Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67179
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการให้บริการของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ปี 2561 |
Other Titles: | he research on factors affecting service satisfaction of the Social Security Office (SSO) in 2018 |
Authors: | สุขุม พันธุ์ณรงค์ |
Authors: | สุขุม พันธุ์ณรงค์ |
Keywords: | ความพึงพอใจ;การให้บริการ;การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 23, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562), 39-66 |
Abstract: | การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการให้บริการของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ปี 2561 มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ปี 2561 ที่มีต่อการให้บริการของ สปส. และ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของ สปส. เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการของ สปส.กระจายตัวอย่างตามโครงสร้างประชากรผู้ประกันตน 142 หน่วยบริการทั่วประเทศ จำนวน 22,356 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการใช้ Likert Scale ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจใช้การวิเคราะห์สมการถดถอย(Linear Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการให้ความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (4.251 คะแนน) โดยผู้ใช้บริการให้คะแนนความพึงพอใจในการพัฒนารูปแบบการให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตสูงสุด (4.631 คะแนน) รองลงมาได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวก (4.284 คะแนน) และการให้บริการของเจ้าหน้าที่ (4.261 คะแนน) ตามลำดับ ผู้ใช้บริการใน สปส. ขนาดใหญ่ มีแนวโน้มที่จะมีความพึงพอใจการให้บริการของ สปส. น้อยกว่าผู้ใช้บริการใน สปส. ขนาดเล็ก การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของ สปส. โดยสมการถดถอยที่ระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้บริการจะเพิ่มขึ้น เมื่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ดีขึ้น ความเชื่อมั่นในคุณธรรมและความโปร่งใสดีขึ้น ความผูกพันของผู้ใช้บริการดีขึ้น กระบวนการและขั้นตอนให้บริการดีขึ้น ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร มีผลต่อความพึงพอใจแต่จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม |
Description: | วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการ |
URI: | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/216985/160301 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67179 |
ISSN: | 0859-8479 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.