Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69120
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.อลงกรณ์ คูตระกูล | - |
dc.contributor.author | ดารินทร์ ปัญญาเจริญ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-25T09:10:58Z | - |
dc.date.available | 2020-07-25T09:10:58Z | - |
dc.date.issued | 2015-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69120 | - |
dc.description.abstract | This study was a qualitative research that aimed to examine the dynamic, management and factors affecting the management of District Royal Initiative Self Learning Center in Maueng and Mae-Taeng District, Chiang Mai Province. Data collection was conducted by using in-depth interview, focus group discussion and documentary research. The samples consisted of 25 people from governmental officials responsible for the Learning Center, the Learning Center committee, and the Learning Center members. The area of this study included the Learning Center in Ban Tha (Rong Kee Kwai), Moo 3, Maueng District, Chiang Mai Province and the Learning Center in Mae-Tang District. Data analysis was done by descriptive analysis and findings were summarized as follows: With regard to the dynamic of District Royal Initiative Self Learning Center in Maueng and Mae-Taeng District, Chiang Mai Province, it revealed that there were the learning station activities consistently carrying out from 2010 to 2014. People from the government and private sectors, including students from all levels incessantly took a study visit at the Learning Centers. However, the activities in both Learning Centers were declined since additional budget was not supported. They were not able to manage the budget in some activities constructively and beneficially. Thus, it resulted to the reduction of activities, cooperation, and motivation of people’s participation in the Center’s activities, for instance. According to the management of District Royal Initiative Self Learning Center in Maueng and Mae-Taeng District, Chiang Mai Province, it showed that the Centers concentrated in conveying Sufficiency Economy Philosophy to implement in the Center’s work by allowing the community to be the main manager and giving an opportunity to all sectors to participate. The Center also focused on promoting the community’s unity and devotion as well as delivering the valuable resources in the community to be used fruitfully, such as the local wisdom. In terms of factors affecting the management of the Learning Centers, it denoted that both Learning Centers had the apparent organizational structure and concentrated in applying Sufficiency Economy Philosophy. People in the community were selected to be the Learning Center committee. The Learning Center emphasized on participatory working and coordinated within the community. People in the community gave priority in employing Sufficiency Economy Philosophy in their lives and took part in the Learning Center’ activities constantly. Besides, the committee and members of the Learning Center undoubtedly assigned their work to the members and assisted one another. They paid attention in joining activities and applying the Sufficiency Economy Philosophy in their lives resulting to the community’s strength, self-reliance and lessening of outside dependency, for example. With respect to approaches in developing the Learning Center, the government organizations should support and subsidize funds, giving knowledge and improving skills and ability in funds management for the community suitably. The private organizations should give an opportunity for the community to meet and should participate in social service activities continually. As for the community/people, the Learning Center committee should constantly coordinate with the local administration organizations and governmental organizations in order to promote and develop the Learning Centers to be in a good progress. Finally, people in the community should realize and pay attention in applying the Sufficiency Economy Philosophy in their occupation and their daily lives, for instance. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การจัดการของศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของอำเภอเมืองและอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Management of District Royal Initiative Self Learning Center of Mueang and Mae Taeng District, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตรของศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระดับอำเภอ ลักษณะของการจัดการของศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระดับอำเภอ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการของศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระดับอำเภอ ของอำเภอเมือง และอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการศึกษาเชิงเอกสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบศูนย์เรียนรู้ฯ กลุ่มคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ฯ และกลุ่มสมาชิกศูนย์เรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 25 คน พื้นที่ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ศูนย์เรียนรู้ฯ บ้านท่า (ร้องขี้ควาย) หมู่ 3 ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์เรียนรู้ฯ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาบรรยายสรุป และผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ พลวัตรของศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระดับอำเภอของทั้ง 2 พื้นที่ พบว่า ตั้งแต่ปี 2553 – 2557 มีการดำเนินกิจกรรมตามฐานเรียนรู้ต่างๆเรื่อยมา มีส่วนราชการ สถาบันการศึกษานักเรียน นักศึกษา รวมทั้งเอกชน เข้ามาศึกษาดูงานภายในศูนย์เรียนรู้ฯ อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันบางกิจกรรมภายในศูนย์เรียนรู้ทั้ง 2 พื้นที่ มีการปรับลดกิจกรรมลงเนื่องจากไม่มีงบประมาณเข้ามาอุดหนุนเพิ่มเติม บางกิจกรรมไม่สามารถบริหารจัดการงบประมาณได้คุ้มค่าและเกิดผลประโยชน์สูงสุด ส่งผลให้ลดจำนวนกิจกรรมลง ตลอดการให้ความร่วมมือ และแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในชุมชนลดลง เป็นต้น ส่วนของด้านการจัดการของศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของอำเภอเมืองและอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มุ่งเน้นน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการ ดำเนินงาน โดยให้อำนาจชุมชนเป็นผู้จัดการหลัก เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม มุ่งเน้นการส่งเสริมความสามัคคีของชุมชนที่เป็นพื้นฐาน ร่วมแรงร่วมใจกัน นำทรัพยากรที่มีคุณค่าในชุมชนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการของศูนย์เรียนรู้ พบว่า ทั้ง 2 พื้นที่ มีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน มุ่งเน้นนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ มีการคัดเลือกบุคคลในชุมชนมาเป็นคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ฯ มุ่งเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม มีการประสานงานในชุมชนเป็นหลัก คนในชุมชนให้ความสำคัญในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และเข้าร่วมทำกิจกรรมของศูนย์เรียนรู้ฯ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งคณะกรรมการฯ สมาชิกศูนย์เรียนรู้มีการแบ่งงานกันทำอย่างชัดเจน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ความสำคัญในการทำกิจกรรม ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนส่งผลให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเอง และลดการพึ่งพาจากภายนอกได้ เป็นต้น สำหรับแนวทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ หน่วยงานรัฐ ควรให้การสนับสนุน ช่วยเหลือด้านเงินทุน การให้ความรู้ การพัฒนาทักษะความสามารถในการจัดการเงินทุนแก่ชุมชนอย่างเหมาะสม หน่วยงานเอกชน ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้าพบและร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง และในด้านชุมชน/ประชาชน คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ฯ ควรทำหน้าที่ในการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันส่งเสริม พัฒนาศูนย์เรียนรู้ให้เกิดความต่อเนื่อง และประชาชนในชุมชน ควรตระหนักและเห็นความสำคัญของการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตประจำวัน เป็นต้น | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 2.74 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.