Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69096
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล | - |
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล | - |
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถาวร อ่อนประไพ | - |
dc.contributor.author | ไพศาล ขจรวุฒินันทชัย | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-25T03:03:18Z | - |
dc.date.available | 2020-07-25T03:03:18Z | - |
dc.date.issued | 2015-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69096 | - |
dc.description.abstract | The research of management approach of agricultural area in Chiang Rai municipality, Chiang Rai province aimed to 1) Understand the agricultural context in Chiang Rai municipality 2) Study people’s attitude towards in lands in Chiang Rai municipality 3) Pride the support information and possible way to manage appropriate agricultural lands in Chiang Rai municipality. Data was collected by focus group discussion from key stakeholders such as village, headman, agricultural group leader and questionnaire interviewed related officer of Chiang Rai municipality. Moreover, questionnaire was employed and specific randomly selected 60 peoples to interviewed from 3 study areas is Chiang Rai municipality stadium, Chiang Rai beach park and Nong Pueng. Data analysis was applied both qualitative and quantitative methods with explained by frequent, percentage, maximum, minimum and average. Currently, Chiang Rai city is rapidly expanding. The main factors caused by the rapid increase of population, migration and work migration. These facts ware affected to agricultural land and quality of life of Chiang Rai people, and intend to occur respectively. Chiang Rai municipality is currently in the process of city planning in order to decrease city expansion to make a compact city and increases green area in the city. The area nearby Chiang Rai municipality stadium is closed to Kok river in many parts which the Kok river looks like river bend shape with beautiful scenery which should be the tourist attraction or hold the agricultural activities. Chiang Rai municipality stadium area is shady and also a relax place for people, only lack of development and promotion to be a real organic agricultural garden. Nong pueng area is a beautiful natural water source and could be developed to be an agricultural area. Previously, there were a lot of institutes educated and developed the area to be proper with the cooperation of people in the area but still lack of continuously managing. Result from interview found that majority of people viewed that agricultural area was not enough for agricultural practices with 86.7 percent. Management for agricultural area was still not enough for the needs of people in study areas at the percentage of 80. The impact for utilizing of agricultural area for other uses, majority of respondents viewed that it was impacts to agricultural area and there was not enough agricultural area for production at the percentage of 88.3. Although, these decreasing of agricultural area does not affected to people’s life but Chiang Rai municipality should also take immediate action plan for utilizing the proper with the cooperation with people in area for the utmost benefits of people in the area. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | แนวทางการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในเขตเทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.title.alternative | Management Approach of Agricultural Area in Chiang Rai Municipality, Chiang Rai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาแนวทางการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในเขตเทศบาลนครเชียงรายจังหวัดเชียงรายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพพื้นที่เกษตรกรรมในเขตเทศบาลนครเชียงราย 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนต่อการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในเขตเทศบาลนครเชียงรายและ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางความเป็นไปได้ต่อการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมที่เหมาะสมในเขตเทศบาลนครเชียงราย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการจัดประชุมกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้นำชุมชน แกนนำในพื้นที่ศึกษา และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในส่วนของเทศบาลนครเชียงราย นอกจากนี้งานวิจัยได้ออกแบบสอบถามเพื่อสัมภาษณ์ประชาชน 60 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงผู้ที่อาศัยในพื้นที่บริเวณสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงราย สวนสาธารณะหาดเชียงราย และหนองปึ๋ง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยสถิติที่ใช้ สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยต่ำสุดและสูงสุดจากกลุ่มตัวอย่าง การขยายตัวของเมืองเชียงรายในปัจจุบันเป็นแบบกระจัดกระจาย ซึ่งมีปัจจัยจากการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว เช่น การย้ายถิ่นฐาน การอพยพเข้ามาทำงาน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งคุณภาพชีวิตของประชาชน และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทศบาลนครเชียงรายอยู่ในระหว่างดำเนินการในการวางผังเมือง เพื่อลดการกระจายตัวของเมือง ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเมืองกระชับ และเพิ่มจำนวนของพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง พื้นที่บริเวณสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงราย มีพื้นที่ที่บริเวณติดแม่น้ำกกหลายส่วน ซึ่งแม่น้ำกกบริเวณนี้มีลักษณะเป็นคุ้งน้ำ มีวิวทิวทัศน์สวยงามควรจัดให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือจัดกิจกรรมเชิงเกษตรได้ พื้นสวนสาธารณะหาดเชียงราย มีความร่มรื่น อีกทั้งยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ของประชาชนอยู่แล้ว ขาดแต่การพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดเป็นสวนเกษตรธรรมชาติอย่างจริงจัง พื้นที่บริเวณหนองปึ๋ง เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสวยงาม มีศักยภาพมากที่จะพัฒนาให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ที่ผ่านมาได้มีหลายหน่วยงานเข้ามาให้ความรู้และพัฒนาพื้นที่ให้มีความเหมาะสมร่วมกับประชาชนในพื้นที่แต่ยังขาดความต่อเนื่องในการดำเนินการ จากการสัมภาษณ์ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา พบว่าประชากรส่วนใหญ่เห็นว่าพื้นที่เกษตรกรรมไม่เพียงพอต่อความต้องการ คิดเป็นร้อยละ 86.7 การจัดพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับการทำการเกษตร ยังไม่มีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 80.0 ด้านผลกระทบของการนำพื้นที่เกษตรกรรมไปใช้เพื่อประโยชน์ทางด้านอื่นๆ ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่ามีผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรม คือ ไม่มีพื้นที่เพียงพอในการผลิต คิดเป็นร้อยละ 88.3 ทั้งนี้การลดลงของพื้นที่เกษตรกรรมยังไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชน แต่หน่วยงานของเทศบาลนครเชียงรายควรเร่งดำเนินการวางแผนใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เกิดความเหมาะสมร่วมกับประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดตามความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่นั้นๆ | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.