Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69037
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.พัชรา ตันติประภา-
dc.contributor.authorทินกร โรงคำen_US
dc.date.accessioned2020-07-23T06:08:19Z-
dc.date.available2020-07-23T06:08:19Z-
dc.date.issued2015-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69037-
dc.description.abstractThis independent study aimed at analyzing the services marketing mix factors which affect the Y generation consumers towards selecting fitness centers in Mueang Chiang Mai district. Data were analyzed by using descriptive statistics: frequency, percentage, and mean. Most of respondents were male, aged between 23-27 years old, single, undergraduate student with a salary of 10,001-20,000 baht per month. The majority had exercised at the fitness center for two years, but not over three years. They exercised to maintain their shape. They had one-year-memberships and exercised for at least one hour, and not over two hours. They used services 3-4 times per week and selected to come on Monday evenings between 5.01 – 7.00 p.m. They exercised on free weight equipment: dumbbells, bar bells, weighted balls, etc. Most of them always came to the fitness alone and decided to exercise by themselves: no one persuaded them. Moreover, they did not consume dietary supplements (exercised only). The results found that the sub factors of the services marketing mix that affected the decisions for using services the most were as follows. In terms of the product, exercise equipment was in good condition and safe. In terms of pricing the service, the long-term members who renewed their memberships got discounts. In terms of place, the area of the fitness center was large enough to accommodate the customers. In terms of promotion, customers could utilize a free trial before applying for membership. In terms of process, systematic and standard training were provided. In terms of physical evidence, there was cleanliness in the fitness area, rest rooms and showers. In terms of people, the staff members were friendly; the personal trainers had abilities to motivate exercisers; and class teachers were experts in the field they taught.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายในการเลือกฟิตเนสในอำเภอเมืองเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeServices Marketing Mix Affecting Generation Y Consumers Towards Selecting Fitnesses in Mueang Chiang Mai Districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายในการเลือกฟิตเนสในอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 23-27 ปี สถานภาพโสด เป็นนักเรียน นักศึกษา รายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ใช้บริการฟิตเนสมาแล้วกว่า 2 ปีแต่ไม่เกิน 3 ปี โดยออกกำลังกายเพื่อเลือกรักษารูปร่าง โดยเป็นสมาชิกแบบรายบุคคล ประเภท 1 ปี โดยใช้บริการต่อครั้งมีระยะเวลา 1 ชั่วโมง – ไม่เกิน 2 ชั่วโมง และใช้บริการโดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 3- 4 ครั้ง โดยเลือกใช้บริการวันจันทร์ในช่วงเย็น 17.01- 19.00 น. เลือกเล่นอุปกรณ์ Free Weight เช่น ดัมเบล บาร์เบลและลูกน้ำหนัก ซึ่งตัวผู้ตอบแบบสอบถามมักจะมาออกกำลังเพียงคนเดียว โดยตนเองเป็นผู้ตัดสินใจเล่น ไม่มีคนชักชวน และในการออกกำลังกายนั้นไม่ได้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว) ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยย่อยของส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอันดับสูงสุดในแต่ละด้านมีดังต่อไปนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ คือ ปัจจัยย่อยด้านอุปกรณ์สำหรับออกกำลังกายอยู่ในสภาพดีและมีความปลอดภัย ด้านการกำหนดราคาบริการ คือ มีการลดราคาสำหรับสมาชิกเก่าที่ต้องการต่ออายุสมาชิก ด้านการจัดจำหน่ายบริการ คือ สถานที่ให้บริการกว้างขวาง สามารถรองรับปริมาณผู้ใช้บริการได้อย่างเพียงพอ ด้านสื่อสารการตลาดบริการ คือ มีการทดลองเล่นฟรีก่อนสมัคร ด้านกระบวนการในการบริการ คือ มีกระบวนการสอนอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน ด้านการสร้างหลักฐานทางกายภาพ คือ ความสะอาดในฟิตเนส ห้องน้ำ และห้องอาบน้ำ และด้านบุคลากร ในส่วนของเจ้าหน้าที่ในฟิตเนส คือ มีมนุษย์สัมพันธ์และอัธยาศัยที่ดี ผู้ฝึกสอนออกกำลังกายเฉพาะบุคคล คือ มีความสามารถในการสื่อสารเพื่อกระตุ้นจูงใจผู้เล่น และครูผู้สอนคลาส คือ มีความรู้ความสามารถในคลาสที่สอนen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.