Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68933
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.โรจนา ธรรมจินดา-
dc.contributor.authorสิทธิพงศ์ วงศ์ษาพานen_US
dc.date.accessioned2020-07-21T05:39:53Z-
dc.date.available2020-07-21T05:39:53Z-
dc.date.issued2015-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68933-
dc.description.abstractThis independent study aimed to examine the attitude of people in Amphoe Mueang Chiang Mai towards life insurance for retirement policy. Populations in this study were specified to 373 samples residing in Amphoe Mueang Chiang Mai in the age of 30-55 years old in accordance with the convenient sampling method. Questionnaires were used as the tool to collect data. The data obtained were, then, assessed by statistics namely frequency, percentage, and mean. The findings presented that most respondents were married female in the age of 30-35 years old with bachelor’s degree. They worked as private company employee and earned monthly income at the over amount of 70,0001 Baht. Most of them had already carried life insurance. According to the study on three attitude components: cognitive, affective, and behavioral components of the people in Mueang Chaing Mai district, the results showed that those who were in a group of people with life insurance for retirement policy were aware that the life insurance for retirement policy was the policy with over 10 years of ceasing age, with the return of profit when the insurer aged at 55 – 85 years old or over, and with the tax reduction privilege which was limited to the policy attached by the parentheses stating that “retirement policy with tax reduction”, respectively. For those who were in a group of people without life insurance for retirement policy, they were aware that the life insurance for retirement policy was the policy that could be used to deduct the assembling income tax at the maximum of 15 percent for the maximum amount of income at 200,000 Baht. They were also aware that it was the policy with over 10 years in period and with the return of profit when the insurer aged at 55-85 years old or over, respectively. The top three elements in affective component that the respondents with life insurance for retirement policy ranked were to be the policy fostering an insurer to accumulate pension to secure their retirement age, to serve as security for the insurer and his/her family in the future, and the fame of insurance company affecting decision making towards the life insurance for retirement policy, respectively. The top three elements in affective component that the respondents without life insurance for retirement policy ranked were to serve as security for the insurer and his/her family in the future, the fame of insurance company affecting decision making to have the life insurance for retirement policy, and the knowledge and advices as offered by an insurance agent affecting decision making towards the life insurance for retirement policy, respectively. The top three elements in behavioral component that the respondents with life insurance for retirement policy ranked were respectively compiled from different aspects as follows: the top element in aspect of reason of having life insurance for retirement policy was to be another saving type; the top element in aspect of source of information where they learned about the product prior to purchase was the insurance agent; and the top element in an important aspect arousing their interest to have the life insurance for retirement policy was the income as gained during retirement period. The top three elements in behavioral component that the respondents without life insurance for retirement policy ranked were respectively compiled from different aspects as follows: the top element in aspect of reason of not purchasing life insurance for retirement policy was to have long term obligations; the top element in aspect of source of information influencing their decision making to have life insurance for retirement policy in the future was the insurance agent; and the top element in an aspect arousing them to have the life insurance for retirement policy in the future was the income as gained during retirement period.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleทัศนคติของประชาชนในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อ การประกันชีวิตแบบบำนาญen_US
dc.title.alternativeAttitude of People in Amphoe Mueang Chiang Mai Towards Life Insurance for Retirementen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ที่มีต่อประกันชีวิตแบบบำนาญ ประชากรของการศึกษาครั้งนี้คือ ประชาชนในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีอายุระหว่าง 30-55 ปี กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 373 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ประมวลผลข้อมูลโดยใช้ ค่าสถิติ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย จากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-35 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 70,001 บาท ส่วนใหญ่ทำประกันชีวิตแล้ว ผลการศึกษาด้านองค์ประกอบของทัศนคติของประชาชนในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ใน 3 องค์ประกอบ คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านความรู้สึกและความคิดเห็น และด้านพฤติกรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ทำประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วมีความรู้ความเข้าใจว่า ประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีอายุกรมธรรม์ตั้งแต่สิบปีขึ้นไป รองลงมาคือ ประกันชีวิตแบบบำนาญ จะจ่ายผลประโยชน์ให้แก่ผู้ทำประกันเมื่อมีอายุตั้งแต่ 55 ปี จนถึง 85 ปีหรือกว่านั้น และประกันแบบบำนาญที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ต้องมีวงเล็บ ว่าเป็น " บำนาญแบบลดหย่อนได้ " กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ทำประกันชีวิตแบบบำนาญมีความรู้ความเข้าใจว่า ประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้พึงประเมินได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท รองลงมา คือ ประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีอายุกรมธรรม์ตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และประกันชีวิตแบบบำนาญ จะจ่ายผลประโยชน์ให้แก่ผู้ทำประกันเมื่อมีอายุตั้งแต่ 55 ปี จนถึง 85 ปีหรือกว่านั้น ด้านความรู้สึกและความคิดเห็นของผู้ที่ทำประกันชีวิตแบบบำนาญแล้ว ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ การทำประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นการสร้างเงินบำนาญซึ่งเป็นรายได้ที่มั่นคงให้กับตนเองในวัยเกษียณ การทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ทำไว้เพื่อเป็นหลักประกันอนาคตให้กับตนเองและครอบครัว และชื่อเสียงของบริษัทประกันมีผลต่อการตัดสินใจทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ด้านความรู้สึกและความคิดเห็นของผู้ที่ไม่ได้ทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ การทำประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นการสร้างหลักประกันอนาคตให้กับตนเองและครอบครัว ชื่อเสียงของบริษัทประกันชีวิต มีผลต่อการตัดสินใจทำประกันชีวิตแบบบำนาญ และความรู้และคำแนะนำโดยตัวแทนประกันชีวิตมีผลต่อการตัดสินใจทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ด้านพฤติกรรมของผู้ที่ทำประกันชีวิตแบบบำนาญแล้ว ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก แบ่งออกเป็นด้านเหตุผลในการตัดสินใจทำประกันชีวิตแบบบำนาญ คือ เป็นการออมทรัพย์รูปแบบหนึ่ง รองลงมา ด้านแหล่งข้อมูลก่อนการตัดสินใจทำประกันชีวิตแบบบำนาญ คือ ตัวแทนประกันชีวิต และด้านปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสนใจทำประกันชีวิตแบบบำนาญ คือ รายได้หลังเกษียณ ด้านพฤติกรรมของผู้ที่ไม่ได้ทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก แบ่งออกเป็นด้านเหตุผลที่ไม่ทำประกันชีวิตแบบบำนาญคือ ภาระผูกพันยาวนานเกินไป รองลงมาด้านแหล่งข้อมูลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจทำประกันชีวิตแบบบำนาญในอนาคต คือ ตัวแทนประกันชีวิต และด้านปัจจัยในการทำประกันชีวิตแบบบำนาญในอนาคต คือ รายได้หลังเกษียณen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.