Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46113
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์ | - |
dc.contributor.author | ธีรวัฒน์ อ้นจันทร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-04-17T09:00:46Z | - |
dc.date.available | 2018-04-17T09:00:46Z | - |
dc.date.issued | 2558-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46113 | - |
dc.description.abstract | The study "The Influence of Facebook Towards Political Participation of Police Officers in Chiang Mai Provincial Police Division" aimed to investigate the level of political participation through Facebook, explore the relationships between information received via Facebook and political participation, and find out the problems and obstacles affecting political participation through Facebook of the police officers in Chiang Mai Provincial Police Division. The samples in this qualitative study were 207 police officers working in administrative offices from police stations in Chiang Mai Provincial Police Division. The study revealed that 76.8% of the samples followed political news everyday. In addition, 45.4% of the samples used the Internet and Facebook only to gain access to the news but they did not use Facebook to participate in politics. Furthermore, the information gained from Facebook, via Post Items, Comments, Inbox, Notes, Events, Photos, and Videos, affected all 5 levels of political participation at a high level. These levels included level 1, following political news; level 2, voting in elections; level 3, persuading others to engage in political conversation; level 4, persuading others to vote in elections; and 5, using symbols to support political parties and candidates. Meanwhile, Facebook Chat affected level 2 at a low level, which was voting in elections; Groups affected level 3 at a low level, which was persuading others to engage in political conversation; and Document File affected level 4 at a low level, which was persuading others to vote in elections. In terms of problems and obstacles affecting political participation through Facebook of the police officers, it was found that the communication process, the civil servant status, and the current political situation resulted in the inability to gain reliable information via Facebook. In addition, because of these factors, police officers could not express their political views, which affected their political participation. For the recommendations, it can be suggested that a creative use of Facebook as a communication tool should be supported because it could lead to an appropriate political view expression among the police officers. Furthermore, guidelines of using online materials at police stations should be set. Also there should be training for police officers about online materials especially Facebook in order to develop positive attitudes towards the people, and use Facebook as a learning and opinion exchange tool. Finally, positive and creative political attitudes between police officers and the people should be developed. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การมีส่วนร่วมทางการเมือง | en_US |
dc.subject | ข้าราชการตำรวจ | en_US |
dc.subject | กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | อิทธิพลของเฟซบุ๊ค (Facebook) ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | The Influence of Facebook Towards Political Participation of Police Officers in Chiang Mai Provincial Police Division | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 363.24 | - |
thailis.controlvocab.thash | ตำรวจ -- กิจกรรมทางการเมือง | - |
thailis.controlvocab.thash | ตำรวจ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | การมีส่วนร่วมทางการเมือง | - |
thailis.controlvocab.thash | เฟซบุ๊ค | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 363.24 ธ377อ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาวิจัยเรื่องอิทธิพลของเฟซบุ๊ค (Facebook) ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาและอธิบายระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊ค (Facebook) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊ค (Facebook) กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองและเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊ค (Facebook) ของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่งานด้านอำนวยการของสถานีตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ รวมจำนวนทั้งสิ้น 207 คนผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76.8 มีการติดตามข่าวสารทางการเมืองเป็นประจำทุกวัน โดยสื่อที่ใช้ในการติดตามข่าวสารทางการเมืองมากที่สุด คือ สื่ออินเตอร์เน็ต และสื่ออินเตอร์เน็ตประเภทเฟซบุ๊ค (Facebook) เป็นสื่อที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45.4 ใช้ในการติดตามข่าวสารทั่วไปมากที่สุด แต่กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ไม่เคยใช้งานเฟซบุ๊ค (Facebook) เพื่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองนอกจากการใช้เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมืองเท่านั้น การรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊ค (Facebook) โดยใช้ช่องทางรายการโพสต์ (Post Items), ความคิดเห็น (Comments), กล่องข้อความ (Inbox), บันทึก (Notes),กิจกรรม (Events), รูปภาพ (Photos), วิดีโอ (Videos) มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้ง 5 ขั้น ได้แก่ขั้นที่ 1การติดตามข่าวสารทางการเมือง ขั้นที่ 2 การใช้สิทธิออกเสียงในการเลือกตั้ง ขั้นที่ 3 การชักชวนให้ผู้อื่นสนทนาเรื่องการเมือง ขั้นที่ 4การเชิญชวนให้ผู้อื่นไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และขั้นที่ 5 การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนพรรคหรือผู้สมัครทางการเมืองอยู่ในระดับสูง ในขณะที่การใช้ช่องทางพูดคุย (Facebook Chat) มีผลต่อ ขั้นที่ 2 การใช้สิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งอยู่ในระดับต่ำ, กลุ่มเพื่อน (Groups) มีผลต่อ ขั้นที่ 3 การชักชวนให้ผู้อื่นสนทนาเรื่องการเมืองอยู่ในระดับต่ำ และเอกสาร (Documents File)มีผลต่อ ขั้นที่ 4 การเชิญชวนให้ผู้อื่นไปใช้สิทธิออกเสียงอยู่ในระดับต่ำ ปัญหาและอุปสรรคของข้าราชการตำรวจ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของข้าราชการตำรวจ คือ กระบวนการในการสื่อสาร สถานภาพความเป็นข้าราชการ และสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ที่ทำให้ข้าราชการตำรวจไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือผ่านเฟซบุ๊ค (Facebook)ได้ อีกทั้งทำให้ข้าราชการตำรวจไม่สามารถแสดงออกทางการเมืองได้ จึงทำให้เกิดผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ข้อเสนอแนะของการศึกษาคือ การส่งเสริมการใช้เฟซบุ๊ค (Facebook) อย่างสร้างสรรค์เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารที่มีผลต่อการแสดงออกทางการเมืองของข้าราชการตำรวจได้อย่างเหมาะสม การกำหนดแนวทางของหน่วยงานตำรวจในการใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ การจัดอบรมให้ความรู้ข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะการใช้งานเฟซบุ๊ค (Facebook) เพื่อประโยชน์ในการสร้างทัศนคติที่ดีต่อประชาชน เพื่อให้สื่อเฟซบุ๊ค (Facebook) เป็นช่องทางการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น การสร้างทัศนคติทางการเมือง เชิงสร้างสรรค์ระหว่างข้าราชการตำรวจกับประชาชนต่อไป ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการและประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้ให้ชุมชนได้รับทราบ ประชากรในพื้นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและจริงใจที่จะมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและยอมรับ และปฏิบัติตามมติหรือกติกา หรือแนวทางที่คณะทำงานได้มีมติสรุปและดำเนินการอย่างจริงจัง การดำเนินงานจึงจะประสบความสำเร็จ | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.docx | Abstract (words) | 176.53 kB | Microsoft Word XML | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 181.81 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
FULL.pdf | Full IS | 3.61 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.