Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46027
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กนกพร สุคำวัง | - |
dc.contributor.advisor | ภารดี นานาศิลป์ | - |
dc.contributor.author | กรรณิกา ปิงแก้ว | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-04-09T02:48:15Z | - |
dc.date.available | 2018-04-09T02:48:15Z | - |
dc.date.issued | 2557-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46027 | - |
dc.description.abstract | Dementia is a significant public health problem among the elderly. In the early stages of dementia, older persons may notice some memory loss but they are still able to perform activities of daily life. The incidence of dementia will increase if there are no prevention programs to delay the severity of dementia. Health promoting behaviors is an appropriate way to address risk factors and reduce severity of the disease. The purpose of this descriptive study was to investigate health promoting behaviors and health status among older persons and to examine the relationship between health promoting behaviors and health status. The conceptual framework for this study was the Pender’s Health Promotion Model (Pender et al., 2006) and related literatures. One hundred and six older persons with early stage dementia who attended at outpatient department of Chiangmai Neurological Hospital were chosen as study subjects. The instruments used for data collection were a demographic data recording form, health promoting behaviors among older persons with dementia questionnaire developed by the researcher and an advisory committee, and health status among older persons with dementia questionnaire was modified from that of Paijitra Loskultong based on literature reviewed by the researcher and the advisory committee. The content validity of the questionnaires were tested and approved with a content validity index values of 0.82 and 1.00 respectively. Reliability was assessed by Cronbach’s alpha coefficient and were 0.84 and 0.88 respectively. Descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient were used for data analysis. The results of the study revealed that: 1. Overall health promoting behaviors were at a high level (53.70%) with an average score of 47.39 (S.D.=4.52). Physical activity was at a low level (39.60%) with an average score of 7.59 (S.D.=2.08). Nutrition was at high level (96.30%) with an average score 26.46 (S.D.=1.83). Personal relations was at a moderate level (67%) with an average score of 13.34 (S.D.=2.21). Health status was at a moderate level (61.30%) with an average score of 79.63 (S.D. = 8.59). 2. There were a statistically significant positive correlation among health promoting behaviors and health status (r=.204, p<.05). There was a statistically significant positive correlation between personal relation and health status (r=.303, p<.01), while physical activity and nutrition were not correlated with health status. The results of this study can be used as baseline information for health personnel when planning to promote appropriate health promoting behaviors for older persons with early stage dementia. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ภาวะสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | ภาวะสมองเสื่อมระยะแรก | en_US |
dc.title | พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในระยะแรก | en_US |
dc.title.alternative | Health Promoting Behaviors and Health Status of Older Persons with Early-Stage Dementia | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.classification.nlmc | W 4 | - |
thailis.controlvocab.mesh | Behavior | - |
thailis.controlvocab.mesh | Health promotion | - |
thailis.controlvocab.mesh | Health status | - |
thailis.controlvocab.mesh | Aging | - |
thailis.controlvocab.mesh | Dementia -- in old age | - |
thailis.manuscript.callnumber | W 4 ก17พ 2557 | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ แม้ว่าในระยะแรกของการเกิดภาวะสมองเสื่อม ผู้สูงอายุจะมีความผิดปกติในด้านของความจำ แต่ยังคงสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อย่างไรก็ตามความรุนแรงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้นหากไม่มีการป้องกันหรือชะลอความรุนแรง การปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยง ความรุนแรงของโรคและมีภาวะสุขภาพที่ดี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ และ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกับภาวะสุขภาพ โดยใช้กรอบแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และคณะ(Pender et al., 2006) ร่วมกับการทบทวนเอกสารตำราวิชาการที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะแรกที่เข้ามารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลประสาท จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 106 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจาก ไพจิตรา ล้อสกุลทอง ร่วมกับการศึกษาเอกสารตำราวิชาการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.82 และ 1.00 ตามลำดับ และได้ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสัมภาษณ์ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และภาวะสุขภาพ ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ0.84 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.70 มีคะแนนเฉลี่ย 47.39 คะแนน (S.D.= 4.52) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ด้านการมีกิจกรรมทางกาย อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 39.60 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.59 คะแนน (S.D.=2.08) ด้านโภชนาการ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 96.30 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 26.46 คะแนน (S.D.=1.83) ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.34 คะแนน (S.D.=2.21) และมีภาวะสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 61.30 มี ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 79.63 คะแนน (S.D.=8.59) 2. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.204, p<.05) และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในด้านการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.303, p<.01) ในส่วนของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการมีกิจกรรมทางกายและด้านโภชนาการไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพในการวางแผนกิจกรรมในการส่งเสริมในด้านพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลด้านภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในระยะแรกต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 301.62 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 338.21 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 596.77 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 290.18 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 637.22 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 281.06 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 285.38 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 699.05 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 374.68 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.