Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68948
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อ.ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ | - |
dc.contributor.advisor | ผศ.ดร.ชูเกียรติ ชัยบุญศรี | - |
dc.contributor.author | พงศกร แซ่ลิ่ม | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-21T05:41:47Z | - |
dc.date.available | 2020-07-21T05:41:47Z | - |
dc.date.issued | 2015-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68948 | - |
dc.description.abstract | The objective of this independent study is to examine the readiness of Chiang Mai province as a MICE City under the composition of the MICE City 10 sides consist of Accessibility, Accommodation, Avenue, Amenities, Attraction, Activities, Accountability, Advancement, Award/Awareness and Agency. Include analyzing the economic impact of being a MICE City of Chiang Mai. In addition, analyze the relationship that occurs between exogenous latent variable (Readiness of being a MICE City of Chiang Mai) with endogenous latent variable (Economic impact of being a MICE City of Chiang Mai). Data were collected from people living in Chiang Mai and tourists both Thai and International tourists of 800 samples combined with information obtained from interviews with those involved in the MICE industry in Thailand. The research model was developed from literature and tested empirically with a Structural Equation Model. The results show that the model is statistically fitted with the data at 95% level of confidence. In the measurement model, it shows that the aspects of a MICE City that Chiang Mai scores the highest are avenue and opportunity for business advancement. The aspect that Chiang Mai scores the lowest is readiness of transportation. The path model shows that the readiness of being a MICE City can enhance the economic impact significantly especialy the value added to the local business, followed by an improvement in infrastructure, income distribution and job creation respectively. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลกระทบทางเศรษฐกิจของการเป็นเมืองไมซ์ กรณี จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | An Economic Impact of Being a MICE City: A Case of Chiang Mai | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของการเป็นเมืองไมซ์ของจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้องค์ประกอบของการเป็นเมืองไมซ์ (MICE City) 10 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านคมนาคมขนส่ง (2) ด้านที่พักแรม (3) ด้านสถานที่จัดงาน (4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดงาน (5) ด้านสิ่งดึงดูดใจ (6) ด้านกิจกรรม (7) ด้านความพร้อมของคนในท้องถิ่น (8) ด้านการผลักดันโอกาสทางธุรกิจ (9) ด้านรางวัล/ความสำเร็จ และ (10) ด้านผู้จัดงาน รวมทั้งศึกษาถึงผลกระทบจากการเป็นเมืองไมซ์ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยเน้นวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝงภายนอก (ความพร้อมของการเป็นเมืองไมซ์ของจังหวัดเชียงใหม่) กับตัวแปรแฝงภายใน (ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเป็นเมืองไมซ์ของจังหวัดเชียงใหม่) สำหรับข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการเก็บแบบสอบถามจากประชาชนที่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังจังหวัดเชียงใหม่ รวมจำนวน 800 ตัวอย่าง ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทย และใช้แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ในการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับการทดสอบความกลมกลืนหรือความสอดคล้องของโมเดล โดยพิจารณาจากค่าดัชนีสำคัญที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล พบว่า ค่า Comparative Fit Index (CFI) เท่ากับ 0.959 และค่า Tucker-Lewis Index (TLI) เท่ากับ 0.950 ทำให้ข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับโมเดลที่ใช้ ผลการศึกษา พบว่า จังหวัดเชียงใหม่มีความพร้อมด้านสถานที่จัดงานและการผลักดันโอกาสทางธุรกิจมากที่สุด ซึ่งมีคะแนนความพร้อมเท่ากันที่ 3.24 และด้านที่มีความพร้อมน้อยที่สุด คือ ด้านคมนาคมขนส่ง ซึ่งมีคะแนนความพร้อมเท่ากับ 2.34 และเมื่อพิจารณาคะแนนความพร้อมในภาพรวม พบว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้คะแนนสำหรับความพร้อมในการเป็นเมืองไมซ์ เท่ากับ 3.65 จากคะแนนความพร้อมเฉลี่ยเต็ม 5 นอกจากนี้พบว่า ประเด็นย่อยที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุด คือ การเป็นเมืองไมซ์ของจังหวัดเชียงใหม่จะสร้างรายได้ให้ภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นและจังหวัดเชียงใหม่มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมของการเป็นเมืองไมซ์ของจังหวัดเชียงใหม่ กับผลกระทบจากการเป็นเมืองไมซ์ของจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า “ถ้าความพร้อมของการเป็นเมืองไมซ์ของจังหวัดเชียงใหม่เปลี่ยนแปลงไป จะทำให้ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน” | en_US |
Appears in Collections: | ECON: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.