Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46061
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ | - |
dc.contributor.author | ณัฐวุฒิ วิทิตปริวรรต | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-04-10T03:42:20Z | - |
dc.date.available | 2018-04-10T03:42:20Z | - |
dc.date.issued | 2558-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46061 | - |
dc.description.abstract | This independent study “An Evaluation of Without Garbage Bin Street Project of Muangkaen Pattana Mueang Municipality, Mae Taeng District, Chiang Mai Province” aims to study the effectiveness of Without Garbage Bin Street Project and collect problems and suggestions. The sample of this study was 320 households. In this study, the data collection process was done by a questionnaire. The analysis was done through frequency, percentage, mean, T – test, analysis of variance, and regression. The results of the study show that Without Garbage Bin Street Project of Muangkaen Pattana Mueang Municipality, Mae Taeng District, Chiang Mai Province has effectiveness of behavioral change in waste management. The behavior after implementation the project has different from before implementation the project significantly. The effectiveness of the participation of the people was in level of “high”. The factors that effected waste management significantly were age, marital status, occupation, and education level. The factors that effected Participation significantly were age, occupation, education, and the number of people living in the household. The knowhow about waste management effected waste management behavioral significantly, and the knowhow about waste management effected participation of the people significantly. The problems were lack of official visits, Equipment Breakdown, Lack of motivating the public to participate, and lack of funding to support. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ขยะ | en_US |
dc.subject | การประเมินผลโครงการ | en_US |
dc.subject | เมืองแกนพัฒนา | en_US |
dc.title | การประเมินผลโครงการถนนปลอดถังขยะเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | An Evaluation of Without Garbage Bin Street Project of Muangkaen Pattana Mueang Municipality, Mae Taeng District, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 628.44 | - |
thailis.controlvocab.thash | การกำจัดขยะ -- แม่แตง (เชียงใหม่) | - |
thailis.controlvocab.thash | ขยะ -- แม่แตง (เชียงใหม่) | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 628.44 ณ113ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การประเมินผลโครงการถนนปลอดถังขยะ เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของโครงการถนนปลอดถังขยะ และเพื่อศึกษาถึงปัญหาอุปสรรค ของโครงการถนนปลอดถังขยะในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 320 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอย ผลการศึกษาพบว่า โครงการถนนปลอดถังขยะมีประสิทธิผลด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะ โดยพบว่ามีความแตกต่างค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมหลังดำเนินโครงการมากกว่าพฤติกรรมก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และประสิทธิผลของโครงการถนนปลอดถังขยะด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ปัจจัยด้านอายุ สถานภาพสมรส อาชีพ และระดับการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ปัจจัยด้านอายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และจำนวนผู้อยู่อาศัยในครัวเรือน ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการจัดการขยะ และความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านปัญหา อุปสรรค ได้แก่ เจ้าหน้าที่ขาดการตรวจเยี่ยม อุปกรณ์ชำรุดเสียหาย ขาดการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และขาดแคลนงบประมาณในการสนับสนุน | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.docx | Abstract (words) | 176.38 kB | Microsoft Word XML | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 218.42 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
full.pdf | Full IS | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.