Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48052
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Lect. Dr. Cheryl Traiger | - |
dc.contributor.author | วราทิตย์ อินสอน | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-04-25T08:47:10Z | - |
dc.date.available | 2018-04-25T08:47:10Z | - |
dc.date.issued | 2558-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48052 | - |
dc.description.abstract | The objectives of the study “Gender Portrayals in Television Functional Drink Advertisements” were to find out how gender is portrayed in television functional drink advertisements, to find out how gender is portrayed in terms of characters and power, as well as to reveal what the ideology of gender is that is presented. This study was a qualitative research focused on a total of 23 television functional drink advertisements which were broadcast in 2011, including 12 advertisements with male presenters and 11 with female presenters. This study used Critical Discourse Analysis as the main theoretical framework. This study used the three dimensional framework of Fairclough: text, discursive practice, and social practice along with other frameworks which were: objectification to analyze how females were portrayed, camera techniques to analyze how males and females were portrayed through different shots, and signs to interpret the direct meaning and the indirect meaning of texts. The results of the study show the different portrayal of gender in television functional drink advertisements in terms of characters and power. Firstly, the different portrayals of males and females can be divided into filming of body parts, choice of attire, and the portrayal of jobs and leisure activities. In filming of body parts, males and females were portrayed as whole body, upper torso, or head. However, females were portrayed as body parts, shown without the face being visible, something which was not found in male portrayals. In the filming of attire, male portrayals frequently wore casual attire and suits as signs of leadership and masculinity. In contrast, female portrayals frequently wore close-fitting or skin-tight attire and dresses as signs of femininity. The portrayal of the jobs and the leisure activities of males were clearly depicted as opposed to the portrayal of these with females. In the portrayal of jobs and leisure activities, the portrayal of males had clear reference to job and activities. In contrast, only two of advertisements portrayed females with reference to working; the rest have reference to other activities. Males are portrayed in working roles while females are portrayed in decorative roles. Secondly, there were different portrayals of males and females as to power. Portrayal of male power was found in television functional beverages advertisements which had females as main characters. Male characters had power to control females’ decisions and actions and male narrators had power determine the ideal of beauty. Moreover, the results show that the advertisers used different camera techniques to portray males and females differently. Females were portrayed by denial of their subjectivity, females’ feelings and experiences were not focused on, and females were treated as tools for the purposes of the advertisers. These results reflect inequality between male and female in television functional drink advertisements. This study will enable an understanding of portrayal of gender in selected Thai advertisements in order to raise the awareness among readers of the differences in treatment and the inequalities which occur in Thai media. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การนำเสนอเพศสภาพผ่านโฆษณาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพทางโทรทัศน์ | en_US |
