Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68845
Title: ฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดหยาบขมิ้นชันต่อเชื้อ Enterococcus faecalis ที่เจริญแบบอิสระและไบโอฟิล์
Other Titles: Antimicrobial activity of Curcuma longa Linn. crude extract against Enterococcus faecalis planktonic and biofilm growth
Authors: พัชราภรณ์ ดีกัง
ณัฐติกา กัดก้อน
อุเทน ฟองวาริน
สุทธิมาส หยวกหยง
สุทธิพลินทร์ สุวรรณกุล
Authors: พัชราภรณ์ ดีกัง
ณัฐติกา กัดก้อน
อุเทน ฟองวาริน
สุทธิมาส หยวกหยง
สุทธิพลินทร์ สุวรรณกุล
Keywords: ขมิ้นชัน;การเจริญแบบไบโอฟิล์ม;Enterococcus faecalis;Curcuma longa Linn;Biofilm
Issue Date: 2556
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 34,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2556), 117-129
Abstract: วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อ Enterococcus faecalis (E. faecalis) ที่เจริญแบบอิสระและไบโอฟิล์มของสารสกัดหยาบขมิ้นชัน วิธีการศึกษา: สกัดขมิ้นชันด้วยเอทานอลเข้มข้นร้อยละ 95 ก่อนนำสารสกัดมาศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อE. faecalis ขั้นต้นด้วยวิธี Agar disc diffusion assay และหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ (Minimal inhi-bitory concentration; MIC) และฆ่าเชื้อ (Minimal bactericidal concentration; MBC) ด้วยวิธี Broth dilution asay และศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อ E. faecalis ที่เจริญแบบอิสระและไบโอฟิล์มเปรียบ เทียบกับคลอร์-เฮกซิดีนกลโคเนตความเข้มขั้นร้อยละ 0.2 ปริมาณโดยปริมาตร (0.2% w/v) ผลการศึกษา: สารสกัดหยาบขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้าน E. faecalis ที่เจริญแบบอิสระ โดยมีค่า MIC และ MBC ของสารสกัดหยาบขมิ้นซันต่อเชื้อเท่ากับ 25 และ 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนคลอร์เฮกซิดีนกลโคเนต มีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 0.031 และ 0.063 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับสารสกัดหยาบขมิ้นชันยับยั้งการเจริญไปเป็นไบโอฟิล์มของเชื้อ E. faecalis ได้ทั้งหมดที่ความเข้มข้น 300 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร นอกจากนี้สารสกัด หยาบขมิ้นชันยังสามารถต้านเชื้อ E. faecalis ที่เจริญแบบไบโอฟิล์มแล้วได้ โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อ E. faecalis ที่เป็นแบบไบโอฟิลม์แล้วเท่ากับ 37.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร แต่อย่างไรก็ตามความเข้มข้นสูงสุดที่ใช้ในการศึกษานี้ยังไม่สามารถแสดงฤทธิ์กำจัดเชื้อ E.faeeali ที่เจริญเป็นไบโอฟิลม์แล้วได้ทั้งหมด สรุป: สารสกัดหยาบขมิ้นชันนั้นมีประสิทธิภาพ ในการต้านเชื้อ E. faeealis ทั้งที่เจริญแบบอิสระและแบบไบโอฟิล์มได้ แต่อย่างไรก็ตามความเข้มข้นที่ใช้ในการยับยั้งเชื้อ E. faealis ที่เจริญแบบไบโอฟิล์มนั้นสูงกว่าเชื้อที่เจริญแบบอิสระ The aim of this study was to determine the antibacterial activity of Curcuma longa Linn. Crude extract that against Enterococcus faecalis planktonic and biofilm. Method Crude extracts from Curcuma were extracted by 95% ethanol. The antibacterial activity against Enterococcus faecalis was carried out by agar disc diffusion assay and determined both MIC and MBC of crude extracts against Enterococcus faecalis planktonic and biofilm by broth dilution assay compared to chlorhexidine gluconate (0.2 % w/v). Result The MIC and MBC of the crude extracts against Enterococcus faecalis planktonic were 25 mg/ml and 50 mg/ml, respectively, whereas those of 0.2% chlorhexidine gluconate were 0.031 mg/ml and 0.063 mg/ml, respectively. The crude extract was able to totally inhibit growth of Enterococcuc faecalis biofilms at concentration of 300 mg/ml. In addition, the crude extracts inhibited Enterococcus faecalis established biofilm at the minimal concentration of 37.5 mg/ml, however the eradication of established Enterococcus faecalis biofilm was not seen at the highest concentration used in this study. Conclusion The crude extracts have antibacterial activity against Enterococcus faecalis both planktonic and biofilm. However, the concentration that can inhibit Enterococcus faecalis biofilm is higher than planktonic forms.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2556_34_2_337.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68845
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.