Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69049
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.พนม กุณาวงค์-
dc.contributor.authorอรพินท์ เปรมโพธิ์en_US
dc.date.accessioned2020-07-23T06:09:35Z-
dc.date.available2020-07-23T06:09:35Z-
dc.date.issued2015-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69049-
dc.description.abstractThe independent study titled “Acceptance Level towards e-Auction System of Procurement Officers, Chiang Mai University” aimed at analyzing 1) factors related to and affecting the level of acceptance towards the e-Auction system; 2) the level of acceptance towards the operation of the e-Auction system; and 3) problems, suggestions, and guidelines for improving the e-Auction system. The researcher collected data from the samples, who were 73 procurement officers from 17 faculties in Chiang Mai University by using the Technology Acceptance Model (TAM). The results revealed as follows: 1) The factor affecting awareness of benefits was at the highest level, especially awareness of benefits on the operation which reduced the implementation period and budget for procurement management. 2) The factor affecting awareness of convenience of use was at the highest level of satisfaction. Most of the questionnaire respondents were satisfied with the e-Auction system which facilitated on date and time when offering a price through the electronic system and the results of the auction from the central market were received. 3) Factors affecting attitudes and intention behaviours were at high levels of satisfaction, especially the factor about satisfaction on the operation which were explicit to the public and the acceptance towards procurement through the e-auction system. In terms of problems, there were too many procedures and related laws and regulations for procurement through the electronic system. As a result, the procurement officers felt uncomfortable using it.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleระดับการยอมรับการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่พัสดุ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeAcceptance Level e-Auction System of Procurement Officers, Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง ระดับการยอมรับการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่พัสดุ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อระดับการยอมรับการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 2) เพื่อศึกษาถึงระดับการยอมรับด้านการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 3) เพื่อทราบถึงปัญหาและอุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาระบบการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านพัสดุ คณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ จำนวน 17 คณะ รวมทั้งสิ้นจำนวน 73 คน โดยใช้กรอบแนวคิดตามทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model : TAM) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการยอมรับการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่พัสดุ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการรับรู้ประโยชน์ที่เกี่ยวกับการดำเนินการ ช่วยทำให้ลดระยะเวลาในกระบวนการดำเนินงาน และลดงบประมาณที่ใช้ในการบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยในการประหยัดงบประมาณ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสะดวกในการใช้งานอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในเรื่องที่เกี่ยวกับตลาดกลางในการจัดการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ความสะดวก ณ วันและเวลาที่เสนอราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จนได้รับผลสรุปการประมูลจากตลาดกลาง 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมความตั้งใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับความรู้สึกพึงพอใจในการดำเนินการ เป็นกระบวนการที่โปร่งใสและเปิดเผยต่อสาธารณะ และการยอมรับที่จะใช้การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และในส่วนของปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ มีขั้นตอนการดำเนินงานหลายขั้นตอน และมีระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องมากเกินไปทำให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ไม่เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงานen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.