Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68842
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพลิน ภู่จีนาพันธุ์-
dc.contributor.authorศิริรัตน์ ธรรมใจen_US
dc.date.accessioned2020-07-15T04:27:31Z-
dc.date.available2020-07-15T04:27:31Z-
dc.date.issued2015-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68842-
dc.description.abstractThe study “Political Power Maintenance of Local Leaders in Mae Tha District, Lamphun Province” aimed to investigate factors affecting political power maintenance of local leaders whom have been trusted by local people in Mae Tha District, Lamphun, and to study how the local leaders maintained their political power in Mae Tha District, Lamphun. This qualitative research employed an in-depth interview method to collect the data from 78 key informants comprising of formal and informal leaders as well as officials in Mae Tha District. The followings were six factors found in the study which affected the political power maintenance of local leaders whom have been trusted by the local people. 1. Legal factor: unspecified term in office allowed local leaders to work continuously. 2. Personal factor: this factor included education, work experience, personality, age, and family reputation of each leader. 3. Relationship with local relative factor: this factor supported campaigns and passed on information from the local leaders. 4. Political factor: most local leaders would be neutral in terms of the political parties and the MPs but would have relationships with other local leaders. 5. Interest group factor: this factor included, for instance, local leaders, community health volunteers, senior citizen. 6. Other factors: economic condition of the opponents and budget investment factor, for example, affected the local people to trust the leaders and supported them while in the office. Furthermore, the study revealed five strategies the local leaders employed to maintain their political power. 1. Personality or image building for the local leaders 2. Introducing and publicizing individual leaders through media to be well known 3. Participating in local public interest activities to build cultural relationships 4. Budget management especially finding sources of funding or providing assistance and development for the people and sub-districts 5. Political strategies and other factors to support the chances to win the elections In terms of suggestions, it could be recommended that local people should be supported to participate in politics and the mechanism of checks and balances should be created because the local leaders in Mae Tha District, Lamphun maintained their political power by relying on different factors, for example, political, legal, interest group factors, which, consequently, became political networks under a patronage system. This could result in the monopoly of political power of the local leaders and the decline in chances to develop the local leaders. For future research, it should include supportive factors among local politicians, political parties, and national politicians, especially, factors relying on personal relationships to connect with financial and work supports to create dimensions of knowledge in political structure. In addition, other leader cases in the local areas should be included in the study, for instance, the merchants association, the senior citizen groups, and youth groups as they have played more important roles in politics. Especially, a study should include their roles as political leader supporters.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการรักษาอำนาจทางการเมืองen_US
dc.subjectการเมืองen_US
dc.subjectผู้นำท้องถิ่นen_US
dc.titleการรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativePolitical power maintenance of local leaders in Mae Tha district, Lamphun provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc352.14-
thailis.controlvocab.thashผู้นำชุมชน -- แม่ทา (ลำพูน)-
thailis.controlvocab.thashผู้นำทางการเมือง -- แม่ทา (ลำพูน)-
thailis.controlvocab.thashอำนาจชุมชน-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 352.14 ศ373ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษา การรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในพื้นที่ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน รวมทั้งเพื่อศึกษาและวิเคราะห์วิธีการรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่น อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)โดยใช้วิธีแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล (Key Informants) จำนวน 78 คน ประกอบด้วยกลุ่มผู้นำท้องถิ่นที่เป็นทางการ กลุ่มผู้นำที่ไม่เป็นทางการ และข้าราชการในพื้นที่อำเภอแม่ทา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในพื้นที่ มี 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านกฎหมาย การไม่ได้กำหนดวาระตำแหน่งเอื้อประโยชน์ให้กับผู้นำท้องถิ่นสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ทั้งด้านการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ลักษณะนิสัย อายุ และชื่อเสียงวงศ์ตระกูลของแต่ละบุคคล 3) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ของเครือญาติในพื้นที่มีส่วนช่วยเหลือสนับสนุน หาเสียง หรือกระจายข่าวสารของผู้นำท้องถิ่น 4) ปัจจัยด้านการเมือง ผู้นำท้องถิ่นส่วนใหญ่จะวางตัวเป็นกลางไม่แสดงความสัมพันธ์ทางการเมืองกับพรรคการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ประชาชนรับรู้แต่จะมีสายสัมพันธ์กับการเมืองระดับท้องถิ่นด้วยกันเอง 5) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้สูงอายุ 6) ปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจภาพพจน์ของผู้สมัครคู่แข่ง ปัจจัยด้านเงินทุน มีผลทำให้ประชาชนไว้วางใจผู้นำท้องถิ่นและสนับสนุนผู้นำท้องถิ่นท้องถิ่นในขณะดำรงตำแหน่งได้ สำหรับวิธีการรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่น ที่ทำให้ผู้นำท้องถิ่นสามารถรักษาอำนาจทางการเมืองได้ มีทั้งสิ้น 5 วิธีการ คือ 1) วิธีการในการสร้างบุคลิกภาพหรือภาพพจน์ให้แก่ตัวผู้นำท้องถิ่น 2) วิธีการในการประชาสัมพันธ์ตัวบุคคล การใช้สื่อต่าง ๆ ช่วยในการแนะนำและทำให้ผู้นำท้องถิ่นเป็นที่รู้จัก 3) วิธีการในการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม 4) วิธีการการบริหารจัดการงบประมาณ โดยเฉพาะการจัดหาแหล่งงบประมาณหรือการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาประชาชนและพื้นที่ตำบล 5) วิธีการทางการเมืองผ่านการต่อสู้ในการเลือกตั้งและใช้ปัจจัยต่าง ๆ มาส่งเสริมโอกาสในการชนะการเลือกตั้ง ข้อเสนอแนะของผลการศึกษาการวิจัย คือ การส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และการสร้างกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับประชาชน เนื่องจากในการรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้อาศัยปัจจัยและวิธีการต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง ทั้งข้อกฎหมาย และความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ คอยช่วยเหลือ เกื้อกูลจนกลายเป็นเครือข่าย ทางการเมืองภายใต้ระบบอุปถัมภ์ซึ่งอาจนำมาสู่การผูกขาดอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นและทำให้โอกาสในการพัฒนาผู้นำในพื้นที่ลดน้อยลงไป ข้อเสนอแนะการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่เกื้อกูลกันระหว่างนักการเมืองระดับท้องถิ่นกับพรรคการเมืองและนักการเมืองระดับชาติ เพื่อเพิ่มมิติองค์ความรู้ทางโครงสร้างการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะการอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวในการเชื่อมโยงกับการสนับสนุน ด้านงบประมาณ ด้านการทำงาน รวมทั้ง ควรมีการศึกษากรณีกลุ่มตัวอย่างผู้นำอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ท้องถิ่น เช่น กลุ่มสมาคมพ่อค้า กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชน ที่มีบทบาทสำคัญในทางการเมืองระดับท้องถิ่นมากขึ้น โดยเฉพาะควรมีการศึกษาบทบาทในฐานะผู้สนับสนุนกลุ่มผู้นำทางการเมืองen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.