Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48614
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว-
dc.contributor.authorศิริพร วงศ์หล้าen_US
dc.date.accessioned2018-05-02T04:06:20Z-
dc.date.available2018-05-02T04:06:20Z-
dc.date.issued2558-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48614-
dc.description.abstractThis research study aimed to evaluate the curriculum of life skill enhancement course for lower secondary level, Pasang School, Lamphun Province in aspects of 1) production process and curriculum development, 2) implementation or operation followed in the curriculum, and 3) product of curriculum. In this study, the population comprised of 305 people: 17 administrators,5 accessories of curriculum, 15 school boards, 24 teachers, 122 students and 122 parents. Meanwhile, the evaluation employed in this study was adapted from CIPP by Stufflebeam. The instruments in this study were the evaluation forms. Frequency Distributions, percentage, means, and standard deviation were used to analyze the data. The findings were concluded as follows : 1. The results of the curriculum evaluation of life skill enhancement course for lower secondary level, Pasang School, Lamphun Province of the 2013 academic year revealed that in aspect of production process and curriculum development which evaluated the curricular context related to the vision of course, the aim of curriculum, competencies of learners, desired characteristics, the structure of curriculum courses, strands, course description, unit instruction learning objectives of the course curriculum and learning plans. The mean of overall correspondence evaluation was over 3.51. In aspect of factors of curriculum related to the readiness of teachers, students, learning resources, location of school or learning resources, community supports and participations, and budget, the mean of overall correspondence evaluation in this aspect was over 3.51. In aspect of production process and curriculum development, administrators, accessories of curriculum, school boards, teachers, students and parents consistently agreed that production process and curriculum development were proper. The mean of overall correspondence evaluation was over 3.51 in every aspect. The recommendation to adjust the curriculum in producing and developing curriculum was the overall image of curriculum was appropriate. However, the structure of curriculum, aims of curriculum, competencies of learners, desired characteristics, unit instruction, course description, strands, learning objectives of the course curriculum and learning activities in each grade should be clearly different. 2. The results of the curriculum evaluation of life skill enhancement course for lower secondary level, Pasang School, Lamphun Province of the 2013 academic year in aspect of implementation or operation followed in the curriculum were from the learning and teaching, learning measurement and evaluation, and curriculum administration. It was found out that administrators, accessories of curriculum, school boards, teachers, and students consistently agreed that implementation or operation followed in the curriculum were proper and the mean of correspondence evaluation was over 3.51 in every aspect. The recommendation to adjust the curriculum implementation or operation is that the teacher should find any techniques to choose and use the efficient learning aids including information technology being suitable for contents, periods of time and students. Besides, those contents should be up-to-date with the current situations to engage students in activity participation. Also, some activities should be provided for students to participate and inquire by themselves, In doing activities, the place should be adjusted suitably enough for a number of students. In addition, the light and ventilation in class should be comforted for students to do class activities. 3. In term of product of curriculum, the results of the curriculum evaluation of life skill enhancement course for lower secondary level, Pasang School, Lamphun Province of the 2013 academic year were evaluated from competencies of learners, desired characteristics, and students learning achievement in the course curriculum. It revealed that administrators, accessories of curriculum, school boards, teachers, students, and parents consistently agreed that product of curriculum were proper due to the mean of correspondence evaluation over 3.51 in every aspect. The recommendation to adjust the curriculum regarding product of curriculum was that the curriculum namely “Good academy, Nice behavior, Happy life in Rom Fah Pasang” was a life skill enhancement course going together with moral principles. This could improve students’ desired characteristics and their concentration. The students not only had a better learning achievement but also were more disciplined. They respected the law and adjusted themselves to their community and society well. Hence, these kinds of activity should be considered as fluently as possible in order to apply to the students’ lives.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการประเมินหลักสูตรen_US
dc.subjectวิชาสร้างเสริมทักษะชีวิตen_US
dc.subjectโรงเรียนป่าซางen_US
dc.titleการประเมินหลักสูตรรายวิชาสร้างเสริมทักษะชีวิตระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนป่าซาง จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeCurriculum Evaluation of Life Skill Enhancement Course for Lower Secondary Level, Pasang School, Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc372.19-
