, and suffocation) or even death, as well as the perception of drug resistance the drug taken formerly could not cure the disease this awareness was not only specific to antibiotics. The patients often stopped taking medication when the symptoms subsided and they had never faced the problem of antibiotic use in person. As a result, when it was necessary to recover from illness, they seek treatment by requesting antibiotics. Therefore, promoting rational use of antibiotics in the area needs to be carried out at various levels and among partnership networks by enhancing the knowledge and awareness of the dangers of antibiotics, communication and negotiation skills of public health staff who are requested antibiotics by patients, and supporting health media to sufficiently educate people in the area, as well as organizing the environment at community level in order to access antibiotics safely when patients seek treatment. Further studies should consider expanding the area where people request antibiotics to cover grocery stores, private clinics, and hospitals. There should also be a more in-depth study among other stakeholders in order to promote a rational and sustainable use of antibiotics in common areas.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการรับรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและการร้องขอยาปฏิชีวนะของชนเผ่า ในตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativePerception About Antibiotics and Antibiotics Request of Hill Tribes at Panghinfon Sub-district, Mae Chaem District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเชิงพรรณนานี้ประกอบด้วยการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ เพื่อประเมินอุบัติการณ์การร้องของยาปฏิชีวนะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยกลุ่มชนเผ่าที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างเพื่อทำความเข้าใจถึงการรับรู้ต่อยาปฏิชีวนะ ของ 3 กลุ่มชนเผ่า คือ ม้ง ปกากะญอ และละว้า ในตำบล ปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเมษายนถึงพฤษภาคม พ.ศ.2558 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 200 คน อายุเฉลี่ย38.5 ปี (20-64 ) ส่วนใหญ่ใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 88.5) มีสัดส่วนของชนเผ่าทั้งสามใกล้เคียงกัน มารับบริการในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง และระบบต่อมไร้ท่อมากที่สุดพบอุบัติการณ์การร้องขอยาปฏิชีวนะ เกินกว่าหนึ่งในสามของผู้ป่วยที่มารับบริการ(ร้อยละ 36.5) โดยร้อยละ 61.6 ของผู้ที่ร้องขอยาปฏิชีวนะจะได้รับยาตามขอ และส่วนใหญ่ขอยาปฏิชีวนะให้ตนเอง (ร้อยละ 67.1) ปัจจัยเดียวที่สัมพันธ์กับการร้องขอยาปฏิชีวนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือกลุ่มโรคตามรหัสโรค ICD10(p<0.001)โดยผู้ป่วยกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ(ร้อยละ 83.9)และกลุ่มโรคผิวหนัง (ร้อยละ 71.4) มีการร้องขอยาปฏิชีวนะสูงกว่ากลุ่มโรคอื่น ไม่พบว่าปัจจัยด้านเพศ สิทธิการรักษา เผ่า อายุสัมพันธ์กับการร้องขอยาปฎิชีวนะ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการได้รับยาปฏิชีวนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ กลุ่มโรค (โรคผิวหนัง)การร้องขอยาปฏิชีวนะ และการร้องขอยาให้ตนเอง (p<.001, p<.001, p=.010ตามลำดับ) ผลการสัมภาษณ์พบว่า การรับรู้และพฤติกรรมในการแสวงหายาปฏิชีวนะของชนเผ่าทั้งสามไม่ต่างกันมากนัก และการร้องขอยาปฏิชีวนะหรือ “ยาแก้อักเสบ” และ “ยาหลอด” ตามคำเรียกขานของชนเผ่า ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นในสถานพยาบาลนั้น สืบเนื่องจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกัน เมื่อพิจารณาตาม Health belief modelโดยเมื่อมีการเจ็บป่วยชนเผ่าในตำบลปางหินฝนจะดูแลตนเองเบื้องต้น แต่เนื่องจากรับรู้ถึงความสำคัญของสุขภาพที่มีต่อความสามารถในการทำงาน การดูแลพืชผลทางการเกษตรและการมีรายได้เพื่อดูแลครอบครัว รวมถึงเพื่อไม่ให้ตนเป็นภาระแก่คนในครอบครัวที่อาจต้องหยุดงานเพื่อมาช่วยดูแลตน หากอาการป่วยยังไม่ทุเลาจากการดูแลตนเองเบื้องต้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องใช้ยา ทั้งนี้ กลุ่มชนเผ่ารับรู้และให้ความหมายของอาการ “อักเสบ” ว่าเป็นอาการปวด บวม แดง และมีหนอง ที่ส่วนต่างๆของร่างกาย และ “ยาปฏิชีวนะ (ยาแก้อักเสบ)” เป็นยาที่ฤทธิ์แรง ช่วยให้หายจากอาการอักเสบได้เร็วกว่ายาทั่วไป การรับรู้ดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากประสบการณ์ที่เคยรับประทานยาปฏิชีวนะ และการได้รับข้อมูลจากเพื่อนบ้าน บุคลากรทางการแพทย์และสื่อต่างๆว่ายาปฏิชีวนะสามารถรักษาอาการอักเสบได้ ประกอบกับเมื่อยาปฏิชีวนะสามารถเข้าถึงได้ง่ายทั้งจากการแบ่งปันของญาติหรือเพื่อนบ้าน จากร้านชำใกล้บ้านหรือคลินิกที่สะดวกต่อการเดินทางและจากเจ้าหน้าที่ที่คุ้นเคยในสถานพยาบาล จึงเกิดพฤติกรรมการแสวงหายาปฏิชีวนะขึ้น แม้ว่ากลุ่มชนเผ่าบางส่วนจะเคยได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขถึงความสำคัญของการกินยาปฏิชีวนะให้ครบระยะการรักษา และส่วนใหญ่จะรับรู้ว่ายาทำให้เกิดการแพ้ (มีผื่นคัน ตัวบวม หายใจไม่ออก) และเสียชีวิตได้ รวมถึงรับรู้ว่าการ “ดื้อยา” คือการที่ยาชนิดเดิมไม่สามารถใช้รักษาโรคได้ แต่การรับรู้ดังกล่าวไม่จำเพาะกับยาปฏิชีวนะ ประกอบกับผู้ป่วยมักหยุดใช้ยาเมื่ออาการทุเลาและไม่เคยประสบปัญหาจากการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยตนเองดังนั้นเมื่อมีความจำเป็นต้องหายจากอาการเจ็บป่วยจึงแสวงหาการรักษาด้วยการร้องขอยาปฏิชีวนะ ดังนั้น การส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในพื้นที่ จำเป็นต้องดำเนินการหลายระดับและอาศัยภาคีเครือข่าย ทั้งการเสริมความรู้และความตระหนักถึงอันตรายของปัญหาจากยาปฏิชีวนะในระดับประชาชน การเสริมทักษะการต่อรองแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเมื่อผู้ป่วยร้องขอยาปฏิชีวนะและสนับสนุนสื่อให้ความรู้ที่เพียงพอ และการจัดสิ่งแวดล้อมระดับชุมชนให้เกิดการเข้าถึงยาปฏิชีวนะอย่างปลอดภัยเมื่อผู้ป่วยแสวงหาการรักษา การศึกษาครั้งต่อไปควรพิจารณาขยายพื้นที่การสำรวจสถานการณ์การร้องขอยาปฏิชีวนะให้ครอบคลุมถึง ร้านขายของชำ คลินิกเอกชน และโรงพยาบาลด้วย ประกอบกับการศึกษาในเชิงลึกเพิ่มเติมในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ เพื่อนำสู่การวางแผนส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะที่สมเหตุผลอย่างยั่งยืนในพื้นที่ร่วมกันต่อไปen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.