Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69117
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศาสตราจารย์ ดร.ชูชัย สมิทธิไกร-
dc.contributor.authorภคินี ตันติเวทย์en_US
dc.date.accessioned2020-07-25T09:10:39Z-
dc.date.available2020-07-25T09:10:39Z-
dc.date.issued2015-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69117-
dc.description.abstractThe purposes of this study were (1) to examine levels of positive orientation, work engagement and career satisfaction, and (2) to investigate relationships of positive orientation to work engagement and career satisfaction. A correlational research was used. The sample consisted of 180 medical technologists working in Chiang Mai and Lamphun Province. The research instruments were a personal data sheet, a positive orientation scale, a work engagement scale and a career satisfaction scale. Descriptive statistics were used to describe demographic data and research variables. Hypothese testing were performed by using Pearson’s Product Moment Correlation Analysis and Hierarchical Multiple Regression Analysis. The research found that: 1. Most of the sample had high levels of positive orientation, work engagement and career satisfaction. 2. Positive orientation was significant positively related to work engagement (p < .01). 3. Positive orientation was significant positively related to career satisfaction (p < .01). 4. Positive orientation significantly predicted work engagement (p < .001) and also significantly predicted career satisfaction (p < .001).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มเอียงทางบวกกับความผูกพัน ต่องานและความพึงพอใจในอาชีพของนักเทคนิคการแพทย์ ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนen_US
dc.title.alternativeRelationships of Positive Orientation to Work Engagement and Career Satisfaction of Medical Technologists in Chiang Mai and Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาระดับแนวโน้มเอียงทางบวก ความผูกพันต่องาน และความพึงพอใจในอาชีพ และ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มเอียงทางบวกกับความผูกพันต่องานและความพึงพอใจในอาชีพ รูปแบบการวิจัยนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ นักเทคนิคการแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดแนวโน้มเอียงทางบวก แบบวัดความผูกพันต่องาน และแบบวัดความพึงพอใจในอาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยการใช้สถิติบรรยายเพื่อบรรยายลักษณะทางประชากรและตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ส่วนการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย กระทำโดยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบจัดลำดับชั้น ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแนวโน้มเอียงทางบวก ความผูกพันต่องาน และความพึงพอใจในอาชีพในระดับสูง 2. แนวโน้มเอียงทางบวกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่องานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 3. แนวโน้มเอียงทางบวกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในอาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 4. แนวโน้มเอียงทางบวกทำนายความผูกพันต่องานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และยังทำนายความพึงพอใจในอาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)en_US
Appears in Collections:HUMAN: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.