dc.title.alternative | Gender Portrayals in Television Functional Drink Advertisements | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 659.1 | - |
thailis.controlvocab.thash | Sex in advertising | - |
thailis.controlvocab.thash | Television advertising | - |
thailis.controlvocab.thash | Advertising | - |
thailis.controlvocab.thash | Beverages | - |
thailis.manuscript.callnumber | Th 659.1 W253G | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาการนำเสนอเพศสภาพผ่านโฆษณาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพทางโทรทัศน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาว่าโฆษณาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพทางโทรทัศน์นำเสนอเพศสภาพอย่างไร และเพศสภาพถูกนำเสนอประเด็นด้านด้านลักษณะและด้านอำนาจอย่างไร อีกทั้งค้นหาอัตลักษณ์ของเพศสภาพที่นำเสนอผ่านโฆษณาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพทางโทรทัศน์ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยเลือกโฆษณาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพทางโทรทัศน์ที่ออกอากาศใน ปี พ.ศ. 2554 จำนวน 23 โฆษณา แบ่งเป็นโฆษณาที่มีเพศชายเป็นผู้แสดงหลัก 12 โฆษณาและโฆษณาที่มีเพศหญิงเป็นผู้แสดงหลัก 11 โฆษณา ซึ่งใช้วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เป็นกรอบความคิดเชิงทฤษฎีหลัก วิเคราะห์เพศสภาพที่นำเสนอผ่านกรอบความคิดการวิเคราะห์เชิงวาทกรรม 3 มิติ ประกอบด้วย มิติตัวบท มิติปฏิบัติการทางวัฒนธรรม และมิติปฏิบัติการสังคม เชื่อมโยงไปยังทฤษฎีการทำให้เป็นวัตถุวิสัย เพื่อใช้วิเคราะห์การนำเสนอเพศหญิง ทฤษฎีการถ่ายทอดภาพเพื่อใช้วิเคราะห์วิธีการนำเสนอเพศชายและเพศหญิงผ่านภาพและทฤษฎีสัญลักษณ์เพื่อใช้ตีความ ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย จากผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าการนำเสนอเพศสภาพผ่านโฆษณาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพทางโทรทัศน์มีความแตกต่าง 2 ประเด็น ได้แก่ ด้านลักษณะและด้านอำนาจ ประเด็นแรกด้านลักษณะ แบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ การถ่ายทำส่วนของร่างกาย ชนิดของเสื้อผ้า และ การนำเสนออาชีพและกิจกรรมยามว่าง ในด้านการถ่ายทำส่วนของร่างกาย ทั้งเพศชายและเพศหญิงนำเสนอในรูปแบบ เต็มตัว ครึ่งตัว หรือเฉพาะใบหน้า แต่เพศหญิงจะถูกนำเสนอเพียงบางส่วนของร่างกายโดยไม่เห็นใบหน้า ด้านชนิดของเสื้อผ้า เพศชายมักสวมชุดที่ไม่เป็นทางการและชุดสูทเพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ของความเป็นผู้นำและความเป็นชาย ส่วนเพศหญิงสวมชุดรัดรูปและชุดเดรสเพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ของความเป็นหญิง ด้านการนำเสนออาชีพและกิจกรรมยามว่าง มีการนำเสนออาชีพและกิจกรรมยามว่างของเพศชายอย่างชัดเจน ส่วนเพศหญิงเกือบทั้งหมดถูกนำเสนอผ่านการทำกิจกรรมยามว่างเท่านั้น เพศชายนำเสนอบทบาทการทำงาน ส่วนเพศหญิงนำเสนอบทบาทไม้ประดับ ประเด็นสุดท้าย ด้านอำนาจ เพศชายมีอิทธิพลต่อความคิด การตัดสินใจและการลงมือทำของเพศหญิงโดยแสดงออกผ่านนักแสดงเพศชาย รวมถึงการกำหนดแนวคิดเรื่องความสวยโดยผู้บรรยายเพศชาย ซึ่งพบในโฆษณาเครื่องดื่มที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเพศหญิงเท่านั้น ผลของการวิจัยพบว่าผู้ผลิตโฆษณาใช้วิธีการถ่ายทอดภาพเป็นการนำเสนอเพศสภาพที่แตกต่างเพศหญิงถูกทำให้เป็นทำให้เป็นวัตถุวิสัย โดยการไม่สนใจความรู้สึก ประสบการณ์ อีกทั้งยังถูกใช้เป็นเครื่องมือตามความต้องการของผู้ผลิตโฆษณา เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศชายและเพศหญิงที่สะท้อนผ่านโฆษณาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพทางโทรทัศน์ งานวิจัยชิ้นนี้ให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านในการสร้างความเข้าใจเรื่องเพศสภาพที่ถูกนำเสนอในตัวอย่างโฆษณาของประเทศไทย เพื่อให้ผู้อ่านตระหนักถึงความแตกต่างและความไม่เท่าเทียมกันของเพศชายและเพศหญิงที่ปรากฏในสื่อของประเทศไทย | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.doc | Abstract (words) | 208.5 kB | Microsoft Word | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 377.97 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
FULL.pdf | Full IS | 4.89 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.