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนป่าซาง-
thailis.controlvocab.thashโรงเรียน -- ลำพูน-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาขั้นประถม -- เชียงใหม่ -- หลักสูตร-
thailis.controlvocab.thashกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต -- หลักสูตร-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 372.19 ศ373ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินหลักสูตรรายวิชาสร้างเสริมทักษะชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนป่าซาง จังหวัดลำพูนในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านกระบวนการสร้างและพัฒนาหลักสูตร 2) ด้านการใช้หรือการดำเนินการตามหลักสูตร 3) ด้านผลผลิตของหลักสูตรประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 17 คน ผู้เกี่ยวข้องด้านหลักสูตร จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ครูผู้สอน จำนวน 24 คน นักเรียน จำนวน 122 คน ผู้ปกครอง จำนวน 122 คน รวมทั้งสิ้น 305 คน การประเมินหลักสูตรได้ประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบ CIPP ของ Stufflebeam เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินหลักสูตร จำนวน 6 ฉบับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปดังนี้ 1. ผลการประเมินหลักสูตรรายวิชาสร้างเสริมทักษะชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนป่าซาง จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2556 ด้านกระบวนการสร้างและการพัฒนาหลักสูตรโดยทำการประเมินด้านบริบทของหลักสูตรในประเด็นที่เกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ของหลักสูตรรายวิชา เป้าหมายของหลักสูตรรายวิชา สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โครงสร้างของหลักสูตรรายวิชา สาระการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ผลการเรียนรู้ของหลักสูตรรายวิชา แผนการจัดการเรียนรู้ ผลการประเมินโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินมีค่าคะแนนเฉลี่ยเกิน 3.51 และด้านปัจจัยของหลักสูตรในประเด็นที่เกี่ยวกับความพร้อมของครูผู้สอน ความพร้อมของนักเรียน ความพร้อมของสื่อ ความพร้อมของอาคาร สถานที่/แหล่งเรียนรู้การส่งเสริมสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของชุมชน และงบประมาณ ผลการประเมินโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินมีค่าคะแนนเฉลี่ยเกิน 3.51 ผลการประเมินด้านกระบวนการสร้างและการพัฒนาหลักสูตรพบว่า ผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องด้านหลักสูตร คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ด้านกระบวนการสร้างและการพัฒนาหลักสูตรมีความเหมาะสม และผ่านเกณฑ์การประเมินเนื่องจากทุกประเด็นของการประเมินมีค่าคะแนนเฉลี่ยเกิน 3.51 แนวทางการปรับปรุงหลักสูตรด้านกระบวนการสร้าง และการพัฒนาหลักสูตรได้รับข้อเสนอแนะ ดังนี้ ภาพรวมของหลักสูตรมีความเหมาะสม แต่ควรปรับแยกโครงสร้าง เป้าหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน หน่วยการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ของหลักสูตรรายวิชา กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละระดับชั้นให้แตกต่างกันอย่างชัดเจน 2. ผลการประเมินหลักสูตรรายวิชาสร้างเสริมทักษะชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนป่าซาง จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2556 ด้านการใช้และการดำเนินการตามหลักสูตรโดยทำการประเมินในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ และการบริหารจัดการหลักสูตร ผลการประเมินพบว่า ผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องด้านหลักสูตร คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ด้านการใช้และการดำเนินการตามหลักสูตร มีความเหมาะสม และผ่านเกณฑ์การประเมินเนื่องจากทุกประเด็นของการประเมินมีค่าคะแนนเฉลี่ยเกิน 3.51 แนวทางการปรับปรุงหลักสูตร ด้านการใช้และการดำเนินการตามหลักสูตร ได้รับข้อเสนอแนะดังนี้ ครูผู้สอนควรหาเทคนิควิธีการเลือกใช้สื่อ เทคโนโลยีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างหลากหลายมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้น่าสนใจ มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ เวลา และนักเรียนให้มากยิ่งขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้บางกิจกรรมควรให้โอกาสนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และได้สืบค้นความรู้ด้วยตนเอง สถานที่จัดกิจกรรมมีเพียงพอกับจำนวนนักเรียนแต่ควรปรับให้มีความเหมาะสม เช่น ห้องเรียนไม่กว้างเกินไป หรือคับแคบเกินไปควรให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียนเพราะสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและควรปรับในเรื่องของแสงสว่างและการระบายอากาศ 3. ผลการประเมินหลักสูตรรายวิชาสร้างเสริมทักษะชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนป่าซาง จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2556 ด้านผลผลิตของหลักสูตรโดยทำการประเมินในประเด็นที่เกี่ยวกับ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหลักสูตรรายวิชา ผลการประเมินพบว่า ผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องด้านหลักสูตร คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ด้านผลผลิตของหลักสูตร มีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมินเนื่องจากทุกประเด็นของการประเมินมีค่าคะแนนเฉลี่ยเกิน 3.51 แนวทางการปรับปรุงหลักสูตร ด้านผลผลิตของหลักสูตร ได้รับข้อเสนอแนะดังนี้หลักสูตร “เก่ง ดี มีสุขถ้วนหน้า ร่มฟ้าป่าซาง” เป็นวิชาที่สร้างเสริมทักษะชีวิตควบคู่คุณธรรม และพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ฝึกสมาธิให้แก่นักเรียน ส่งผลให้การเรียนในวิชานี้และวิชาอื่นๆมีผลการเรียนดีขึ้น นักเรียนเคารพในระเบียบวินัย และปฏิบัติตามกฎหมาย สามารถปรับตัวให้เข้ากับชุมชน สังคมได้ดียิ่งขึ้น เห็นควรให้มีการจัดกิจกรรมแบบนี้บ่อย ๆ เพราะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้en_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2Abstract.docxAbstract (words)181.3 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract 259.66 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
FULL.pdfFull IS3.85 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.