Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68934
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. ศุภชัย ศุภผล-
dc.contributor.authorวัชระพงษ์ พงค์ถิ่นen_US
dc.date.accessioned2020-07-21T05:39:59Z-
dc.date.available2020-07-21T05:39:59Z-
dc.date.issued2015-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68934-
dc.description.abstractThe objectives of this research, “The Royal – Nationalist Ideology Argument in “Pai Dang” by “Pai Tun” Literatures.” are to analysis and study the royal – nationalist ideology in “Pai Dang” literature , the royal-nationalist ideology argument in “Pai Dang” by “Pai Tun” literatures as well as the social and political influential. This research is a qualitative research. The method uses in this research are hermeneutic methodology. The research focuses on the royal – nationalist ideology in “Pai Dang” literature, the royal – nationalist ideology argument in “Pai Dang” by “Pai Tun” literatures. The subjects of this study are as follows: the monarch and the government, the region institution, the social and the bureaucracy and the political ideology. The results of this research show that the content about the royal – nationalist ideology in “Pai Dang” literature support Thai democracy as well as the main institution of Thailand (the nation institution, the Buddhism and the monarch) and resist the communism. The argument content in “Pai Tun” literature is descriptive that the social movement is the concept of democracy not communism .Moreover, The content in “Pai Tun” literature use satirical language in order to sarcastic and critical the bureaucracy of Thailand , the Buddhism downfall and the author of “Pai Dang” literature. Furthermore, this research finds that the royal – nationalist ideology are the powerful ideology in Thai politics as well as the Influential of the royal – nationalist ideology affect to the political idea of the author of “Pai Dang” literature and the public.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการโต้แย้งเกี่ยวกับอุมการณ์ราชาชาตินิยมในวรรณกรรม เรื่อง “ไผ่แดง” โดยวรรณกรรมเรื่อง “ไผ่ตัน”en_US
dc.title.alternativeThe Royal-Nationalist Ideology Argument in “Pai Dang” By “Pai Tun” Literatures.en_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง การโต้แย้งเกี่ยวกับอุดมการณ์ราชาชาตินิยมในวรรณกรรม เรื่อง “ไผ่แดง” โดยวรรณกรรมเรื่อง “ไผ่ตัน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อุดมการณ์ราชาชาตินิยมที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง”ไผ่แดง” ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และการโต้แย้งผลงานเรื่อง “ไผ่แดง” ของนายสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “ไผ่ตัน” ตลอดจนศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุและบริบททางการเมืองที่มีอิทธิพลในการประพันธ์วรรณกรรมเรื่อง “ไผ่แดง” และ “ไผ่ตัน” การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยด้วยวิธีการตีความ (Interpretive or hermeneutic) โดยแบ่งการศึกษาเป็นสองส่วนคือ การสอดแทรกอุดมการณ์ราชาชาตินิยมที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “ไผ่แดง” และการโต้แย้งผลงานเรื่อง “ไผ่แดง” โดยวรรณกรรมเรื่อง “ไผ่ตัน” โดยการศึกษาทั้งสองส่วนได้กำหนดประเด็นในการศึกษาในแต่ละส่วน เป็น 4 ประเด็นการศึกษา ได้แก่ สถาบันกษัตริย์และรัฐบาล, สถาบันศาสนา, สังคมและระบบราชการ และแนวคิดและอุดมการณ์ในการปกครอง ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเรื่อง “ไผ่แดง” มีเนื้อหาที่สอดแทรกอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และสนับสนุนการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบและผ่านพ้นปัญหาต่างๆไปได้เพราะสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และยังมีเนื้อหาโจมตีลัทธิคอมมิวนิสต์ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ไม่สอดคล้องกับสังคมและวิถีชุมชน ส่วนวรรณกรรมเรื่อง “ไผ่ตัน” ได้โต้แย้งอุดมการณ์ราชาชาตินิยม ในวรรณกรรมเรื่อง “ไผ่แดง” โดยการชี้ให้เห็นว่า การเคลื่อนไหวของประชาชนและนักศึกษาในทางการเมือง ไม่ได้นำมาซึ่งการทำลายระเบียบและสถาบันหลักของประเทศไทยแต่อย่างใด เพราะเป็นการเคลื่อนไหวภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตย นอกจากนี้ วรรณกรรมเรื่อง “ไผ่ตัน” ยังได้ใช้ภาษาที่เสียดสีผู้ประพันธ์วรรณกรรมเรื่อง “ไผ่แดง” และแสดงให้เห็นความไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการ และการเสื่อมถอยของสถาบันศาสนา จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า อุดมการณ์ราชาชาตินิยม ถือเป็นอุดมการณ์ที่มีผลต่อความคิดความเชื่อของสังคมไทยสูงมาก โดยอิทธิพลของอุดมการณ์ราชาชาตินิยมที่มีต่อผู้ประพันธ์วรรณกรรม และการส่งอุดมการณ์ดังกล่าวสู่สาธารณะผ่านวรรณกรรม ซึ่งเป็นผลให้อุดมการณ์ราชาชาตินิยมมีผลต่อความเชื่อของคนในสังคม และเป็นอุดมการณ์ที่ทรงพลังในทางการเมืองen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.