Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66857
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.มาลินี คุ้มสุภา-
dc.contributor.authorคฑาวุธ วรรณกูลen_US
dc.date.accessioned2019-09-23T04:03:44Z-
dc.date.available2019-09-23T04:03:44Z-
dc.date.issued2015-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66857-
dc.description.abstractThis research aimed to study about the cause of the district-chief officer position, the authority of the sheriff since B.E.2457-2557, the study had analyzed the information from regulatory law books, academic theses and research. Including search and information systems. The concept The theory used in this study. The study found that the sheriff happens when a major administrative reform. In the reign of King Rama VI(5) Once enacted, the regional administration B.E.2440 in the Department of District to be under Ministry of Interior. At the present, appointing sheriff have to operate belong to the laws and regulations of the government's Civil Service Act B.E.2535 Regulations on the Administration Department of the human resource in B.E.2535. Change the authority of the district-chief officer from B.E. 2457 - 2557 has caused from the current politically active. And the push for decentralization to local governments. Especially, the restructuring of local government to be clear and the process of directly elected instead of appointed. Through the enactment of a Law Act. This makes local governments have to separate and manage themselves more independent. What once was a district-chief officer’s authority was transferred to local governments more than before. Because of this case, the image and leadership in the management of local government was outstanding. In spite of the legal authority of the sheriff will be reduced, but the authority and responsibility to the society which has not been provided are still noticeable so far. In summary, the authority of the district-chief officer since B.E. 2457 - 2557 in the first period as the original of the district-chief officer. The authority of them is widely across all regions. The second period was a new democracy after the change of government in B.E. 2475, which is an attempt to reduce the role and authority of the district-chief officer or the provincial area but they are still the one who has a lot of power. The third phase is the period after the overthrow of dictator. The distribution of power has become active through direct elections. Dickerson began with limited powers. The fourth was a pioneer decentralized clearer but the authority of the district-chief officer's overtly suggests. The fifth phase, is the golden age of the awakening of the real decentralization through support by the highest legal authority is the Constitution Act B.E. 2540, most of the district-chief officer’s authority was reduced in this period. the last phase, powers and duties of the district-chief officer came back again and used for to be a tool of state authority.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectอำนาจen_US
dc.subjectนายอำเภอen_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตั้งแต่ พ.ศ.2457-2557en_US
dc.title.alternativeChanges of Authorities of District Chief B.E.2457-2557en_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc363.282-
thailis.controlvocab.thashนายอำเภอ-
thailis.manuscript.sourceว 363.282 ค132ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาของตำแหน่งนายอำเภอ การเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ และสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตั้งแต่ พ.ศ.2457 – 2557 ผู้ศึกษาได้ศึกษาวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูลจากกฎหมาย หนังสือ ตำราทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ และผลงานวิจัยต่างๆ รวมถึงการสืบค้นในระบบสารสนเทศ ประกอบกับแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าโครงสร้างการปกครองในตำแหน่ง “นายอำเภอ”เกิดขึ้นเมื่อครั้งการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่5 เมื่อครั้งการตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2440 ในรูป “กรมการอำเภอ” สังกัดกระทรวงมหาดไทย แต่ปัจจุบันการพิจารณาแต่งตั้งนายอำเภอ ต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายและระเบียบของทางราชการ คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 และระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2535 การเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตั้งแต่ พ.ศ.2457 - 2557 มีสาเหตุจากกระแสการตื่นตัวทางการเมือง และการผลักดันการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความชัดเจนและมีที่มาจากกระบวนการเลือกตั้งโดยตรงแทนการแต่งตั้ง ผ่านการตราเป็นกฎหมายชั้นพระราชบัญญัติ โดยมีรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 รองรับ ซึ่งทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการปรับตัวด้านการบริหารจัดการที่เป็นอิสระมากขึ้น อำนาจหน้าที่เดิมที่เคยเป็นของนายอำเภอได้ถูกปรับโอนไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์และความเป็นผู้นำในสังคมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้โดดเด่นขึ้น แต่ในทางตรงข้ามอำนาจหน้าที่ในทางกฎหมายของนายอำเภอได้ถูกทำให้ลดลง อย่างไรก็ตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในทางสังคมซึ่งมิได้มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายยังปรากฏอยู่จวบทุกวันนี้ กล่าวโดยสรุปการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตั้งแต่ พ.ศ.2457 – 2557 ในช่วงแรกเป็นช่วงกำเนิดนายอำเภออำนาจหน้าที่ของนายอำเภอจึงมีอย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องที่ ช่วงที่สองเป็นช่วงประชาธิปไตยใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ซึ่งมีความพยายามที่จะลดบทบาทและอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอหรือส่วนภูมิภาคลงแต่สุดท้ายนายอำเภอยังคงมีอำนาจอยู่มาก ช่วงที่สามเป็นช่วงหลังการโค่นอำนาจรัฐเผด็จการ กระแสกระจายอำนาจเริ่มตื่นตัวผ่านการเลือกตั้งโดยตรงนายอำเภอจึงเริ่มมีอำนาจที่จำกัด ช่วงที่สี่เป็นบุกเบิกกระแสกระจายอำนาจชัดเจนขึ้น แต่อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอก็ยังปรากฎชัดให้เห็น ครั้นช่วงที่ห้า ถือเป็นยุคทองของกระแสการตื่นตัวของการกระจายอำนาจที่แท้จริงผ่านการรองรับโดยกฎหมายสูงสุด คือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 อำนาจหน้าที่นายอำเภอจึงถูกลดทอนมากที่สุดในช่วงนี้ ช่วงที่หก เป็นช่วงที่อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอกลับมาอีกครั้งจาการเป็นเครื่องมือของผู้อำนาจรัฐen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.