Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69143
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์-
dc.contributor.authorสุภัค โนกุลen_US
dc.date.accessioned2020-07-28T02:46:58Z-
dc.date.available2020-07-28T02:46:58Z-
dc.date.issued2015-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69143-
dc.description.abstractThe study "President’s Leadership of Women Empowerment Funds Committee, Lampang Province" aimed to 1) investigate the president's leadership of women empowerment funds committee, Lampang Province, and 2) study the differences of leadership and explore the factors affecting the president's leadership of women empowerment funds committee, Lampang Province. The methods employed in this qualitative research were documentary research and in-depth interview. The participants included the president of the women empowerment funds committee, Lampang Province, the committee members of women empowerment funds in Lampang Provice, provincial civil servants, and women groups in Muang District, Lampang Province. The data was analyzed using descriptive analysis. The following aspects of president's leadership of the women empowerment funds committee, Lampang Province were revealed from the present study. In terms of task-oriented aspect of the leadership, it was found that the president of the women empowerment funds committee, Lampang Province tried to achieve the objectives of the funds but limited administrative experience caused the overlapping roles as a local politician and a president of the funds. Because of the different structures and roles and volunteer nature of the role of a president; thus, the president focused on creating motivation to work together for the benefits of the community. This could be considered as the most important conditions and skills of the president's leadership of the women empowerment funds committee, Lampang Province. For the relationship-oriented aspect of the relationship, the data suggested that the president worked with the committee by brainstorming based on building the basic belief related to cultures, family network, and mutual respect. In relation to the 3D theory of leadership, which focused on the low and high dimensions of the effectiveness, it was found that the format of the women empowerment funds was established by the government's policies lacking of organization development. In addition, because of the informal structure, there were limitations in employing the 3D theory in the study. The 3D theory is more appropriate for the analysis of an organization with formal line of authority than the analysis of the women empowerment funds which relied more on relationship system than line of authority. Furthermore, the findings indicated that the relationship-oriented aspect of the leadership affected the determination of the factors related to the leadership of the president. Firstly, political benefits, that was to gain popular votes from women groups, were a driven force in creating the leadership. Other factors affecting the leadership of the president included the relations with the women groups in Muang District, Lampang Province, compensations, and the characteristics of the president. From the study it can be suggested that the task-oriented aspect of the leadership of the president should focus more on task planning. The regulations of the women empowerment funds should also be clear and the operational steps should be appropriately set up. Finally, the operation of the projects under the women empowerment funds should have follow-ups and evaluation especially funded projects in order to investigate the benefits from the budget allocated as well as the problems and obstacles. Also the results can be used to develop future projects.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleภาวะผู้นำของประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนา บทบาทสตรี จังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativePresident‎'‎s Leadership of Women Empowerment Funds Committee‎, ‎Lampang ‎Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษา เรื่อง ภาวะผู้นำของประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ภาวะผู้นำของประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดลาปาง 2) เพื่อศึกษาและอธิบายความแตกต่างของภาวะผู้นำและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำของประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดลำปาง ผู้ศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดลำปาง กลุ่มคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดลำปาง ข้าราชการส่วนภูมิภาค และกลุ่มสตรีในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ภาวะผู้นำ ของประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย ภาวะผู้นำด้านการมุ่งงาน การปฏิบัติงานของ ประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดลำปางมีความพยายามทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี แต่เนื่องจาก มีประสบการณด้านการบริหารงานองค์กรไม่มากนักจึงทำให้การปฏิบัติหน้าที่มีความซ้อนทับระหว่างการทำหน้าที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่นกับการเป็นผู้นำกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดลำปาง ซึ่งมีโครงสร้างและลักษณะของบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน ประกอบกับการปฏิบัติงานทั้งในฐานะประธานคณะกรรมการฯ และคณะกรรมการฯ ไม่มีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนประจำ แนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของประธานคณะกรรมการฯ จึงเน้นไปที่การสร้างแรงจูงใจในการทำงานร่วมกัน เพื่อผลประโยชน์ของส่วนร่วม ซึ่งถือว่าเป็นทั้งเงื่อนไขและทักษะที่สำคัญที่สุดของการเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดลำปาง ภาวะผู้นำด้านการมุ่งคน ประธานคณะกรรมการฯ ใช้วิธีการทำงานร่วมกันกับคณะกรรมการฯ โดยการระดมความคิดของกรรมการและสมาชิก อาศัยการสร้างความเชื่อพื้นฐานทางวัฒนธรรมด้วยระบบเครือญาติ และยึดหลักทางจารีตด้วยการ เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ในรูปแบบทฤษฎีสามมิติ เป็นการศึกษามิติ ประสิทธิผลต่ำหรือประสิทธิผลน้อยและประสิทธิผลสูงหรือประสิทธิผลมาก พบว่า รูปแบบของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นองค์กรที่เกิดตามนโยบายของรัฐ ยังขาดวิวัฒนาการและพัฒนาการขององค์กร รวมทั้งมีโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ จึงทำให้เห็นเงื่อนไขข้อจำกัดในการนำทฤษฎีสามมิติมาวิเคราะห์ เนื่องจากทฤษฎีสามมิติด้านมิติประสิทธิผลเหมาะแก่การนำมาศึกษาวิเคราะห์องค์กรที่มีสายการบังคับบัญชา มีอำนาจในการสั่งการอย่างเป็นทางการ มากกว่าการนำมาวิเคราะห์ภาวะผู้นำในกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีที่ยึดโยงการทำงานด้วยระบบความสัมพันธ์มากกว่าการใช้อำนาจตามสายบังคับบัญชา ภาวะผู้นำด้านการมุ่งคนมีผลต่อการกำหนดปัจจัยเชื่อมโยงกับภาวะผู้นำของประธานคณะกรรมการฯ ดังนี้ คือ ผลประโยชน์ทางการเมือง ที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดภาวะผู้นำ เพื่อหวังคะแนนนิยมจากกลุ่มสตรี ตลอดจนมีความสัมพันธ์ระหว่างประธานคณะกรรมการฯ กับกลุ่มสตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ค่าตอบแทน และ คุณลักษณะเฉพาะตัวของประธานคณะกรรมการฯ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่มีผลต่อการมีภาวะผู้นำของประธานคณะกรรมการฯ ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ภาวะผู้นำของประธานคณะกรรมการฯ ด้านการมุ่งงาน ควรเน้นเรื่องการวางแผนปฏิบัติงานให้มากยิ่งขึ้น การสร้างความชัดเจนของระเบียบกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างแม่นยำ และมีการกำหนดขั้นตอนของการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม การดำเนินงานโครงการต่างๆ ภายใต้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ควรมีการติดตามและประเมินผลโดยเฉพาะโครงการที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณ เพื่อประเมินประโยชน์ของการนำเงินกองทุนไปใช้ และสะท้อนปัญหาและอุปสรรคที่จะนำมาใช้พัฒนาโครงการอื่นๆ ได้ในอนาคตen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.