Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69064
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์อรพิณ สันติธีรากุล-
dc.contributor.authorอัมพวัน คันธรสen_US
dc.date.accessioned2020-07-24T01:20:57Z-
dc.date.available2020-07-24T01:20:57Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69064-
dc.description.abstractThe purposes of this independent study were to study the factors that affected the working life quality and to study the working life quality of employees at Sriphat Medical Center, Faculty of Medicine, Chiang Mai University. The study was based on the working life quality concept of Management System of Quality of Work Life (MS-QWL), The Human Capacity Building Institute, Federation of Thai Industries. The data was collected from 234 officers. The data was then analyzed by descriptive statistics, e.g., frequency, percentage, mean, as well as inferential statistics, e.g., t-test, one-way ANOVA analysis, Least Significant Difference, Correlation Analysis and Multiple Regression Analysis. The results of the study revealed that the employees at Sriphat Medical Center, Faculty of Medicine, Chiang Mai University had a moderate overall quality of working life. The personnel’s attitudes toward the factors of working life quality were ranked at the high level in the following order: mind, social relation, and spirituality. However, they ranked body, environment and career stability at the moderate level. It was also found that there was a significant positive correlation between their working life quality and the factors that affected the working life quality. The relationship was at 0.484 and the prediction of their overall working life quality was at 23.40%, while 76.60% being affected by the other factors. From the study of statistic significance, it was found that body, social relation, environment, spirituality and career stability affected the working life quality significantly at the level of 0.05. The result also showed that body, social relation, environment, spirituality and career stability were able to predict the working life quality at β = 0.172, 0.137, 0.251, 0.150 and 0.122, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeQuality of Work Life of Employees at Sriphat Medical Center, Faculty of Medicine, Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดคุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life) ตามมาตรฐานระบบการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานในองค์การ (Management System of Quality of Work life: MS-QWL) ของสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากพนักงานศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 234 ราย ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) การทดสอบค่าแจกแจงแบบที (Independent T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Different (LSD) การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า พนักงานศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่พนักงานมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมาก คือ ด้านจิตใจ รองลงมาคือ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านจิตวิญญาณ ตามลำดับ และปัจจัยที่พนักงานมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยปานกลาง คือ ด้านร่างกาย รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านความมั่นคงในชีวิต ตามลำดับ ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน กับคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมของพนักงานศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่ามีการแปรผันตามกันในเชิงบวก (R = 0.484) ซึ่งสามารถพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมได้ร้อยละ 23.40 ส่วนอีกร้อยละ 76.60 เป็นผลที่เกิดจากด้านอื่น ๆ และเมื่อพิจารณาจากค่านัยสำคัญทางสถิติ พบว่า ปัจจัยด้านร่างกาย ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิญญาณ และด้านความมั่นคงในชีวิต มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และยังพบว่าปัจจัยด้านร่างกาย ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิญญาณ และด้านความมั่นคงในชีวิต สามารถทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมได้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยในแบบคะแนนมาตรฐาน (β) เท่ากับ 0.172, 0.137, 0.251, 0.150 และ 0.122 ตามลำดับen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.