Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/62896
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดุรยา สุขถมยา-
dc.contributor.authorอรรคเดช นามโนรินทร์en_US
dc.date.accessioned2018-12-11T07:40:49Z-
dc.date.available2018-12-11T07:40:49Z-
dc.date.issued2558-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/62896-
dc.description.abstractThis independent research purposes to study on 1) the sufficiency and the appropriateness of internal financial and accounting system of Kut Chap Sub-district Municipality, Kut Chap District in Udornthani and 2) to use the research information as guidelines in the improvement of the system for the sufficiency and the appropriateness of practice in the unit later. The population framework is the financial and accounting officers in the treasury department of the Kut Chap Sub-district Municipality in Kut Chap District, Udornthani for 35 persons. The selection of the sample group applied the target specification method dividing into 2 sections: Section 1, the sample populations consisted of 21 respondents from 35 persons and Section 2, there are 7 respondents from 35 persons. The study tool can be divided into 2 sections as well, 1) Questionnaire relates to internal financial and accounting system and working process of treasury department, including 6 aspects which are general money collection, money receipt, payment, bank deposit, balance at treasury and advance payment, and 2) Interview is composed of open questions according to the concept of internal control of State Audit Commission which is divided into 5 elements, i.e., environment control, risk assessment, activities control, information & communication and monitoring in finance and accountancy. The information from questionnaires would be analyzed by statistical analysis which is descriptive analysis including frequency, percentage and mean. For interview method, the information would be accumulated and analyzed the content. The study result can be divided in 2 sections: Section 1, the questionnaire information from Kut Chap Sub-district in Kut Chap District of Udornthani, it shows that the mean of internal control in 6 financial and accounting activities are in the good level, conforming to the purpose of internal control of Office of the Auditor General of Thailand except risk assessment while segregation of duties requires to be improved, and Section 2, according to the interview analysis, it is founded that the risk assessment process in finance and accountancy of the Sub-district Municipality has been responsible by only one person, resulting in the incompletion and inaccuracy of data and lack of co-workers’ cooperation. In terms of activitiescontrol, the segregation of duties is not appropriate due to the limit of working capacity while the analysis result matches to the questionnaire that there is no measurement for monitoring advance payment. For the information & communication, related personnel lack knowledge and understanding in accounting information system that they are using. Regarding the study result, the unit should increase the limitation of framework which is suitable for the responsibility and it can be segregated properly with capacity to improve the knowledge and the understanding of accounting information among financial and accounting personnel of the Sub-district Municipality.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการควบคุมภายในen_US
dc.subjectการเงินและการบัญชีen_US
dc.subjectเทศบาลตำบลen_US
dc.titleการประเมินระบบการควบคุมภายในทางด้านการเงินและการบัญชีของเทศบาลตำบลในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานีen_US
dc.title.alternativeEvaluation of Financial and Accounting Internal Control System of Subdistrict Municipality in Kut Chap District, Udonthani Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc658.4013-
thailis.controlvocab.thashการควบคุมภายใน-
thailis.controlvocab.thashการบัญชี-
thailis.controlvocab.thashการเงิน-
thailis.controlvocab.thashเทศบาลตำบล -- อุดรธานี-
thailis.manuscript.sourceว 658.4013 อ177ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ในศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาถึงความเพียงพอและเหมาะสมของระบบการควบคุมภายในทางด้านการเงินและการบัญชีของเทศบาลตำบลในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อนำข้อมูลจากการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบควบคุมภายในทางด้านการเงินและการบัญชีให้มีความเพียงพอและเหมาะสมกับลักษณะในการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลต่อไป ขอบเขตประชากรคือ ผู้ปฏิบัติงานทางด้านการเงินและการบัญชี ในกองคลังของเทศบาลตำบลในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี จำนวนทั้งสิ้น 35 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเจาะจงจากตำแหน่ง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 กลุ่มตัวอย่างประชากรสำหรับผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 21 คนจากประชากรทั้งหมด 35 คนส่วนที่ 2 กลุ่มตัวอย่างประชากรสำหรับผู้ตอบคำถามสัมภาษณ์ จำนวน 7 คน จากประชากรทั้งหมด 35 คน เครื่องมือในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1) แบบสอบถามจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมภายในทางด้านการเงินและการบัญชีและกระบวนการทำงานของกองคลัง 6 ด้าน ได้แก่ การเก็บรักษาเงินโดยทั่วไปการรับเงินการจ่ายเงิน เงินฝากธนาคาร เงินฝากคลังและเงินทดรองยืม 2) แบบสัมภาษณ์คำถามสัมภาษณ์เป็นลักษณะปลายเปิด ตามแนวคิดการควบคุมภายในของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินแบ่งเป็น 5 องค์ประกอบได้แก่ สภาพแวดล้อมการควบคุม การประเมินความเสี่ยง กิจกรรมควบคุม สารสนเทศ และการสื่อสาร การติดตามและประเมินผลทางด้านการเงินและการบัญชี การรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถามจะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าทางสถิติในการวิเคราะห์คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยสำหรับแบบสัมภาษณ์ใช้การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลจากแบบถามของเทศบาลตำบลใน อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี พบว่า มีระดับค่าเฉลี่ยของการควบคุมภายในของกิจกรรมทางด้านการเงินและการบัญชีโดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับดี สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ยกเว้นเรื่องของ การแบ่งแยกหน้าที่ให้เพียงพอและเหมาะสม ที่ต้องแก้ไขปรับปรุงส่วนที่ 2 ผลสัมภาษณ์จากการวิเคราะห์พบว่า ด้านการประเมินความเสี่ยง เรื่องกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านการเงินและการบัญชีของเทศบาลตำบล ถูกจัดทำขึ้นจากบุคคลเพียงคนเดียว ทำให้ได้ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่ไม่ครบถ้วนและถูกต้อง ขาดความร่วมมือของคนในหน่วยงาน ด้านกิจกรรมควบคุมเรื่องการแบ่งแยกหน้าที่ ที่มีความไม่เหมาะสมเนื่องจากข้อจำกัดทางด้านกรอบอัตรากำลังและมีผลการวิเคราะห์ตรงกับแบบสอบถาม และกิจกรรมด้านเงินทดรองยืมไม่มีมาตรการในการติดตามเงินทดรองยืม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่องของการขาดความรู้ ความเข้าใจในระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่นำมาใช้ของบุคลากร จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการเพิ่มกรอบอัตราให้เหมาะสมกับภาระงานเพื่อสามารถแบ่งแยกหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม และการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่นำมาใช้แก่บุคลากรทางด้านการเงินและการบัญชีของเทศบาลตำบลen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docAbstract (words)189 kBMicrosoft WordView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 244.06 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS6.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.