Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48626
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.author | ธณัฐดา พงศ์ธนสกุล | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-05-03T02:38:29Z | - |
dc.date.available | 2018-05-03T02:38:29Z | - |
dc.date.issued | 2558-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48626 | - |
dc.description.abstract | The purposes of this study were: 1) to analyze the system and the results of integrated area based management operation, 2) to study the problems of integrated area based management operation, 3) to analyze the way to improve integrated area based management operation in Doi Suthep – Pui National Park in order to achieve objectives. The study was a qualitative research. Data collecting instrument were semi- structured interviews. The target groups were 10 supervisors and 11 field staff of Doi Suthep – Pui National Park. The results of the study were as follows: The integrated area based management operation in Doi Suthep – Pui National Park was the operation with the Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation and it was under the command of Protected Areas Regional Office 16. It covered 4 management zones. Its task was to coordinate with the Prevention and Suppression, Forest Fire Control, Tourism and Services, Restoration of Natural Resources and Environment, Academic Affair and to make a database of every dimension in the area of liability. Moreover, it was found that the integrated area based management operation in Doi Suthep – Pui National Park was very successful. It could reduce the complexity of the operations. Problems could be resolved quickly, especially in the early stage of working with the Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. The community was also involved in the operation, meeting, doing activities, and solving problems. Those activities included forest fire prevention, afforestation, seedling distribution, training, public relation, etc. However, it was the short-term operation. Nevertheless, there were some problems in the integrated area based management operation in Doi Suthep – Pui National Park. There were problems during operations and the desired results were not clear. They were also the lack of budget was used to support the operation as well as no monitoring system and continuous evaluation. For the ways to improve the integrated area based management operation in Doi Suthep – Pui National Park, the integrated management system should be defined to be clear in order to make those who involved in the operation understand their roles and duties. It should be stimulated and evaluated regularly. It should consider the results of operation for the morale of the workers. In addition, it should have budget allocation for each management zone in order to support the integrated management system. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การจัดการเชิงพื้นที่ | en_US |
dc.subject | อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย | en_US |
dc.title | การดำเนินงานแบบบูรณาการในการจัดการเชิงพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย | en_US |
dc.title.alternative | Integrated Area Based Management Operation in Doi Suthep – Pui National Park | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 333.782 | - |
thailis.controlvocab.thash | อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย | - |
thailis.controlvocab.thash | อุทยานแห่งชาติ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 333.782 ธ1411ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ถึงระบบและผลการดำเนินงานแบบบูรณาการในการจัดการเชิงพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานแบบบูรณาการในการจัดการเชิงพื้นที่อุทยาน- แห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 3) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการปรับปรุงการทำงานแบบบูรณาการในการจัดการเชิงพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยให้สามารถทำงานร่วมกันได้ตามเป้าหมาย วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากหัวหน้าหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จำนวน 10 รายและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานภาคสนาม จำนวน 11 ราย ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานแบบบูรณาการในการจัดการเชิงพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยเป็นการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่มีที่ตั้งและปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ภายใต้คำสั่งของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16โดยกำหนดเป็นเขตการจัดการ อ้างอิงตามเขตอำเภอที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีพื้นที่อยู่ในอำเภอนั้นๆ เป็น 4 เขตการจัดการ โดยมีหน้าที่ในการประสานงานด้านป้องกันและปราบปราม ด้านการปฏิบัติการควบคุมไฟป่า ด้านการท่องเที่ยวและการให้การบริการ ด้านฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านวิชาการด้านการมีส่วนร่วม และด้านการจัดทำฐานข้อมูลทุกมิติในพื้นที่รับผิดชอบ ผลการดำเนินงานแบบบูรณาการในการจัดการเชิงพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยพบว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ช่วยลดปัญหาที่มีความซับซ้อนหรือยุ่งยากในการปฏิบัติงาน สามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะระยะแรกๆ มีการประสานการทำงาน การร่วมกันระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยการออกปฏิบัติงาน การประชุม ปรึกษาหารือ และพบปะทำกิจกรรมและแก้ไขปัญหาร่วมกับกับชุมชนในพื้นที่ โดยกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับไฟป่า การปลูกป่า การแจกจ่ายกล้าไม้ การฝึกอบรม ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น แต่ร่วมมือกันทำงานระหว่างหน่ายงานต่างๆมีเพียงระยะสั้น ไม่ต่อเนื่อง ในการดำเนินงานแบบบูรณาการในการจัดการเชิงพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พบว่ามี ประสบปัญหาด้านกระบวนการทำงานและผลลัพธ์ที่ต้องการยังไม่มีความชัดเจน ขาดปัจจัยด้านงบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงาน และไม่มีการตรวจติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวทางในการปรับปรุงการทำงานแบบบูรณาการในการจัดการเชิงพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย นั้น ควรจัดทำระบบการบริหารแบบบูรณาการให้มีความชัดเจนเพื่อให้ทุกหน่วยงานได้เข้าใจถึงขั้นตอนในการปฏิบัติงาน รวมไปถึงขอบเขต อำนาจหน้าที่ ที่ชัดเจนของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตลอดจน ควรมีการกระตุ้นและตรวจติดตามการทำงานอย่างสม่ำเสมอ มีการพิจารณาผลการดำเนินการเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้ง ควรมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับเป็นค่าอำนวยการให้แต่ละเขตการจัดการเพื่อสนับสนุนการบริหารงานแบบบูรณาการด้วย | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.doc | Abstract (words) | 192.5 kB | Microsoft Word | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 198.04 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
FULL.pdf | Full IS | 7.8 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.