Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46013
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิชญลักษณ์ พิชญกุล | - |
dc.contributor.author | นุชชรีพร คอทอง | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-04-05T04:16:05Z | - |
dc.date.available | 2018-04-05T04:16:05Z | - |
dc.date.issued | 2557-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46013 | - |
dc.description.abstract | This independent study aims to investigate opinions of accounting students of faculty of Business Administration, Chiang Mai University towards auditor career. The study process include data gathering via questionnaire regarding motivation factors wherein the most important social motives for career are hygiene and factors relating to individual preferences.The questionnaire was answered by 208 students studying in 4th year from the faculty of Business Administration, Chiang Mai University. The data was analyzed statistically resulting in frequency, percent and mean data sets illustrated as follows; The majority of studied groups are females with 2.76 - 3.24 GPA. Their family incomes are more than 50,000 Baht with 4 - 6 family members living in northern region of Thailand. People influencing their choice of career preference are themselves. Their parents or guardians' career is majorly self-employed. Most respondents need to be majoring as auditor because this is the relevant field of study and the career that respondents should not be majoring is accountants. The majority of student groups are concerned about hygiene factors as their secondary significant choice of career preference decision factors. The hygiene factors categorizing in high levels include co-worker relations, working status, income, organization administration policies, working condition, secured career and self-being factor. The majority of student groups are concerned about motivating factors as their secondary significant choice of career preference decision factors. The motivating factors categorizing in highest level include responsibility, career development, superior opportunity, admiration, achievement and occupational characteristic. The majority of student groups are concerned about hygiene factors as their moderate significant choice of career preference decision factors as self-being factor that concerned auditor will not have time to be with family and working hours will have an effect in private life. And motivating factors The majority of student group concern as auditor career not have admiration due to this career frequently have job change and needed to have a retire. As for suggestion, The majority of student group suggested that audits firm or agencies should give the correct data and helpful for their choice of auditor career and also make a confidence in internal and external factors of auditor career. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผู้สอบบัญชี | en_US |
dc.subject | นักศึกษาสาขาการบัญชี | en_US |
dc.title | ความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่ออาชีพผู้สอบบัญชี | en_US |
dc.title.alternative | Opinions of Accounting Students of Faculty of Business Administration, Chiang Mai University Towards Auditor Career | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 657.092 | - |
thailis.controlvocab.thash | มหาวิทยาลัยเชียงใหม. คณะบริหารธุรกิจ -- นักศึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้สอบบัญชี | - |
thailis.controlvocab.thash | นักบัญชี | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 657.092 น422ค | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่ออาชีพผู้สอบบัญชี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามโดยพัฒนาแบบสอบถามจากทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบอร์ก (Motivation Factors) ที่เป็นทฤษฎีแรงจูงใจทางสังคมในการประกอบอาชีพต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ปัจจัยบำรุงรักษา (Hygiene Factors) และปัจจัยตัวกระตุ้น (Motivating Factors) ที่สัมพันธ์กับความชอบหรือไม่ชอบในงานของแต่ละบุคคล โดยเก็บข้อมูลจากประชากรจำนวน 208 คน ที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนำข้อมูลมาประมวลผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เกรดเฉลี่ย 2.76 - 3.24 รายได้เฉลี่ยรวมของครอบครัวต่อเดือน มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4-6 คน มีภูมิลำเนาอยู่ภายในภาคเหนือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพ ส่วนใหญ่คือ ตัวเอง ลักษณะองค์กรที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองทำงาน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ เหตุผลความต้องการมีอาชีพเป็นผู้สอบบัญชี ส่วนใหญ่เพราะเป็นอาชีพที่ตรงกับสาขาที่เรียน และอาชีพที่ต้องการทำหากไม่ต้องการเป็นผู้สอบบัญชี ส่วนใหญ่คืออาชีพนักบัญชี ผู้ตอบแบบสอบถาม ให้ความคิดเห็นต่อปัจจัยบำรุงรักษาโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยในแต่ละปัจจัยด้านต่าง ๆ พบว่า ปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับความคิดเห็นเห็นด้วยมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ปัจจัยด้านสถานภาพ ปัจจัยด้านค่าตอบแทน ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหาร ปัจจัยด้านภาวการณ์ทำงาน ปัจจัยด้านความมั่นคง และปัจจัยด้านชีวิตส่วนตัว ตามลำดับ ส่วนปัจจัยตัวกระตุ้นผู้ตอบแบบสอบถาม ให้ความคิดเห็นต่อปัจจัยตัวกระตุ้นโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยในแต่ละปัจจัยด้านต่าง ๆ พบว่า ปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับความคิดเห็นเห็นด้วยมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบ และให้ระดับความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ปัจจัยด้านการเจริญเติบโต ปัจจัยด้านโอกาสก้าวหน้า ปัจจัยด้านการยอมรับนับถือ ปัจจัยด้านความสัมฤทธิ์ผล และปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญระดับเห็นด้วยปานกลางถึงน้อย ในปัจจัยบำรุงรักษา ได้แก่ ปัจจัยด้านชีวิตส่วนตัว ที่ยังมีความคิดเห็นว่าอาชีพผู้สอบบัญชีเป็นอาชีพที่ทำให้ไม่มีเวลาให้กับครอบครัว และชั่วโมงการทำงานของผู้สอบบัญชีกระทบต่อชีวิตส่วนตัว ปัจจัยตัวกระตุ้น ได้แก่ ปัจจัยด้านความมั่นคง ยังมีความคิดเห็นว่าอาชีพผู้สอบบัญชียังไม่มีความมั่นคงในด้านการทำงานต้องเปลี่ยนงานบ่อย และยังต้องการให้อาชีพผู้สอบบัญชีมีวันเกษียณอายุ ส่วนข้อเสนอแนะ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นอยากให้สำนักบัญชีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการเลือกอาชีพผู้สอบบัญชี และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่การประกอบอาชีพผู้สอบบัญชี ต่อปัจจัยที่มีผลต่ออาชีพผู้สอบบัญชีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 244.1 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 272.94 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 176.26 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 197.39 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 282.74 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 476.98 kB | Adobe PDF | View/Open |
CONTENT.pdf | CONTENT | 233.46 kB | Adobe PDF | View/Open |
COVER.pdf | COVER | 416.97 kB | Adobe PDF | View/Open |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 190.6 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.