Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46075
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑาทิพย์ เฉลิมผล-
dc.contributor.advisorสุรพล เศรษฐบุตร-
dc.contributor.advisorชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย-
dc.contributor.authorพีรนุช คำหล้าen_US
dc.date.accessioned2018-04-10T06:47:37Z-
dc.date.available2018-04-10T06:47:37Z-
dc.date.issued2558-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46075-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study rice seed production of farmers, members of Lampang Rice Seed Center, relationship between individual characteristics, social and economic factors with the success in rice seed production as well as problem, obstacles and suggestion. Population studied were collected farmers produce rice seed with Lampang Rice Seed Center, in rainy season of 2013 totaled 209 members. Data were collected by interview, statistically analyzed using percentage, mean, standard deviation, minimum, maximum, hypothesis testing by multiple regression analysis. From research findings, most members were male, averaged 56.38 years old, graduated in primary education 73.70 percent and rice seed production experience average 11.91 years. The average rice seed production area 14.42 rai by planted RD41, RD6 and Khao Dawk Mail 105, labors were 1.95 persons. The cost of seed production was averaged 3,959.20 Baht per rai and net income 112,501.78 Baht per family or 8,266.24 Baht per rai. The experienced in training 99.5 percent, most were member and averaged 11.33 years. The information produced rice seed from extension, publications, meetings/workshops, exhibition, other farmers and more like television (within 6 months) were in the minority, Contact the staff average 4.15 times/ production season. The participation in conference, cutting rice other varieties and cooperation in the activities of group was 98.10 percent, and the succeeded in rice seed production were 74.20 percent. Testing hypothesis found area, labor, net income, and the participation within group were correlated with success in rice seed production significantly 0.01 Problem and obstacles in rice seed production, capital, labor, marketing, technology and production methods, natural disasters, diseases and insect pests of rice at low level. Most recommended to buy all quality rice and add rice purchase price, proposed to training new members in rice seed production, and biotechnology knowledge to reduce the production cost of rice.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectข้าวen_US
dc.subjectเกษตรกรen_US
dc.subjectศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปางen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปางen_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Success in Rice Seed Production of Farmers, Members of Lampang Rice Seed Centeren_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc633.18-
thailis.controlvocab.thashข้าว -- เมล็ดพันธุ์-
thailis.controlvocab.thashข้าว -- การผลิต -- ลำปาง-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- ลำปาง-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 633.18 พ375ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม กับความสำเร็จในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ตลอดจนศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้จากการสุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เป็นสมาชิกศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง ในฤดูการผลิต ฤดูฝน ปี 2556 จำนวน 209 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และผลการประเมินจัดชั้นเกษตรกร นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และทดสอบสมมุติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.38 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 73.70 มีประสบการณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 11.91 ปี พื้นที่ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 14.42 ไร่ โดยปลูกข้าวพันธุ์ กข41 กข6 และขาวดอกมะลิ 105 ใช้แรงงานเฉลี่ย 1.95 คน มีต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ย 3,959.20 บาทต่อไร่ รายได้จากการขายเมล็ดพันธุ์ข้าวคืนให้ศูนย์ฯเฉลี่ย 112,501.78 บาทต่อครัวเรือน หรือเฉลี่ยที่ 8,266.24 บาทต่อไร่ เกษตรกรมีประสบการณ์ในการฝึกอบรมร้อยละ 99.5 ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม และเป็นสมาชิกศูนย์ฯ เฉลี่ย 11.33 ปี ด้านการรับข้อมูลข่าวสารการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของศูนย์ฯ สื่อสิ่งพิมพ์ ประชุม/อบรม นิทรรศการ/งานรณรงค์ เกษตรกรรายอื่น และอื่นๆ เช่นวิทยุ โทรทัศน์(ในระยะเวลา 6 เดือน) อยู่ในเกณฑ์น้อย มีติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของศูนย์เฉลี่ย 4.15 ครั้ง/ฤดูการผลิต การมีส่วนร่วมในกลุ่มด้านการประชุม การตรวจตัดพันธุ์ปนและความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ภายในกลุ่มของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรเข้าร่วมร้อยละ 98.10 ด้านการประเมินความสำเร็จในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพบว่าเกษตรกรประสบความสำเร็จในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยละ 74.20 ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า มีตัวแปรอิสระ 4 ตัว ที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ พื้นที่ปลูกข้าว จำนวนแรงงาน รายได้จากการขายเมล็ดพันธุ์ข้าวคืนให้ศูนย์ฯ และการมีส่วนร่วมกันในกิจกรรมต่างๆ ภายในกลุ่มของเกษตรกร ปัญหาอุปสรรคในการผลิตเมล็ดพันธุ์ด้านเงินทุน แรงงาน การตลาด เทคโนโลยีและวิธีการผลิต ภัยธรรมชาติ และโรคแมลงศัตรูข้าวอยู่ในระดับน้อย โดยเกษตรกรให้ความสำคัญกับปัญหาด้าน แรงงานมากที่สุด คำแนะนำของเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการให้ศูนย์ฯ รับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านมาตรฐานคืนทั้งหมด และเพิ่มราคารับซื้อให้สูงกว่าปัจจุบัน ทั้งนี้ได้เสนอให้มีการอบรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีแก่สมาชิกรายใหม่ให้มากขึ้น และส่งเสริมความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)179.71 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 245.18 kBAdobe PDFView/Open
full.pdfFull IS3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.