Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46073
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพรัช ตระการศิรินนท์-
dc.contributor.authorสัญญา ทุมตะขบen_US
dc.date.accessioned2018-04-10T04:19:31Z-
dc.date.available2018-04-10T04:19:31Z-
dc.date.issued2558-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46073-
dc.description.abstractThe main objectives of the Independent Study on Roles of Regional and Local Authorities on Smoked Haze Mitigation in Tha Pla Duk Sub-district, Mae Tha District, Lamphun Province are; 1. To study the roles of Regional and Local Authorities on smoked haze prevention and control in Tha Pla Duk Sub-district, Mae Tha District, Lamphun Province. 2. To study on the causes of smoked haze and its effects 3. To study on public involvement on smoked haze prevention and control in Tha Pla Duk Sub-district, Mae Tha District, Lamphun Province. Stakeholders in this study are local authorities, NGOs and people related to smoked haze control in 14 villages in Tha Pla Duk Sub-district as well as Tha Pla Duk Sub-district Mayor, Municipal Clerk, community chief and local government authorities in Mae Tha district, the Governor and Deputy Governor of Lampoon Province, Director of the Office of Natural Resources and Environment of Chiang Mai and Lampoon Province and other regional government authorities related to smoked haze control in Tha Pla Duk Sub-district. The Study found that regional authorities play important roles on set up of policy/regulation, providing of knowledge and resources, law enforcement to prevent occurrence of forest fire and providing of fire suppression equipments for fire-prone areas. Whereas, local authorities have a role to tackle the problems in their area by conducting the meeting or training workshop, conducting public relation campaign, set up of forest fire prevention and control units, allocating budget for communities’ activities related to fire control. All efforts of local authorities result in reduction of forest fire, agricultural waste burning and solid waste burning. However, burning in forest area is still found in the area. The study also found that Tha Pla Duk Sub-district covers very large area which is next to the forest. Together with the lack of fire brigade and equipments, results in outbreak of fire and difficulties of fire and haze control. Suggested mitigation measures are public relation campaign for raising awareness and collaboration with Khuntan Nation Park for community rules enforcement, fuel management and check dam construction. Policy suggestion: to deal with smoked haze problem, integrated policies and measures are necessary. In addition, specific timeframe of activities includes fuel management, mobilization of fire brigades, equipments and budgets and are also important in order to enhance an effectiveness of mitigation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectหมอกควันen_US
dc.subjectการแก้ไขปัญหาen_US
dc.titleบทบาทของหน่วยงานระดับภูมิภาคและท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาวิกฤติหมอกควันในพื้นที่ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeRoles of Regional Agencies and Local Administrative Organization in Smog Crisis Resolution in Tha Pla Duk Sub-district, Mae Tha District, Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc363.7392-
thailis.controlvocab.thashมลพิษทางอากาศ -- แม่ทา (ลำพูน)-
thailis.controlvocab.thashหมอกควัน -- แม่ทา (ลำพูน)-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 363.7392 ส113บ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระเรื่องบทบาทของหน่วยงานระดับภูมิภาคและท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติหมอกควัน ในพื้นที่ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานระดับภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการป้องกันและการแก้ไขปัญหาวิกฤติหมอกควัน ในพื้นที่ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 2. เพื่อศึกษาสถานการณ์มลพิษหมอกควัน สาเหตุที่ทำให้เกิดหมอกควัน ในพื้นที่ตำบล ทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ในช่วงที่ผ่านมา 3. เพื่อศึกษาถึงบทบาทและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันแก้ไขปัญหาวิกฤติหมอกควันในพื้นที่ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานกลุ่มจิตอาสา และประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ในพื้นที่ 14 หมู่บ้าน ของตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลตำบลทาปลาดุก และผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำพูน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ หัวหน้าหน่วยงานภาครัฐระดับภูมิภาคที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าหน่วยงานระดับภูมิภาค มีบทบาทในการกำหนดนโยบาย/กฎหมายส่งเสริม สนับสนุนด้านทรัพยากร สนับสนุนด้านองค์ความรู้ สั่งการ กำหนดมาตรการ ออกประกาศห้ามไม่ให้มีการเผาในที่โล่ง ประชุมชี้แจงประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สั่งการให้มีการจับกุมดำเนินคดีกับผู้จุดไฟเผาป่า เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าอย่างเข้มข้น จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ดับไฟป่าสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่อำเภอ ที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า บทบาทในการแก้ไขปัญหาวิกฤติหมอกควันของหน่วยงานระดับท้องถิ่น คือ เทศบาลตำบลทาปลาดุก มีการดำเนินการจัดประชุมชี้แจงกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จัดการฝึกอบรมอาสาสมัคร การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ จัดชุดปฏิบัติการป้องกัน ควบคุม และดับไฟป่า สนับสนุนงบประมาณให้หมู่บ้านทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การแนวกันไฟในพื้นที่เสี่ยง โดยให้ชาวบ้านกำหนดพื้นที่ที่จะทำแนวกันไฟร่วมกับสถานีควบคุมไฟป่าลำพูน อุทยานแห่งชาติขุนตาน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุมไฟป่า โดยประชาชนจากทุกหมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรมและทำงานอย่างต่อเนื่อง มีผลสำเร็จทำให้สถิติการเผาในพื้นที่เกษตรกรรรม เช่น การเผาตอซังฟางข้าว และเผาขยะในชุมชนลดลงอย่างมาก ส่วนการเกิดไฟป่า ยังคงมีการเผาในพื้นที่ป่าเพื่อ ล่าสัตว์และหาของป่าจากประชาชนนอกพื้นที่ ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติหมอกควันของเทศบาลตำบล ทาปลาดุก คือ การมีพื้นที่ขนาดใหญ่ และติดต่อกับพื้นที่ป่าจำนวนมากจึงมีโอกาสเกิดไฟป่าได้บ่อย ในขณะที่เทศบาลมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการดับไฟป่า และรถดับเพลิงไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่เกิด ไฟป่าได้ จึงเกิดไฟไหม้ลุกลามเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ข้อเสนอแนะและแนวทางป้องกันปัญหาไฟป่า เนื่องจากยังมีประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่มาหาของป่า มีการเผาป่าเพื่อล่าสัตว์ เผาถ่าน เป็นต้น จึงจำเป็นต้องการประชาสัมพันธ์และประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อบังคับกฎหมาย ทำแนวกันไฟก่อนถึงฤดูแล้ง และสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อสร้างความชุมชื่นให้พื้นที่ป่าในระยะยาว ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เนื่องจากปัญหาวิกฤติหมอกควันมีหลายสาเหตุ หน่วยงานภาครัฐทั้งระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ควรกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกัน และต้องวางแผน กำหนดมาตรการ ให้สอดคล้องกับช่วงเวลา คือ ขั้นเตรียมการป้องกันไฟป่า ต้องจัดทำแนวกันไฟป่า ลดปริมาณเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า การเผากำจัดวัชพืชก่อนเข้าสู่ช่วงวิกฤติหมอกควัน ขั้นปฏิบัติงานดับไฟป่า ต้องจัดกำลังพล เครื่องมือ และงบประมาณเพิ่มเติมในการปฏิบัติงาน ให้เหมาะสมกับปริมาณงานที่มีมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ทันต่อสถานการณ์ และหลังเกิดวิกฤติหมอกควัน ต้องมีการทำความเข้าใจและให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบ ต่อด้านสุขภาพและเศรษฐกิจen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfAbstract 382.4 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
full.pdfFull IS4.63 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
ABSTRACT.docAbstract (words)203 kBMicrosoft WordView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.