Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46059
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์-
dc.contributor.advisorชูชีพ พุทธประเสริฐ-
dc.contributor.authorแพรทอง นะวันen_US
dc.date.accessioned2018-04-10T02:50:55Z-
dc.date.available2018-04-10T02:50:55Z-
dc.date.issued2558-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46059-
dc.description.abstractThe purposes of this research were 1) to evaluate the efficiency of Educational Institute Development Plan Fiscal Year 2011-2015 of Anusarnsunthorn School for the Deaf, Chiang Mai province, 2) to evaluate the effectiveness of the procedures as conducted by the Educational Institute Development Plan Fiscal Year 2011-2015 , and 3) to find out the problems and suggestions of the plan administration of the Educational Institute Development Plan Fiscal Year 2011-2015. The populations of this research covered 43 peoples, consisting of 3 administrators, 27 heads as the school administrative structure, and 13 educational institution committee members. The instruments were a set of documentary issues analysis, a set of questionnaires, audit forms/surveys and interviewing forms. The statistics used for analyzing data were frequency distribution, percentage, means and standard deviation, then, match/mismatch analysis was applied in the comparison between the achievement of administrative procedures and the indicators of success in all 6 strategies. The findings of this research were as follows: In the evaluation of the efficiency of the procedure as the Educational Institute Development Plan Fiscal Year 2011-2015 of Anusarnsunthorn School for the Deaf, Chiang Mai province, in the context or environment aspect found that the Educational Institute Development Plan had efficiency. The school’s vision and philosophy were formulated clearly, responsive to the vision, learners, teachers, Educational Institute, resource, and system development aspects. The strategy that was formulated in the Educational Institute Development Plan was conducted successfully. The input factors were found sufficient and appropriate for the administration and implementation of the Educational Institute Development Plan. All officers were assigned to participate in the administrative procedures of the Educational Institute Development Plan. The budget was allocated extensively for all of the relative activities and procedural steps. The effectiveness of the administrative procedures of the Educational Institute Development Plan was found that the achievement of students and the awards from the procedures were increased yearly, and that was accepted by the agencies involved. There was worthy on the allocation and resources usage. The effectiveness of Development Plan was evaluated by using 6 indicators of the success such as 1) to develop the learning according to be the learning organization formality for creating the innovation that used research - based to support the learning of learners; 2) to support and develop the learners development formality to have knowledge, competence, core values and desired characteristics; 3) to develop teachers and officers to be professional by using Job Coaching , teamwork and participation with the networks; 4) to develop the administrative system and device according to the participation, good governance, achievement and quality administration formalities to be the joint tendency of the learning organization; 5) to create atmosphere, environment, facilities, and develop the services to reach the standard for supporting and developing learning; and 6) to develop the participation and relationship between school, parent, communities and educational networks continuously. The problems and the suggestions of the administrative procedures of the Development Plan should be improved and set as the guidelines of the procedures systematically in line with the Deming Cycle (PDCA).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร (เชียงใหม่)en_US
dc.subjectแผนพัฒนาสถานศึกษาen_US
dc.subjectประสิทธิภาพen_US
dc.subjectประสิทธิผลen_US
dc.titleประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแผนพัฒนาสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2554 - 2558 ของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทรen_US
dc.title.alternativeEfficiency and Effectiveness of the Educational Institute Development Plan Fiscal Year 2011-2015 of Anusarnsunthorn School for the Deafen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc378.107-
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashโรงเรียน -- การบริหาร-
thailis.controlvocab.thashนโยบายการศึกษา-
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาการศึกษา-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 378.107 พ774ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินประสิทธิภาพของแผนพัฒนาสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2554-2558 ของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ (2) ประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2554-2558 (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา งบประมาณ 2554-2558 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 3 คน หัวหน้างานตามโครงสร้างการบริหารงานโรงเรียน จำนวน 27 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน รวมเป็น 43 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) ประเด็นวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสอบถาม 3) แบบตรวจสอบ/สำรวจรายการ และ 4) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย โดยใช้ Match/Mismatch Analysis ในการเปรียบเทียบความสอดคล้องของผลการดำเนินงานกับตัวชี้วัดความสำเร็จของกลยุทธ์ทั้ง 6 กลยุทธ์ ผลการศึกษา ในการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2554-2558 ของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม พบว่า แผนพัฒนาสถานศึกษามีประสิทธิภาพ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ปรัชญาของสถานศึกษาที่ชัดเจน พันธกิจที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาสถานศึกษาสอดรับกับวิสัยทัศน์ ครอบคลุมด้านการพัฒนาผู้เรียน, ด้านการพัฒนาครู, ด้านการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการ โดยกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาสถานศึกษาสามารถขับเคลื่อนได้จริง ด้านปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยป้อน พบว่า เป็นแผนพัฒนาสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ บุคลากรทุกคนได้รับมอบหมายให้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา มีการจัดสรรงบประมาณได้ครอบคลุมทุกกลุ่มงานตามโครงสร้างการบริหาร และในด้านกระบวนการ พบว่า มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการในการดำเนินงานตามแผนสถานศึกษา โดยมีการรายงานผล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในทุกขั้นตอน ประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา จากการประเมินทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา พบว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพัฒนาเพิ่มขึ้นทุกปี มีรางวัลจากผลการดำเนินงานของนักเรียน คณะครูและบุคลากรส่วนงานต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในทุกปี ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีความคุ้มค่าในการจัดสรรและการใช้ทรัพยากรในทุก ๆ ด้าน ซึ่งประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา ได้ทำการประเมินตามตัวชี้วัดความสำเร็จที่ได้กำหนดไว้ใน กลยุทธ์ระดับองค์กร ทั้ง 6 ข้อ ได้แก่ 1) พัฒนาการเรียนการสอนตามหลักการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ใช้การวิจัยเป็นฐานในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ ค่านิยมที่เหมาะสมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 3) พัฒนาครูและบุคลากรให้เป็นครูมืออาชีพ โดยใช้ระบบการสอนงาน (Job Coaching) การทำงานเป็นทีม และการทำงานร่วมกันกับเครือข่าย 4) พัฒนาระบบบริหารจัดการและกลไกในการบริหารตามหลักการมีส่วนร่วม หลักธรรมาภิบาล หลักการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และหลักการบริหารคุณภาพสำหรับเป็นค่านิยมร่วมขององค์กรแห่งการเรียนรู้ 5) เสริมสร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก และพัฒนาการจัดบริการต่าง ๆ ให้มีมาตรฐานที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนา และ 6) พัฒนาความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่ายในการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษา พบว่า ปัญหาในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษาส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ ฉะนั้น จึงมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงแนวทางการทำงานให้เป็นระบบและควรมีการกำกับติดตามในรูปแบบวงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA)en_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)189.95 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract 186.96 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
full.pdfFull IS4.23 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.