Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46011
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอลงกรณ์ คูตระกูล-
dc.contributor.authorสุรีย์วัล เสมอใจen_US
dc.date.accessioned2018-04-05T04:12:25Z-
dc.date.available2018-04-05T04:12:25Z-
dc.date.issued2557-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46011-
dc.description.abstractThe study of Transferring Local Wisdom of “Miang” Through Ecotourism, Baan Mae Kampong, Mae On District, Chiang Mai Province aimed at 1) studying and analyzing the development of Transferring Local Wisdom of “Miang” Trough Ecotourism at Baan Mae Kampong 2) studying the potential participation of the community in knowledge management about Transferring Local Wisdom of “Miang” Through Ecotourism at Baan Mae Kampong 3) studying the role of government agencies in promoting and supporting about Transferring Local Wisdom of “Miang” Through Ecotourism at Baan Mae Kampong. The study was a qualitative research. The researcher collected data from individuals concerned about Transferring Local Wisdom of “Miang” through Ecotourism at Baan Mae Kampong. The group consisted of 18 residents who lived in Mae Kampong village such as group of villagers, community leaders, government agencies, and entrepreneurs. The data collection included in-depth interviews, non-participant observation, and the study of documents that were associated. The findings indicated that the form of knowledge management about Transferring Local Wisdom of “Miang” through Ecotourism at Baan Mae Kampong caused by bringing knowledge of occupational tea leaves from their predecessor for a long time which had been cultivated and accumulated until it became a local wisdom that was developed as knowledge base and transferred to the young generations and tourists visited the village. And community context of Mae Kampong village was on the nature of “Kon Paa Miang” (people who lived in the tea forest), so transferring local wisdom was transferred through ecotourism that the village philosophers imparted knowledge to tourists and young people who were interested in learning how to live together with the nature. Inserting content that focused on the conservation of natural resources and the environment coupled with the conservation of tea leaves which went along with the villagers for a long time. Communities leaders and village philosophers were an important person who took part in knowledge management about transferring local wisdom of “Miang” with the accumulated experience of growing tea for a long time by the community leaders attended a key role in raising awareness on the problems and doing activities together which led to the system of knowledge management through various activities about transferring local wisdom of “Miang”. There were also group of entrepreneurs to play a key role in supporting the activities of the village included tourism, marketing, and purchasing the products from locals. Everybody must follow the rules under the supervision of community members. Furthermore, there were government agencies and private sectors had to play their roles in promoting and supporting the form of seminar on the subject as it was realized that the residents would be able to put their knowledge into the potential development of members in community and village. The key recommendations of the study were 1) to create a community model of learning about local wisdom continuance of Miang with comprehensive relay such as Learning Museum 2) should establish relationships to share knowledge with other communities combined with the creation of innovation to disseminate knowledge in a concrete 3) should be extended the cooperation and support from government agencies and private sectors, particularly with local authorities to clear up.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเมี่ยงen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงนิเวศen_US
dc.subjectบ้านแม่กำปองen_US
dc.titleการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง "เมี่ยง" ผ่านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeTransferring Local Wisdom of "Miang" Through Ecotourism, Baan Mae Kampong, Mae On District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc915.9362-
thailis.controlvocab.thashบ้านแม่กำปอง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashภูมิปัญญาชาวบ้าน -- แม่ออน (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- แม่ออน (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยวโดยชุมชน -- แม่ออน (เชียงใหม่)-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 915.9362 ส473ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษา เรื่อง การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง "เมี่ยง" ผ่านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง "เมี่ยง" ผ่านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านแม่กำปอง (2) เพื่อศึกษาศักยภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความรู้การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง "เมี่ยง" ผ่านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านแม่กำปอง (3) เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง "เมี่ยง" ผ่านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านแม่กำปอง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง "เมี่ยง" ผ่านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านแม่กำปอง ประกอบด้วยประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแม่กำปอง เช่น กลุ่มชาวบ้าน ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการ จำนวนทั้งหมดจำนวน 18 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการความรู้การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง "เมี่ยง" ผ่านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านแม่กำปองนี้ เกิดจากการที่ชาวบ้านนำความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวเองจากการประกอบอาชีพชาเมี่ยงตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษมาช้านาน ความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกปลูกฝังและสะสมมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการพัฒนาเป็นองค์ความรู้แล้วถ่ายทอดให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในหมู่บ้าน และด้วยสภาพบริบทชุมชนบ้านแม่กำปอง เป็นสภาพบริบทชุมชนที่อยู่กับธรรมชาติ ที่เรียกว่า “คน ป่า เมี่ยง” ดังนั้นการถ่ายทอดภูมิปัญญาจึงเป็นในลักษณะที่มีการถ่ายทอดผ่านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยมีปราชญ์ชาวบ้านถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจ ให้ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตควบคู่กับธรรมชาติ การแทรกเนื้อหาสาระที่เน้นการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ชาเมี่ยงที่อยู่ควบคู่กับชาวบ้านมาเป็นเวลาช้านาน กลุ่มแกนนำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ ผ่านการถ่ายทอดภูมิปัญญาเรื่องเมี่ยง ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์การประกอบอาชีพปลูกเมี่ยงมายาวนาน โดยมีกลุ่มผู้นำชุมชนร่วมเป็นบทบาทสำคัญในการระดมความคิดเห็น รับรู้ปัญหา และการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งนำไปสู่การจัดการความรู้ในชุมชนอย่างเป็นระบบ โดยผ่านกิจกรรมการจัดการความรู้ที่ผ่านการถ่ายทอดภูมิปัญญาเรื่องเมี่ยง นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมของหมู่บ้าน รวมถึงการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและการตลาด การรับซื้อผลิตภัณฑ์จากชาวบ้าน โดยทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคนในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ทั้งนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ยังได้เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนในลักษณะการอบรมให้ความรู้ในเรื่องที่เล็งเห็นแล้วว่าชาวบ้านจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน และหมู่บ้านได้ ข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการศึกษานี้ได้แก่ (1) ควรสร้างให้เป็นแหล่งชุมชนต้นแบบในการเรียนรู้สืบสานภูมิปัญญาเรื่อง “เมี่ยง” ด้วยรูปแบบการถ่ายทอดที่ครบวงจร เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (2) ควรสร้างความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับชุมชนอื่น ๆ ผนวกกับการสร้างนวัตกรรมต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้อย่างเป็นรูปธรรม (3) ควรมีการขยายผลความร่วมมือและบทบาทการขอรับการสนับสนุนกับหน่วยงานองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะด้วยหน่วยงานในพื้นที่ให้ชัดเจนขึ้นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT262.89 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX279.2 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdf CHAPTER 1286.31 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2595.44 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3300.53 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4385.46 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5443.58 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 6.pdfCHAPTER 6476.93 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT329.88 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER766.73 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdf REFERENCE288.9 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.