Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69081
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร. ยงยุทธ ยะบุญธง | - |
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์ ดร. ชูชีพ พุทธประเสริฐ | - |
dc.contributor.author | สมชาย พันธุ์สันติกุล | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-24T08:40:54Z | - |
dc.date.available | 2020-07-24T08:40:54Z | - |
dc.date.issued | 2015-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69081 | - |
dc.description.abstract | This independent study aims to synthesize the 86 subjects of education administration researches of faculty of Education in Chiang Mai University during the academic year 2555 – 2556. The tools used in this study were the synthesis researches form and analysis notes document. Synthesis-oriented features data was analyzed by frequency, percentage and content analysis in each category. The study result found that all synthesized researches were an independent study and were approved in the year 2555, the most synthesized researches were studied by teachers, and aim to develop education domain. The synthesized researches used both population and sample. The most used tool was a questionnaire which was manually created by researcher, and the efficiency of the questionnaire was analyzed by checking the validity. Then the researcher collected the data by himself. The result was divided into the five following categories: Category 1 finding on executive education, the good features of executive education were leadership, human relationship, ability to work, self-development, and practice skill. The executive education played a role in promoting learning management which includes 5 fields: Curriculum development, measurement and evaluation, classroom management research, learning resource management and the educational supervision. Category 2 finding on the education administration procedure, the study showed that the education administration consisted business management. The steps of education administration procedure were to study current issues, demand planning, implementation and evaluation of plans. Moreover the school administrators have to perform at a high level. However, there are the main problems significant in personnel management, administration budget and the process. Category 3 finding on responsibilities of executive administration, the study found that the responsibilities executive administration was divided into four fields: Academic administration, administration, budget and finance administration, the general management. The overall operations of the schools in the four departments were at high levels. Category 4 finding were on the administration information. The commission found that the role of the Basic Education Commission and the community was supporting education in every aspect except academic planning, finance and budget and personnel management which are less involved. Category 5 finding were on other context. The study found that Thailand was trying to create a unified administration, but there are so many factors making that cause separate the primary and secondary education office service Area. In addition, the operations assessment of the institutions in another context showed the most operating was at a high level. The concordance between researches and education development plan of the Ministry of Education No. 11 showed the most researches consistent with the education of the Ministry of Education No. 11. They should publish and promote more about researches and enhance the students to work on practical research. For further study the students/researchers should design researches quality and diversity tools for the researches. In addition they should also study about government plan of study in the future, the study direction of other organization which relates to each field of study. . | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การสังเคราะห์งานวิจัยของสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปีการศึกษา 2555 – 2556 | en_US |
dc.title.alternative | Synthesis of Research on Educational Administration Graduate Program, Faculty of Education, Chiang Mai University During the Academic Years 2012– 2013 | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยของสาขาวิชา การบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปีการศึกษา 2555 - 2556 และ 2) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการวิจัยที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษา 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1การสังเคราะห์งานวิจัยของสาขาวิชา การบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปีการศึกษา 2555- 2556 ประชากร คือ งานวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 86 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสังเคราะห์งานวิจัย และแบบบันทึกผลการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และสรุปแบบอุปนัย ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงการปฏิบัติการวิจัยที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 11 (2555 – 2559) โดยมีแหล่งข้อมูล คือ ผลจากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 รวมทั้งกรอบและทิศทางการวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยที่ศึกษาเป็นการค้นคว้าแบบอิสระทั้งหมดและได้รับอนุมัติในปีการศึกษา 2555 มากที่สุด ผู้วิจัยส่วนใหญ่เป็นครูผู้สอน ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา มีการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด และเครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง หาประสิทธิภาพของเครื่องมือโดยการตรวจสอบความเที่ยงตรงและมีการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง หมวดหมู่งานวิจัย แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ หมวดที่ 1 พบว่า ผู้บริหารการศึกษามีลักษณะที่สำคัญคือ มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ มีความสามารถในการปฏิบัติงาน มีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ และมีทักษะในการบริหารงาน หมวดที่ 2 พบว่า การบริหารงานทั่วไปเป็นการนำกระบวนการการบริหารเชิงธุรกิจที่มีกระบวนการคล้ายกับการบริหารการศึกษาแต่มีเป้าหมายคือผลกำไร โดยต่างจาก การบริหารการศึกษาที่เน้นที่ผลด้านการศึกษา หมวดที่ 3 งานวิจัยในหมวดนี้มีปริมาณมากที่สุด โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน 1) ด้านการบริหารงานวิชาการ 2) ด้านการบริหารงานบุคคล 3) ด้านการบริหารงานงบประมาณ 4) ด้านการบริหารงานทั่วไป หมวดที่ 4 บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการที่เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชนมีบทบาทในการสนับสนุนส่งเสริมสถานศึกษาเกือบทุกด้านยกเว้น ด้านวางแผนงานวิชาการ ด้านการเงิน และด้านบริหารงานบุคคลที่ไม่ค่อยมี ส่วนร่วม หมวดที่ 5 ประวัติการบริหารการศึกษาไทยพยายามสร้างความมีเอกภาพทางการบริหารแต่มีปัญหาจากปัจจัยหลายอย่างจึงทำให้ ยังต้องแยกเขตพื้นที่ประถมศึกษากับมัธยมศึกษาดังปัจจุบัน ด้านความสอดคล้องของงานวิจัยกับแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 พบว่างานวิจัยส่วนมากมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 11 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ควรมีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยในทุกแผนการเรียน และส่งเสริมให้นักศึกษาทำวิจัยเชิงปฏิบัติการให้มากยิ่งขึ้น สำหรับนักศึกษา/ผู้ทำวิจัยในสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ควรมีการออกแบบการวิจัย การสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพเครื่องมือการวิจัย ที่หลากหลาย และควรมีการศึกษาแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกรอบ ทิศทางการวิจัยของหน่วยงานการศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.