Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68997
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. วรัท วินิจ-
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. ธันยานี โพธิสาร-
dc.contributor.authorอ้อย ทิพโรจน์en_US
dc.date.accessioned2020-07-21T06:06:47Z-
dc.date.available2020-07-21T06:06:47Z-
dc.date.issued2015-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68997-
dc.description.abstractAim of this independent study is study to behavior regarding to sustainable consumption concept of working-age people in fang district, Chiang Mai province towards purchasing a motorcycles. The questionnaire was used as the tool to collect data 400 using a quota sampling by occupation. Data were analyzed using descriptive statistics. The results presented that most respondents were married female, aged of 49-50 years old, with bachelor’s degree. The majority was the employee of private company and earned the monthly income at the amount of 5,001-10,000 baht. As a result, the respondents purchase motorcycle gear is motorcycle categories, size 101-125 cc, brand Honda and purchase price 40,001-50,000 baht cash payment. Futuremore the purpose is buy more of the same and use it for shopping or errands little. Moreover, the reasons to buy not only fuel economy but also gender respondents their own. Likewise, consumer buying from major distributors. Consumers recognize motorcycles from the media, television and promotions favorite is the giveaway. Cluster Analysis was used to explain the difference of consumer groups of the sample. The results were divided into two groups, consumer groups are a group of motorcycle buyers are consumers who are aware of the concept of sustainable consumption and general consumers. The most people are consumers who are aware of the concept of sustainable consumption 77 percent. According to the correlation analysis on general information of working-age people who bought a motorcycle, as divided into a group of working-aged consumers with sustainable consumption concept and a group of general, the results presented that the difference of personal factors on education background, career, average monthly income and the number of motorcycles in the family affected the correlation of these two groups. Nevertheless, the difference of personal factors on gender, age, marital status and number of family members did not affect the correlation among these two groups. Based upon the study on behavioral classification on the sustainable consumption concept towards purchasing a motorcycles of these two groups of consumers, the results suggested that the consumer behaviors on brand, size of motorcycles, the cost of purchasing, terms of payment, purpose of use the main objective, Influential individuals in deciding, channel, information sources and the promotion is giveaway affected to both groups of consumers. According to the study on statistic test of difference, the findings presented that both groups of consumers to focus on different marketing mix and consumer awareness of sustainable consumption concept is more important than general consumers. Product is differently paid importance to the following sub-factors: the brand, feature, save fuel, the after-sales service and manufactured environmentally friendly. Price: reasonable pricing, spare parts and service reasonable price and the price corresponds with the economic. Place: the reliability of the dealer location, the display of merchandise, time to open - closed and product varieties. However, the promotion consumers were two groups were not significantly different.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleพฤติกรรมตามแนวคิดการบริโภคที่ยั่งยืนของคนวัยทำงานในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ต่อการซื้อรถจักยานยนต์en_US
dc.title.alternativeBehavior According to Sustainable Consumption Concept of Working-Age People in Fang District, Chiang Mai Province Towards Purchasing Motorcyclesen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมตามแนวคิดการบริโภคที่ยั่งยืนของคนวัยทำงานในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ต่อการซื้อรถจักยานยนต์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 ชุด ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควตาตามอาชีพ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 42-50 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 5,001-10,000 บาท โดยพบว่ารถจักรยานยนต์ที่ผู้ตอบแบบสอบถามซื้อสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ประเภทเกียร์ธรรมดา ขนาดเครื่องยนต์ 101–125 ซีซี ยี่ห้อฮอนด้า ชำระด้วยเงินสด ราคา 40,001-50,000 บาท มีวัตถุประสงค์คือ ซื้อเพิ่มเติมจากของเดิม และใช้สำหรับซื้อของหรือทำธุระเล็กๆน้อยๆ เหตุผลในการตัดสินใจซื้อ เพราะประหยัดน้ำมัน และตัวผู้ตอบแบบสอบถามตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง โดยซื้อจากร้านตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ สื่อที่ทำให้รู้จักรถจักรยานยนต์ คือ โทรทัศน์ และรายการส่งเสริมการขายที่ชื่นชอบ คือ ของแถม เมื่อวิเคราะห์การจัดกลุ่ม (Cluster Analysis) ทำให้สามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 2 กลุ่มโดย กลุ่มผู้ซื้อรถจักรยานยนต์เป็นผู้บริโภคที่ตระหนักถึงแนวคิดการบริโภคที่ยั่งยืนและเป็นกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคที่ตระหนักถึงแนวคิดการบริโภคที่ยั่งยืนร้อยละ 77 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปกับกลุ่มคนวัยทำงานที่เคยซื้อรถจักรยานยนต์ โดยพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลในด้าน ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และจำนวนรถจักรยานยนต์ ที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่ม ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลทางด้านเพศ อายุ สถานภาพและจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่แตกต่างกันนั้นไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่ม เมื่อจำแนกพฤติกรรมตามแนวคิดการบริโภคที่ยั่งยืนต่อการซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคทั้งสองกลุ่ม พบว่า ยี่ห้อ ขนาดเครื่องยนต์ ค่าใช้จ่ายในการซื้อ เงื่อนไขในการชำระเงิน วัตถุประสงค์ในการใช้ วัตถุประสงค์หลัก บุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจ สถานที่ซื้อ แหล่งข้อมูลข่าวสาร รายการส่งเสริมการขายเป็นของแถมที่ชอบมากที่สุด มีความสัมพันธ์กับผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่ม เมื่อทดสอบความแตกต่างโดยค่าสถิติพบว่า ผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่มให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกันและผู้บริโภคที่ตระหนักถึงแนวคิดการบริโภคอย่างยั่งยืนให้ความสำคัญมากกว่าผู้บริโภคทั่วไป คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ตรายี่ห้อ รูปลักษณ์ การประหยัดน้ำมัน การบริการหลังการขาย และผลิตจากโรงงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านราคา ได้แก่ ระดับราคาเหมาะสมกับคุณภาพ ราคาอะไหล่ ค่าบริการตรวจเช็ค และราคาสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย ได้แก่ ความน่าเชื่อถือของตัวแทนจำหน่าย ทำเลที่ตั้ง การจัดวางสินค้า เวลาในการเปิด – ปิดทำการ มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย แต่ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่มให้ความสำคัญไม่แตกต่างกันen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.