Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66758
Title: | อัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสมสำหรับการผลิตกระเทียมในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Other Titles: | Optimum Rate of Nitrogen Fertilizer for Garlic Production in Khun Yuam District, Mae Hong Son Province |
Authors: | อนุสรา อินน้อย" เกวลิน คุณาศักดากุล ชูชาติ สันธทรัพย์ |
Authors: | อนุสรา อินน้อย" เกวลิน คุณาศักดากุล ชูชาติ สันธทรัพย์ |
Keywords: | กระเทียม;ปุ๋ยไนโตรเจน;การเจริญเติบโต;ผลผลิต;คุณภาพของกระเทียม |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารเกษตร 35, 2 (พ.ค. 2562), 215-226 |
Abstract: | การศึกษาอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสมสำหรับการผลิตกระเทียม ได้ดำเนินการทดลองในพื้นที่ปลูกกระเทียมของเกษตรกรในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (randomized complete block design, RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธีทดลอง ประกอบไปด้วยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่แตกต่างกัน 4 กรรมวิธี คือ 62.50, 93.75, 125.00 และ 193.75 กก. N/เฮกตาร์ โดยมีกรรมวิธีที่ไม่ใส่ปุ๋ยเป็นชุดควบคุม จากผลการศึกษาพบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่แตกต่างกัน (62.50-193.75 กก. N/เฮกตาร์) ไม่ทำให้ค่าเฉลี่ยของความสูง จำนวนใบ เส้นผ่านศูนย์กลางหัว น้ำหนักแห้ง ปริมาณผลผลิต น้ำหนักต่อหัว ความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักในหัวกระเทียม การสูญเสียน้ำหนัก และเปอร์เซ็นต์ความเสียหายของกลีบกระเทียมในช่วงเก็บรักษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 125.00 กก. N/เฮกตาร์ ทำให้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย (20.8 ตัน/เฮกตาร์) เส้นผ่านศูนย์กลางหัวเฉลี่ย (41.25 มม.) และน้ำหนักต่อหัวเฉลี่ย (26.09 กรัม/หัว) ของกระเทียมสูงที่สุด อย่างไรก็ตามการให้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 62.50 กก. N/เฮกตาร์ เพียงพอต่อการผลิตกระเทียมสดและคุณภาพของกระเทียมเพื่อใช้เป็นหัวพันธุ์ โดยกระเทียมให้ผลผลิตเฉลี่ย 20.2 ตัน/เฮกตาร์ เส้นผ่านศูนย์กลางหัวเฉลี่ย 40.45 มม. น้ำหนักต่อหัวเฉลี่ย 23.31 กรัม/หัว เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักและความเสียหายของกลีบกระเทียมเฉลี่ยในช่วงเก็บรักษาเฉลี่ยเท่ากับ 54.82% และ 4.73% ตามลำดับ |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/189357/132750 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66758 |
ISSN: | 0857-0842 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.