Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45991
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.โกสุมภ์ สายจันทร์-
dc.contributor.authorชื่นกมล เรือนเงินen_US
dc.date.accessioned2018-04-04T08:39:13Z-
dc.date.available2018-04-04T08:39:13Z-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45991-
dc.description.abstractThis qualitative research indicates “Problems and Management of Trespassing in Chang Khong Community,Khampaeng Din Area Mueang Chiang Mai District”. The objective is divided into 3 factors. Firstly, to determine the causes of the encroachment issue. Secondly, to identify the possible solutions of an operation involved institutes and organizations., and finally, to study the results from the solutions that are provided for those institutes and organizations. The research has carried out by using in-depth interview from a representative sample and applied concept of urbanization, decentralization, government and community relation and conflict analysis. The results show that there are mainly 3 factors causing the Kamphaeng Din encroachment. In term of economic factor, the government policy has encouraged urbanization that results in the encroachment especially from people with low income who does not hold any land. For social factor, an increasing in number of population and the cultural community has become the community for trading and services. Moreover, in the view of political factor, the local government and municipality provided some property possessing legislations in order to help those people within this area. Although the operation from the collaborative management from the local government and several institutes has taken place but it is not efficient enough due to the variation of individual organization. Municipality focuses on improving the infrastructure and does not complete the remaining of the ancient sites while Treasury Department set out the legislation benefits to the tenants. In another hand, Fine Arts Department provides some instruction but still lack of efficiency not to mention the conflict between the department and local people and also the problem in funding. The unsystematic operations do not deliver the actual solutions to solve the encroachment problem therefore, the institutes and local government involved should issue more direct policies and build up a well-organized framework, also provide the long-term support and help maintain condition of the historical sites. The organizations should carry out a clear tasks and point them toward the same direction as well as contributing an important information of Kamphaeng Din and why it should be preserved.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัญหาและการจัดการการรุกล้ำพื้นที่เขตกำแพงดินชุมชน ช่างฆ้องอำเภอเมืองเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeProblems and Management of Trespassing in Chang Khong Community, Khampaeng Din Area Mueang Chiang Mai Districten_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้เป็นการศึกษาถึงปัญหาและการจัดการการรุกล้ำพื้นที่เขตกำแพงดินชุมชนช่างฆ้องอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาลักษณะและสาเหตุของปัญหาการรุกล้ำพื้นที่เขตกำแพงดินชุมชนช่างฆ้อง เพื่อศึกษาการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องและเพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาวิจัยนี้ใช้แนวคิดที่สำคัญในการวิเคราะห์ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นเมือง แนวคิดเรื่องการกระจายอำนาจ แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม และแนวคิดความขัดแย้งโดยงานศึกษาวิจัยชิ้นนี้เป็นวิจัยแบบคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในลักษณะของการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะและสาเหตุของปัญหาการรุกล้ำพื้นที่เขตกำแพงดินชุมชนช่างฆ้องในอำเภอเมืองเชียงใหม่นั้น เกิดจากปัจจัย 3 ประการ คือปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ที่ภาครัฐได้มีนโยบายเร่งส่งเสริมความเจริญไปสู่ภูมิภาคมากขึ้นนำไปสู่การรุกล้ำบริเวณกำแพงดินโดยผู้ที่รุกล้ำพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ปัจจัยด้านสังคม มีการเพิ่มจำนวนของประชากรและความหนาแน่นต่อพื้นที่มากขึ้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจากชุมชนแห่งวัฒนธรรมสู่ชุมชนแห่งการค้าและการบริการ ปัจจัยด้านการเมืองนโยบายส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่ส่งเสริมให้ประชาชนรุกล้ำพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง การจัดการปัญหาการรุกล้ำของภาครัฐแม้จะมีแนวทางปฏิบัติร่วมกันของระหว่างหน่วยงานรัฐแต่ในทางปฏิบัติกลับแตกต่างกัน โดยเทศบาลฯยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลด้านโบราณสถานอย่างแท้จริงอีกทั้งยังได้มุ่งแก้ไขปัญหาของชุมชนในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่วนกรมธนารักษ์และราชพัสดุได้มีนโยบายให้ประชาชนเช่าพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัย กรมศิลปากร แม้จะมีแนวทางในการอนุรักษ์แต่การจัดการกับปัญหาข้างต้นยังมีอุปสรรคในการปฏิบัติทั้งด้านบุคลากร งบประมาณรวมไปถึงความขัดแย้งกับประชาชนในพื้นทิ่ ความทับซ้อนในการจัดการปัญหาของหน่วยงานรัฐข้างต้นไม่ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาการรุกล้ำพื้นที่แนวกำแพงดินอย่างแท้จริงแต่กลับเป็นการปล่อยให้ปัญหาเรื้อรัง ดังนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในส่วนของภาครัฐจักต้องให้ความสำคัญต่อโบราณสถานและ กำหนดกรอบงานที่ชัดเจนเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถถือเป็นหลักในการปฏิบัติ ภาครัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น จะต้องมีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมไปถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกำแพงดินเพื่อให้คนเกิดความรักและหวงแหนen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT275.63 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX382.96 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdf CHAPTER 1682.39 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2649.3 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3263.84 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4713.76 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5938.78 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 6.pdf CHAPTER 6327.54 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT260.62 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER614.44 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdf REFERENCE258.01 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.